22 ก.ค. 2020 เวลา 09:54 • ประวัติศาสตร์
ต้นกำเนิดของ “เบียร์”
ภาพจาก www.freepik.com
🍺 เบียร์คืออะไร ?
เบียร์...เป็นเมรัยหลาย ๆ รูปแบบที่ผ่านกระบวนการหมัก ผลิตภัณฑ์พวกธัญพืช ประวัติศาสตร์ของเบียร์นั้นมีมายาวนาน เบียร์เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดแรกของโลก เริ่มผลิต 6,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยชนชาติบาบิโลเนีย เบียร์เป็นที่รู้จักในสมัยอียิปต์โบราณและเมโสโปเตเมีย และมีหลักฐานย้อนไปยาวนานถึง 4,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยใช้ข้าวบาร์เลย์ เป็นวัตถุดิบ ในราว 1,000 ปีก่อนคริสตกาล มีการผสมพืชอีกหนึ่งชนิดเข้าไปคือ ฮอปส์ ทำให้มีกลิ่นหอม, รสชาติขม และ สามารถรักษาคุณภาพของเบียร์ให้เก็บได้นานขึ้น แต่เบียร์เหล่านี้แตกต่างจากเบียร์ในปัจจุบัน และเนื่องจากเครื่องปรุงและกรรมวิธีในการผลิตเบียร์แตกต่างกันไปตามสถานที่ ลักษณะของเบียร์ (ชนิดของเบียร์, รสชาติ, และสี) จึงมีความแตกต่างกันได้มาก
2
🍺 ประวัติความเป็นมา
ภาพจาก www.freepik.com
เบียร์เป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่มีการเตรียมการก่อนดื่มที่เก่าแก่ที่สุดในโลก สามารถนับย้อนกลับไปได้ถึงต้นยุคหินใหม่หรือราว 9500 ปีก่อนคริสตกาลเมื่อเมล็ดธัญพืชถูกนำมาเพาะปลูกครั้งแรก และได้รับการบันทึกในประวัติศาสตร์ของเมโสโปเตเมียและอียิปต์โบราณ นักโบราณคดีคาดว่าเบียร์มีบทบาทสำคัญในการก่อตัวของอารยธรรม เห็นได้จากเมื่อราว 5000 ปีต่อมา คนงานในเมืองอูรุกได้รับเบียร์เป็นค่าจ้าง และระหว่างการก่อสร้างมหาปิรามิดในกิซา คนงานแต่ละคนได้รับปันส่วนประจำวันเป็นเบียร์สี่ถึงห้าลิตร ซึ่งช่วยทั้งโภชนาการและทำให้สดชื่นเป็นส่วนสำคัญต่อการก่อสร้างปิรามิด
1
หลักฐานแรกสุดทางเคมีของเบียร์ข้าวบาร์เลย์อยู่ในช่วง 3500–3100 ปีก่อนคริสตกาลจากแหล่งขุดค้นทางโบราณคดี โกดิน เทปี (Godin Tepe) ในภูเขาแซกรอส (Zagros) ทางตะวันตกของประเทศอิหร่าน บางส่วนของงานเขียนชาวซูมาเรียนมีการอ้างอิงถึงเบียร์ ตัวอย่างเช่น คำอธิษฐานถึงเทพีนินกาซิ (Ninkasi) หรือที่รู้จักกันในชื่อ "เพลงสวดนินกาซิ" ซึ่งทำหน้าที่เป็นคำอธิษฐานและวิธีจดจำสูตรเบียร์ในวัฒนธรรมของผู้มีการศึกษา และคำแนะนำโบราณ (กรอกท้องของคุณทั้งวันและคืนทำให้มีความสุข) ถึงกิลกาเมช ที่บันทึกไว้ในมหากาพย์กิลกาเมชโดยชิดูรี (Sidur) ซึ่งอาจอ้างถึงการดื่มเบียร์ แผ่นจาลึกอัลบลา (Ebla Tablets) ที่ค้นพบในอาณาจักรอัลบลา ประเทศซีเรีย แสดงว่าเบียร์ถูกผลิตขึ้นในเมื่องเมื่อ 2500 ปีก่อนคริสตกาล เครื่องดื่มหมักที่ใช้ข้าวและผลไม้ในการผลิตในประเทศจีนเกิดขึ้นประมาณ 7000 ปีก่อนคริสตกาล
2
🍺 ประวัติการผลิตเบียร์ในประเทศไทย
1
ภาพจาก www.freepik.com
ประเทศไทยนั้น เริ่มมีการผลิตเบียร์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) ได้ยื่นเรื่องขอจัดตั้งบริษัทผลิตเบียร์ขึ้นในปี พ.ศ. 2473 โดยจะใช้ปลายข้าวในการผลิตแทนข้าวมอลต์. ส่วนตัวโรงงานนั้นได้ถูกสร้างขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2476 ในย่านบางกระบือ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภายใต้ชื่อบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด และทำการผลิตเบียร์ออกจำหน่ายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2477 ภายใต้เครื่องหมายการค้า ตราหมี ตราสิงห์แดง ตราสิงห์ขาว ตราแหม่ม ตราพระปรางค์ทอง ตราว่าวปักเป้า ตรากุญแจ ตรารถไฟ และ ที่ยังคงอยู่จนปัจจุบันนี้คือ ตราสิงห์
1
ต่อมาในปี พ.ศ. 2504 มีโรงเบียร์แห่งที่สองเกิดขึ้น คือ บริษัทบางกอกเบียร์ ผลิตเบียร์ตราหนุมาน ตราแผนที่ และตรากระทิง แต่ไม่ได้รับความนิยมจากผู้ดื่มจึงได้เลิกกิจการไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 จึงได้เปลี่ยนเจ้าของกิจการและเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทไทยอมฤต บริวเวอรี่ จำกัด ผลิตเบียร์อมฤต และซื้อลิขสิทธิ์ยี่ห้อเบียร์จากต่างประเทศชื่อ คลอสเตอร์ มาผลิตเมื่อ พ.ศ. 2521
1
ภายหลังจากที่ประเทศไทยมีโรงงานเบียร์แห่งที่สองแล้ว ภาครัฐก็ไม่ได้มีการสนับสนุนให้มีการตั้งโรงงานเพิ่ม เนื่องจากเห็นว่าเบียร์เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย และตั้งกำแพงภาษีเพื่อให้ความคุ้มครองกับผู้ผลิตในประเทศ จนกระทั่ง พ.ศ. 2535 ภาครัฐมีนโยบายเปิดเสรีทางการค้า โดยการเปลี่ยนเงื่อนไขของผู้ผลิตเบียร์ จากที่กำหนดให้ผู้ถือหุ้นใหญ่ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย เป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย เพื่อจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนสร้างโรงงานในประเทศ
🍺 ส่วนผสมหลักในเบียร์
ภาพจาก www.freepik.com
องค์ประกอบหลักในการหมักเบียร์คือ น้ำ ข้าวมอลต์ (คือเมล็ดข้าวอบแห้งหรือคั่ว ของเมล็ดธัญพืชที่แตกหน่อแล้ว โดยปกติใช้เมล็ดข้าวบาร์เลย์) ฮอปส์ และ ยีสต์ และยังมีส่วนผสมอื่นๆ เช่นผลเชอร์รี่ ราสเบอร์รี่ และเมล็ดธัญพืชอื่น เช่น เมล็ดข้าวสาลี (Wheat) เรียกว่า แอดจังท์ (Adjunct) หรือ ส่วนผสมข้างเคียง
1) น้ำ : เนื่องจากน้ำนั้นเป็นองค์ประกอบหลักของเบียร์ คุณสมบัติของน้ำที่ใช้จึงมีผลต่อรสชาติของเบียร์
2) มอลต์ : เมล็ดข้าวมอลต์ จากข้าวบาเลย์นั้นเป็นชนิดที่นิยมใช้มากที่สุด เนื่องมาจากมีปริมาณ เอนไซม์อะไมเลส (Amylase Enzyme) สูง ซึ่งทำให้กระบวนการแตกตัวของแป้งเป็นน้ำตาลนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกเหนือจากข้าวมอลต์จากข้าวบาเลย์แล้ว เมล็ดธัญพืชอื่นๆ เช่น ข้าวสาลี ข้าวเจ้า ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต และข้าวไรย์ ทั้งแบบที่ทำเป็นข้าวมอลต์ และ เมล็ดปกติ ก็ยังใช้เป็นส่วนผสมอีกด้วย
1
ภาพจาก www.freepik.com
3) ฮอปส์ : ส่วนผสมซึ่งให้รสขมในเบียร์ เพื่อสมดุลรสหวานจากมอลต์ นอกจากนั้นยังมีผลเป็นยาปฏิชีวนะ ต่อต้านจุลินทรีย์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ยีสต์ ส่งผลต่อการหมัก
ภาพจาก www.freepik.com
4) ยีสต์ : ใช้ในกระบวนการหมักเพื่อย่อยสลายน้ำตาล ที่สกัดจากเมล็ดธัญพืช ให้เป็นแอลกอฮอล์ และ คาร์บอนไดออกไซด์ โดยปกติแล้วระดับแอลกอฮอล์ในเบียร์จะอยู่ที่ 4-6 เปอร์เซ็นต์ แต่อาจจะต่ำถึง 2 เปอร์เซ็นต์ หรือ สูงถึง 14 เปอร์เซ็นต์ ยีสต์ที่ใช้แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ ยีสต์หมักลอยผิว ยีสต์หมักนอนก้น ยีสต์ธรรมชาติ
ภาพจาก www.freepik.com
🍺 ประเภทของเบียร์
การแบ่งประเภทของเบียร์นั้นจะแบ่งได้หลายวิธี แต่วิธีหลักๆที่ใช้คือแบ่งตามประเภทของยีสต์ที่ใช้ในการหมัก โดยจะแบ่งเป็น 3 ปรเภทหลักๆ คือ
1) ยีสต์หมักลอยผิว (Top-Fermenting Yeast) คือ เชื้อยีสต์ที่จะลอยตัวอยู่ที่ผิวหน้าของเบียร์เมื่อเสร็จสิ้นการหมัก
2) ยีสต์หมักนอนก้น (Bottom-Fermenting Yeast) คือ เชื้อยีสต์ที่จะจมอยู่ที่ก้นภาชนะเมื่อเสร็จสิ้นการหมัก
3) ยีสต์ธรรมชาติ เป็นการใช้เชื้อยีสต์ตามธรรมชาติ ไม่ได้ใช้เชื้อที่เพาะเลี้ยงขึ้นมา
นอกจากนี้การแบ่งประเภทยังแบ่งตาม สี, แหล่งผลิต, วัตถุดิบที่ใช้, กระบวนการผลิต, ปริมาณแอลกอฮอล์ และอื่น ๆ
• ประเภทยีสต์หมักลอยผิว
> เอล
> พอร์เตอร์
> เบียร์ขาว
> อัลท์เบียร์ (Altbier)
> เคิลช์ (Kölsch)
> สเตาต์
• ประเภทยีสต์หมักนอนก้น
> ลาเกอร์
> พิลส์เนอร์
> เบียร์ดำ
> บ็อคเบียร์
1
• ประเภทยีสต์ธรรมชาติ
> ลัมบิก (Lambic)
🍺 การแบ่งประเภทเบียร์แบบอื่น ๆ
ภาพจาก www.freepik.com
1) เบียร์สด (Draught Beer) หมายถึง เบียร์ที่ทำการเสิร์ฟจากถังเบียร์ โดยไม่ได้บรรจุลงขวดหรือกระป๋อง
2) ไลต์เบียร์ (Light Beer) หมายถึง เบียร์ที่มีแคลอรีและแอลกอฮอล์ต่ำ มีสีอ่อน และรสชาติที่จืดชืดกว่า โดยจะมีรสขมน้อยและไม่หลงเหลือรสชาติติดปากหลังการดื่ม
3
3) ไอซ์เบียร์ (Ice Beer) หมายถึง เบียร์ที่หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการหมักแล้ว เบียร์จะถูกทำให้เย็นจนน้ำเริ่มแข็งตัวเป็นเกล็ด
4
“ดื่มเบียร์แค่พอประมาณ อย่าดื่มมากเกินไปนะครับ”
อ้าวววว ชนนนนนนนนน 🍻
ภาพจาก www.freepik.com
โฆษณา