25 ก.ค. 2020 เวลา 09:07 • ความคิดเห็น
เครื่องบินรุ่นใหม่..
อีกนานไหมกว่าจะได้เห็น
ผลกระทบจากภาวะถดถอยในอุตสาหกรรมการบิน
แน่นอนมันส่งผลโดยตรงกับบริษัทสายการบิน
และผลกระทบที่เป็นคลื่นลูกใหญ่ก็ถาโถมเข้าใส่บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินเช่นกัน
เครื่องบินรุ่นใหม่ที่รอการส่งมอบหน้าโรงงาน
กำลังไม่มีที่จอด เนื่องจากบริษัทสายการบิน
ปฏิเสธหรือเลื่อนการรับมอบเครื่องบินเหล่านั้น
สถานการณ์แบบนี้จะคลี่คลายก็ต่อเมื่อสถานการณ์การระบาดของ covid-19 ได้ลดหรือยุติลง
บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินยักษ์ใหญ่อย่างโบอิ้งและแอร์บัส ต่างออกมายอมรับถึงผลกระทบ กับตัวเลขการผลิตเครื่องบินรุ่นใหม่ที่ลดลงนั่นหมายถึงรายได้ที่หายไปจำนวนมาก
อนาคตของการออกแบบและคิดค้นเครื่องบินรุ่นใหม่ หรือที่เรียกว่า Clean sheet model จะเป็นอย่างไรเราจะมีโอกาสได้เห็นเครื่องบินรุ่นใหม่ๆในอนาคตอันใกล้นี้หรือไม่
วันนี้เราจะมาคุยเรื่องนี้กันครับ
ปัจจุบันการผลิตเครื่องบินใหม่มีอยู่ 2 รูปแบบ
แบบแรกคือ Clean sheet model
นั่นคือการออกแบบใหม่หมดตั้งแต่หัวจรดหาง เริ่มตั้งแต่การออกแบบในคอมพิวเตอร์ แล้วจึงนำไปสู่สายการผลิตในโรงงานขนาดใหญ่ ซึ่งมีขั้นตอนมากมายและใช้เวลาหลายปีทีเดียว
แบบที่ 2 เรียกว่า Upgrade older model
การเลือกเอาเครื่องบินที่ขายดีอยู่ในตลาด
มาปรับปรุงใส่นู่นใส่นี่เข้าไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
เปรียบเทียบก็เหมือนรถยนต์ที่ขายดีรุ่น 1 ที่ออกรุ่น Minor Change อีกหลายรุ่นต่อมา
แอร์บัส เรียกรุ่นอัพเกรดแบบนี้ว่า Neo
ส่วนฝั่ง Boeing ใช้คำเรียกว่า Max หรือ X รวมถึงรหัสรุ่นอื่นๆ
ยกตัวอย่าง
Airbus
Clean sheet model : Airbus A320 Airbus A330
Upgrade older model : Airbus A320neo
Airbus A330neo
Boeing
Clean sheet model : Boeing 737 Boeing 777 Boeing 747
Upgrade older model : Boeing 737MAX Boeing 777X Boeing 747-8
แล้วข้อดีข้อเสียล่ะ
Upgrade older model ข้อดี
1. สามารถเพิ่มความน่าสนใจขึ้นไปอีกสำหรับเครื่องบินที่ได้รับความนิยมดีอยู่แล้วจากตลาดด้วยการใส่เทคโนโลยีเข้าไป
2. สามารถที่จะแย่งชิงส่วนแบ่งของตลาดได้อย่างรวดเร็ว ลูกค้าเดิมที่ซื้อเครื่องบินรุ่นนี้กับเราก็มีแนวโน้มจะสนใจเครื่องบินรุ่นที่ได้รับการอัพเกรด
สร้าง Loyalty และความเชื่อมั่นจากลูกค้า
3. ตอบสนองนโยบายของภาครัฐได้อย่างทันท่วงทีเช่นลดมลภาวะทางเสียง ก็ใช้การใส่เครื่องยนต์ที่มีเสียงที่เบาลงเข้าไป
4. ใช้เงินน้อยกว่าการพัฒนาเครื่องบินรุ่นใหม่ขึ้นมา
5. เอาเวลาไปพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีดีกว่ามาปวดหัวเรื่องการลุ้นส่วนแบ่งตลาดสำหรับเครื่องบินแบบใหม่
Clean sheet model ข้อดี
1. ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดโดยเฉพาะขนาดของเครื่องบิน การสร้างเครื่องบินใหม่เพื่อให้ได้ที่นั่งเหมาะสมกับความต้องการของตลาดขณะนั้นจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ
2. เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปเร็วมากบางครั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัยก็ไม่สามารถจะเข้ากันได้กับเครื่องบินในรุ่นเก่าๆ
เครื่องบินที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ทั้งลำ จึงเป็นเครื่องบินที่รองรับเทคโนโลยีได้อย่างไร้ขีดจำกัด
3. ภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือของแบรนด์
การพัฒนาเครื่องบินรุ่นใหม่นั่นแสดงถึงความก้าวหน้า ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินและจะส่งผลถึงความเชื่อมั่นของบรรดาลูกค้าอีกด้วย
ถามว่าทิศทางแนวโน้มจะเป็นอย่างไรในอนาคต
ก่อนตอบคำถามนี้คงต้องย้อนมองกลับไปดูในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาเราพบเห็นแต่เครื่องบินที่เป็นการ
ต่อยอดจากเครื่องบินรุ่นเก่าหรือ Upgrade older model ไม่ว่าจะเป็น 737 Max , Airbus A330neo
Airbus 321neo หรือ Boeing 777X
เห็นภาพว่าบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินกำลังมองเห็น ประโยชน์ของการอัพเกรดเครื่องบินที่กำลังขายดิบขายดีอยู่ในตลาด มากกว่ากันลงทุนสร้างเครื่องบินใหม่ในขณะที่อุตสาหกรรมการบินกำลังถูกกระทบอย่างหนักจากการระบาดของ covid-19
โอกาสที่เราจะได้เห็นเครื่องบินรุ่นใหม่ เครื่องบินที่โลกไม่เคยรู้จักมาก่อนในช่วง 5 ถึง 10 ปีข้างหน้านี้
คงเป็นไปได้ค่อนข้างยาก
น่าเสียดายที่เรามีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี
แต่เราคงไม่มีโอกาสได้เห็นมัน...
เพราะเรื่องเทคโนโลยีกับการตลาดในโลกปัจจุบันต้องเดินไปคู่กันครับ
กัปตันหมี
โฆษณา