22 ก.ค. 2020 เวลา 08:55 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ยูทูปเบอร์ไหนที่ว่าแน่ หลบปาย…แม่มาล้าววว…..
คุณกำลังชมการรายงานสด จากหลังด้วงฮะ ...เดอะบีทเทิ้ล ชาแน่ววว
สมัยนี้ใครๆก็ต้องไลฟ์สด สตรีมมิ่ง Streaming กันทั้งนั้น
"ด้วง" the beetle 🐞อย่างเราจะไปยอมแพ้ได้ยังไง.. ว่าแล้วก็สะพายเป้ แอร๊ย ย ย ....สะพายกล้อง ที่คนเขาว่าจิ๋ว..น้ำหนักน้อยกว่าไพ่
แต่ยังไง๊ ยังไง ก็ยังดูใหญ่เทอะไปนิดสำหรับหลังด้วงอย่างหมู่เฮา 😅
ก็ นักวิทยาศาสตร์หัวใส ที่ university of Washington เขาอยากรู้ว่าวิถีชีวิต
ด้วงอย่างเราทำอะไรกันบ้างแต่ละวัน เอาแบบเรียล real-time ที่สุด 💡
เขาก็อุตส่าห์ประดิษฐ์กล้องจิ๋ว น้ำหนักเบา ที่พร้อมเก็บภาพต่อเนื่องยาวๆ ส่งสัญญาณผ่าน Wireless ไปที่โทรศัพท์มือถือ 📱📲
ตามติดชีวิตหมู่ด้วงน้อยได้ ในระยะไกลมากกว่าสนามฟุตบอลซะอีก (120 เมตร)
สนามฟุตบอลมาตรฐาน สำหรับผู้เล่น 11 คน เท่ากับกว้างxยาว 68 x105 เมตร
ใครช่วยบอกด้วงทีว่า ทำไมคน 11 คนต้องวิ่งไล่ล่ากัน อะอิแค่ลูกกลมๆ ลูกเดียวด้วย ห๊าา👟👟👟🏀
จริงๆแล้วนี่เป็นโครงการเก็บข้อมูลในมุมมองบุคคลที่ 1 (คือผู้ที่เห็น ผู้ถือกล้อง) ว่ากำลังเห็นอะไรบ้าง
ต่างจากสารคดีสัตว์ทั่วไป ที่เรา..ผู้ชมเป็นบุคคลที่ 3 ที่มองเข้าไป
จะเป็นเทคนิค ไลฟ์ออฟไลฟ์ Live of Life ที่แท้ทรู!!!🏆🏆
ที่บรรดาด้วงๆ ได้รับเกียรติเป็นแขกรับเชิญในการทดลองระบบ ซึ่งจะมีการ วิเคราะห์ทำภาพ AI สำหรับเจ้าบอทจิ๋ว small robot ได้ด้วย
ใครสนใจสาขานี้ต้องลงลึกด้าน computer Science &engineering นะจ๊ะ
ถามด้วง สิว่า หนักไหม ...เหนื่อยไหมสิ่งที่เธอทำอยู่ …. แล้วถามว่าท้อไหม… ฉันตอบเลยว่า ….ม่ายยย 🎵🎶
เพราะกล้องจิ๋วนี้น้ำหนักประมาณ 250 mg ถ้าเอาไพ่มาตัดเป็น 10 ส่วน นี่ก็เท่ากับเศษชิ้นย่อยเดียวเท่านั้น
แปะที่หลังด้วง 2 พันธุ์ คือ death-feigning beetle กับ pinacate beetle
แล้วเก็บภาพความละเอียด 5 เฟรมต่อวินาที อยู่บนแขน mechanical arm ที่เปลี่ยนองศาทิศทางสวิงสวายได้ 60 องศา หรือเท่ากับมุมของสามเหลี่ยมด้านเท่า (เท่านี้ก่อนน่า โครงการนำร่องนะฮะ!)
เรียกว่าภาพที่เก็บออกมาใช้ได้ทีเดียวความละเอียดสูง มุมมองแบบพาโนรามา ตามติดชีวิตด้วงระบบ Streaming ได้ดีพอๆ กับการตามติดกราฟหุ้นช่วงโควิดกระนั้น💨
ในตอนนี้ สิ่งที่น่าท้าทายมากกว่า ก็คือ การทำยังไงให้แบตเตอรี่อยู่นานที่สุด นานกว่า 90 นาที…
ไม่อย่างนั้น ก็เท่ากับ กล้องจะกลายเป็น เป้ ตุงๆ ติดหลังให้เป็นภาระด้วงซะเปล่าๆ แฮร่!😅
เขาบอกว่า พลังงานชีวิต 10 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของแมลง ใช้ในการระแวดระวังตัวเอง ด้วยการสอดส่ายสายตามองหาศัตรู และเพื่อการดำรงชีพด้วยการมองหาเหยื่อ และสิ่งสำคัญของ สั ต ว์ ก็คือ การมองหาคู่เพื่อจะผสมพันธุ์
มุมมองของกล้อง ก็เลยเท่ากับ ภาพที่มันเห็น🐝🐞🐜
คุณจะรู้สึกว่าตัวเองอยู่ในอากัปกิริยา ไม่ต่างจากนั่งไขว่ห้างขี่หลังเสือ เอ้ย ขี่หลังแมลงเลยแหละ👀
ดีไม่ดี ด้วงก็จะเปลี่ยนยี่ห้อกลายเป็น GrabBike LINEMan Skootar Foodpanda ส่งของ
โดยที่นักวิทยาศาสตร์ไม่ต้องเสียต้นทุนวัตถุดิบในการสร้างโรบอทจิ๋ว ที่ต้องหาวิธีขับเคลื่อนให้เปลืองพลังงานอี้ก😁
มาดูภาพประหนึ่งขี่หลังเสือ เอ้ย หลังด้วง เลยฮะ
ก็ถือว่าเป็นของเล่นชิ้นใหม่ในวงการ วิทยาศาสตร์ที่ขนาดเล็กที่สุดตอนนี้
ที่สามารถใช้ในการเก็บภาพและส่งสัญญาณผ่านระบบ Wireless ได้
คงไม่ลืมว่า แมลงมีสายพันธุ์นับไม่ถ้วนทั่วโลก อยู่ในนิเวศน์ที่ต่างกัน
เทคนิคนี้ อาจจะทำให้เราได้พบกับข้อมูลแจ่มแจ๋วใหม่ๆ ผ่าน ผู้ช่วยวิจัย 6 ขา 8 ขา (ที่ไม่ต้องแบ่งเงินสนับสนุนการวิจัยให้)
ให้แมลงได้ใช้ชีวิตโลดโผนโจนทะยานหรือซอกซอนในจุดต่างๆตามที่มันเป็น
โดยยังสะพายเป้กล้อง เก็บข้อมูลต่างๆ ส่งมาให้คน เรียกว่าเป็น WFH work from home ที่แท้ทรู😁
จะมีท่านใดแอบคิดเหมือนนกมั้ยคะ ว่า คนเรานี่เข้าใจหาวิธีใช้งานสิ่งมีชีวิตได้มากมาย ตั้งแต่งานเล็กไปใหญ่จริง ๆ นะคะ😅
นกไดโนสคูล
อ้างอิง
โฆษณา