22 ก.ค. 2020 เวลา 15:19 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ประวัติศาตร์ของยูเออีและตะวันออกกลาง!!
ดาวเทียมสำรวจโฮปของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ออกเดินทางสู่ดาวอังคารแล้ว
หลังจากที่การปล่อยดาวเทียมถูกเลื่อนมาถึงสองครั้งเนื่องจากสภาพอากาศที่เลวร้าย
ดาวเทียม "โฮป" (Hope) ซึ่งมีน้ำหนัก 1.3 ตัน ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวด H2-A จากฐานปล่อยจรวดทาเนกาชิมะของญี่ปุ่นเมื่อ 19 กรกฎาคม
ขณะนี้ดาวเทียมดวงนี้อยู่ระหว่างการเดินทางไปยังดาวอังคาร ซึ่งครอบคลุมระยะทางราว 500 ล้านกิโลเมตร โดยคาดว่าจะถึงจุดหมายในเดือน ก.พ. 2021 เพื่อสำรวจสภาพอากาศและภูมิอากาศของดาวอังคาร
หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน ดาวเทียมโฮปจะถึงดาวอังคารทันเวลาครบรอบ 50 ปี การสถาปนาสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์พอดี
ทำไมยูเออีถึงจะไปดาวอังคาร?
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีประสบการณ์ไม่มากด้านการออกแบบและผลิตยานอวกาศ แต่ก็ยังพยายามที่จะลองทำในสิ่งที่มีเพียง สหรัฐฯ, รัสเซีย, ยุโรป และอินเดีย ทำได้สำเร็จ
วิศวกรของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ซึ่งได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญของสหรัฐฯ ได้ผลิตดาวเทียมที่ซับซ้อนได้สำเร็จในเวลาเพียง 6 ปี และเมื่อดาวเทียมนี้เดินทางไปถึงดาวอังคาร คาดว่ามันจะส่งข้อมูลใหม่ทางวิทยาศาสตร์กลับมา เผยให้เห็นรายละเอียดของการทำงานของชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร
นักวิทยาศาสตร์คิดว่า มันอาจช่วยทำให้เราเข้าใจได้ดีขึ้นว่า ดาวอังคารสูญเสียอากาศและน้ำจำนวนมากไปได้อย่างไร
ดาวเทียมโฮป เปรียบเหมือนเป็นยานแห่งแรงบันดาลใจ ที่จะช่วยดึงดูดให้คนหนุ่มสาวในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และทั่วภูมิภาคอาหรับหันมาสนใจวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนและในการศึกษาระดับสูงขึ้น
Cr : BBC
ดาวเทียมนี้เป็นหนึ่งในโครงการที่รัฐบาลยูเออีบอกว่า แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของยูเออีที่จะลดการพึ่งพาน้ำมันและแก๊ส โดยหันไปให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจที่ต้องใช้วิทยาการแทน
แต่การเดินทางไปดาวอังคารมีความเสี่ยงสูง ครึ่งหนึ่งของภารกิจที่ถูกส่งไปดาวอังคารล้มเหลว ออมราน ชาริฟ ผู้อำนวยการโครงการโฮป ตระหนักถึงอันตรายเหล่านี้ แต่ยืนกรานว่า การลองทำคือสิ่งที่ถูกต้อง
ดาวเทียมโฮปใข้เวลาพัฒนา 6 ปี
ยูเออีสร้างโครงการนี้ขึ้นมาอย่างไร?
รัฐบาลยูเออีบอกกับคณะทำงานโครงการนี้ว่า ยูเออีไม่สามารถซื้อยานอวกาศมาจากบริษัทต่างชาติขนาดใหญ่ได้ ยูเออีต้องสร้างดาวเทียมเอง ทำให้ต้องร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหลายแห่งของสหรัฐฯ ที่มีประสบการณ์ด้านนี้
วิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ของทั้งสองชาติ ทำงานร่วมกันในการออกแบบและสร้างระบบของดาวเทียมดวงนี้ และอุปกรณ์ศึกษาดาวอังคารที่นำไปอีก 3 ชิ้น
การสร้างดาวเทียมดวงนี้ ใช้ทั้งห้องปฏิบัติการด้านฟิสิกส์อวกาศและบรรยากาศ (Atmospheric and Space Physics--LASP) ที่มหาวิทยาลัยโคโรลาโด เมืองโบลเดอร์ และศูนย์อวกาศโมฮัมเหม็ดบินราชิด (Mohammed Bin Rashid Space Centre--MBRSC) ในนครดูไบ
เบร็ต แลนดิน วิศวกรระบบอาวุโสของ LASP เชื่อว่า สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์พร้อมแล้วที่จะทำภารกิจใหม่ด้วยตัวเอง หลังจากมีประสบการณ์ตรงในการสร้างดาวเทียมดวงนี้
ลักษณะพื้นผิวดาวอังคารบ่งชี้ว่า เคยมีน้ำมหาศาลไหลผ่าน
โฮป จะทำภารกิจทางวิทยาศาสตร์อะไรบ้างที่ดาวอังคาร?
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ไม่ต้องการทำภารกิจทางวิทยาศาสตร์แบบเดียวกับที่ชาติอื่นทำไปแล้ว พวกเขาจึงไปถามคณะกรรมการที่ปรึกษาของนาซา ที่ชื่อว่า กลุ่มวิเคราะห์โครงการสำรวจดาวอังคาร (Mars Exploration Program Analysis Group--MEPAG) ว่ามีการวิจัยใดบ้างที่ดาวเทียมของยูเออีสามารถทำได้ และจะเป็นประโยชน์เพิ่มเติมจากความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว
คำแนะนำของ MEPAG ได้ช่วยจำกัดกรอบเป้าหมายของโฮป ภารกิจหนึ่งที่ดาวเทียมดวงนี้จะศึกษาคือ พลังงานเคลื่อนย้ายผ่านชั้นบรรยากาศจากชั้นบนลงมาชั้นล่างได้อย่างไร โดยจะศึกษาตลอดทั้งวัน และตลอดทุกฤดูของปี
มันจะแกะรอยฝุ่นที่ลอยอยู่ในอากาศ ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่ออุณหภูมิในชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร
นอกจากนี้ก็จะดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับอะตอมที่เป็นกลางของไฮโดรเจนและออกซิเจนที่บริเวณจุดสูงสุดของชั้นบรรยากาศด้วย มีการตั้งข้อสงสัยว่าอะตอมเหล่านี้ มีบทบาทสำคัญต่อการกัดเซาะชั้นบรรยากาศของดาวอังคารจากอนุภาคที่ทรงพลังที่ออกมาจากดวงอาทิตย์
โฆษณา