24 ก.ค. 2020 เวลา 16:16 • ความคิดเห็น
ไม่มีการท่องเที่ยว - ก็ไม่มีภาคอสังหา- ไม่มีอสังหา- เศรษฐกิจฐานล่างก็พัง
วันหยุดยาวนี้ ไม่ขออะไรมากค่ะ...อยากให้เพื่อนๆช่วยกันออกไปเที่ยว จับจ่ายใช้สอย กระจายรายได้ อยากเห็นโครงการแบบ "ไทยเที่ยวไทย" เกิดขึ้นอีกสักครั้งนึง
เพราะตอนนี้ลมหายใจของภาคการท่องเที่ยว กำลังอยู่ในช่วงรวยริน อ็อกซิเจนที่เหลืออยู่ขณะนี้ อาจจะยื้อชีวิตได้อีกไม่นานนัก รอบนี้เราโคม่า อาการหนักยิ่งกว่าโดนสึนามิ เมื่อปี 47 เป็นสิบเท่า
" คุณเคท ผมตัดสินใจปิดสาขาที่ กทม ละ ขอกลับไปตั้งหลักก่อน 555 "
ประโยคสั้นๆที่เจือด้วยเสียงหัวเราะแห้งๆของพาร์ทเนอร์ไม่อาจกลบความรู้สึกเจ็บปวดที่อยู่ภายในนั้นได้เลยค่ะ สาขาที่เป็นฮับของกิจการ เป็นเสมือนหัวใจหลัก และเป็นยิ่งกว่าความฝันของพี่ชาย กำลังจะปิดตัวลง
แน่นอนว่าเราจะฟื้นกลับมาได้ แต่เกินกว่าครึ่งจะไม่สามารถกลับมาได้แน่นอนค่ะ
ครั้งนี้เคทรู้สึกว่า โครงการ "เราเที่ยวด้วยกัน" เดินเกมพลาดยิ่งกว่าตอน "ชิมช็อปใช้" ซะอีก พังมากค่ะบอกเลย
การออกแบบระบบที่ซับซ้อนยุ่งยากเกินไป เป็นการวาง solution โดยที่ไม่ได้ตระหนักถึงปัญหาหน้างาน และเหตุปัจจัย ที่เกิดขึ้นจริงๆ เป็นการแก้แบบผิดฝาผิดตัวมาก และแน่นอนมันไม่ทั่วถึงอีกเช่นเคย (ถึงแต่รายใหญ่)
แล้วมันทำให้เม็ดเงินที่จะใช้กระตุ้นธุรกิจ ไม่สามารถใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ อย่างแรกเลย คุณลองกดเข้าไปดูสิทธิ โครงการ "เราเที่ยวด้วยกัน" สิคะ สิทธิเหลือบานเลยค่ะ เหลือเป็นล้านเลยค่ะ สิทธิเหลือบานขนาดนี้ มันสะท้อนภาพปัญหาได้เป็นอย่างดี ทีนี้วงเงินที่วางไว้จะให้เกิดระบบ multiplier effect ก็จะไม่สัมฤทธิ์ผลค่ะ การหมุนวงรอบของเงินจะได้ไม่ถึง 10%
เมื่อมันกระจายไปไม่เพียงพอ ไม่ทั่วถึง นั่นก็หมายความว่า
กิจการส่วนนึงจะต้องปิดตัวลง ภาคบริการก็หยุดชะงัก การจ้างงานก็ไม่มี และก็หมายถึงเราจะจัดเก็บภาษีได้น้อยลง งบประมาณปีหน้าก็จะน้อยลง และเราอาจต้องกู้เพิ่มอีกครั้ง
ปัญหาตอนนี้คือ รัฐไม่ได้กระจายเม็ดเงินตามขนาดของเศรษฐกิจ คือ แต่ละที่ขนาดเศรษฐกิจมันต่างกัน ความเสียหายมันก็ย่อมต่างกัน แต่รัฐดันใช้วิธีกระจายแบบไม่มีทิศทาง คือมันควรกำหนดยุทธศาสตร์ให้ชัด เหมือนเวลาคุณจัดสรรลงงบประมาณแต่ละจังหวัดอ่ะค่ะ มันก็ลดหลั่นกันไปตามความเหมาะสม (ให้ไปตามจังหวัดแล้วสมาคมเขาจัดสรรกันเองได้ดีกว่า)
ยกตัวอย่าง เช่น ภูเก็ต ขนาดเศรษฐกิจของภูเก็ตเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่ทำรายได้ให้ประเทศมีมูลค่าราวๆสี่แสนล้าน ต่อปี นั่นก็หมายความว่า ภาคบริการของที่นั่นก็ต้องมีปริมาณที่สูงเช่นกัน ผลกระทบความเสียหายก็ย่อมมากกว่าภาคส่วนอื่นๆ พอนึกภาพออกใช่ไหมคะ
โรงแรมที่นั่นมีเยอะมาก แต่ไม่สามารถเปิดได้ค่ะ ไม่ใช่เราไม่อยากเปิดนะคะ แต่ถ้าคุณมีโรงแรมสัก70ห้อง แต่มีผู้เข้าพักแค่ 5 ห้อง คุณจะแบกค่าใช้จ่ายยังไงไหว ต้นทุนการดำเนินการมันสูงมาก และในขณะที่โรงแรมไม่เปิด ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีค่าใช้จ่ายนะคะ อย่าลืมว่า ก็ต้องมีค่า maintenance มีค่าเสื่อมอีกเช่นกัน มันเป็นภาวะที่ผู้ประกอบการกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเลยค่ะ
คุณรู้ไหมคะ ปัญหาที่ตลกสุดตอนนี้คืออะไร
คือ ธนาคารเงินล้นมากค่ะ ใช่ค่ะ อ่านไม่ผิดหรอก เงินล้นมาก เพราะคนแห่ฝากเงินกันเยอะ แต่กลับเกิดภาวะเงินฝืด เพราะธนาคารก็ไม่กล้าปล่อยสินเชื่อให้ภาคการท่องเที่ยวค่ะ เม็ดเงินตรงนี้ยังเหลืออีกเยอะค่ะบอกเลย
ในการทำธุรกิจ หรือการลงทุน สิ่งที่เคทยึดมั่นและถือเป็นหัวใจหลักมาเสมอ คือ สภาพคล่องค่ะ ธุรกิจไหนที่ขาดสภาพคล่อง ก็เหมือน คนที่ขาดอ็อกซิเจนอ่ะค่ะ คือแค่ ขาดอากาศไม่กี่วินาทีคนเราก็ตายได้แล้วค่ะ
ที่เคทไม่ค่อยได้ออกมาพูดก็หน้านี้ไม่ใช่เพราะมันไม่กระทบตัวนะคะ แต่เคทแค่เหนื่อยค่ะ เหนื่อยจะพูด จะวิจารณ์อะไร อยากพักบ้าง และที่พูดเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เพราะมันกระทบอะไรกับเคทนะคะ สายงานเคทที่ทำอยู่ บอกเลยว่ากระทบน้อยมาก ถึงภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ ก็ แทบไม่เอฟเฟคอะไรเลยค่ะ จะว่าเคทค่อนข้างลอยตัวกับปัญหาพวกนี้ก็ยังได้ แต่ที่พูดเพราะมันไม่ไหวจริงๆค่ะ เป็นห่วงทุกๆคน
ตอนนี้เราหวังพึ่งอะไรไม่ได้แล้วค่ะ คนไทยต้องช่วยกัน
ขอฝากไว้เท่านี้ค่ะ
มิ้วๆนะคะทุกคน
โฆษณา