1 ส.ค. 2020 เวลา 06:02 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Fund Story - กองทุน ONE-UGG หรือ กองทุนเปิดวรรณ อัลติเมท โกลบอล โกรว์ธ
1
รีวิวกองทุนรวม สรุปทุกประเด็นสำคัญให้คุณได้อ่านและรู้จักแต่ละกองทุนมากยิ่งขึ้น
ในช่วงเวลานี้กองทุนที่กำลังมาแรงแซงทุกโค้ง ไม่หยิบมาพูดถึงไม่ได้เลย เป็นกองทุนต่างประเทศที่ลงทุนในตราสารทุนทั่วโลก หรือเรียกอีกชื่อว่า กองทุนโกลบอล
1
กองทุนที่เราจะมาพูดถึงในวันนี้ ก็คือ กองทุน ONE-UGG
กองทุน ONE-UGG หรือ กองทุนเปิดวรรณ อัลติเมท โกลบอล โกรว์ธ เป็นกองทุนรวมจาก บลจ. วรรณ โดยจดทะเบียนกองทุนตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ. 2559 ปัจจุบันมีสินทรัพย์สุทธิรวม 4,342,776,651.80 บาท (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ค. 2563)
เป็นกองทุนรวมตราสารทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ ความเสี่ยงกองทุนนี้อยู่ที่ระดับ 6
นโยบายการลงทุน :
เน้นการลงทุนในกองทุนต่างประเทศ โดยการนำเงินไม่ต่ำกว่า 80% ของกองทุน ไปลงทุนกับกองทุนต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Master Fund)
1
กองทุน Master Fund :
กองทุน Baillie Gifford Long Term Global Growth Fund ในหน่วยลงทุนชนิด B ประเภทสะสมมูลค่า อยู่ภายใต้ Baillie Gifford Overseas Growth Funds Investment Company with Variable Capital (ICVC) ซึ่งจดทะเบียนในสก๊อตแลนด์ โดยกองทุนหลักถูกควบคุมดูแลโดย Financial Conduct Authorithy (FCA) ของสหราชอาณาจักร
1
การจ่ายปันผล : ไม่จ่ายเงินปันผล
นโยบายค่าเงิน : ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวม
กลยุทธ์การบริหารจัดการลงทุน : มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนีชี้วัด (Passive Management / Index Tracking)
แล้วกองทุน Baillie Gifford LTGG ลงทุนอะไรบ้าง?
จะเน้นลงทุนในหุ้นทั่วโลก เน้นการลงทุนระยะยาวเพื่อให้สร้างผลตอบแทนอย่างแท้จริงในระยะเวลา 5 -10 ปี โดยกองทุนนี้จะลงทุนในหุ้นบริษัทที่มีแนวโน้มเติบโตในระยะยาวสูง หาหุ้นจำนวน 20 - 30 ตัว โดยมีแนวคิดว่าบริษัทที่เข้าลงทุนจะต้องเปลี่ยนและปฏิรูปอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมได้
หุ้น 10 อันดับแรกที่กองทุนถือสูงสุด คือ
ข้อมูลจาก Fund Fact sheet
1. Tesla Inc - 9.0%
บริษัทของ Elon Musk ผู้ชายที่กำลังโด่งดังในนาทีนี้ ทุกคนคงน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี เจ้าของบริษัทออกแบบ ผลิตและจำหน่ายรถพลังงานไฟฟ้าและส่วนประกอบระบบส่งกำลังของยานพาหนะไฟฟ้า
2. Amazon.com - 8.1%
บริษัทของ Jeff Bezos คนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก เจ้าของเว็บไซต์ Amazon.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ E-commerce ขายของออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังมีธุรกิจ Cloud และ Big Data ด้วย
3. Tencent - 6.5%
บริษัทไอทีขนาดใหญ่จากประเทศจีน เจ้าของแอพแชท WeChat, เว็บไซต์ Sanook, แอพฟังเพลง JOOX และให้บริการเกมออนไลน์รายใหญ่ของประเทศจีน เช่น เกม League of Legends ตอนนี้ Tencent ถือหุ้นทั้งหมดของ Riot Games แล้ว
1
4. Illumina - 5.7%
บริษัท BioTechnology ผู้พัฒนาและผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์เกี่ยวกับทางพันธุกรรม
5. Alibaba - 5.2%
บริษัทของ Jack Ma เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลายประเภท ทั้ง E-commerce ค้าปลีก อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีจากประเทศจีน เป็นผู้ค้าปลีกรายใหญ่สุดและมีมูลค่ามากที่สุดในโลก โดยมีกิจการในต่างประเทศกว่า 200 ประเทศ เป็นเจ้าของเว็บไซต์ Taobao.com, Tmall.com, Alipay.com
6. Meituan Dianping - 4.2%
เว็บไซต์การซื้อของกลุ่มชาวจีนสำหรับบริการจัดส่งอาหารท้องถิ่นผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคและบริการค้าปลีก เกิดจากการควบรวมกิจการของ Meituan (เว็บขายดีลส่วนลดแบบกลุ่ม) และ Dianping (แอปรีวิวร้านอาหารและร้านค้า) ทำให้กลายเป็นบริษัท O2O (Online-to-Offline) รายใหญ่ของจีน
ส่วนบริการอื่นที่มีอยู่ใน Meituan Dianping เช่น สั่งซื้อของชำ, จองร้านนวด, จองร้านทำผม นอกจากนี้ยังมีแอปย่อยเช่น Meituan Waimai สำหรับสั่งอาหาร และ Maoyan สำหรับจองตั๋วหนัง ทั้งนี้แผนการใช้เงินหลังเพิ่มทุนของ Meituan Dianping คือ การขยายไปสู่บริการให้ครอบคลุมไลฟ์สไตล์มากขึ้น
7. Pinduoduo - 3.9%
บริษัท E-commerce ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของจีน ตามหลัง Alibaba บริษัทนี้เริ่มก่อตั้งในปี 2015 โดยเป็นบริษัท Startup มาก่อน หลังจากนั้นใช้เวลา 3 ปีในการเข้าตลาดหุ้น NASDAQ ด้วยมูลค่า 20,000 ล้านเหรียญ และใช้เวลาเพียง 5 ปีเท่านั้นในการก้าวขึ้นมาเป็นอันดับสอง
จุดเด่นของ Pinduoduo คือ การขายของราคาถูกมากให้กับตลาดคนขั้นล่าง ใช้กลยุทธ์ Social Shopping โดยใช้วิธีซื้อสินค้าแบบ Group Buying คือ คนซื้อต้องจับกลุ่มรวมกัน เพื่อที่จะได้ซื้อสินค้าได้ในราคาถูกกว่าเดิม
8. Facebook - 3.9%
บริษัทของ Mark Zuckerberg เจ้าของ Social Media ที่ใหญ่ที่สุดของโลก ก็คือ Facebook.com ซึ่งทุกคนก็น่าจะรู้จักกันดีอยู่แล้วเนอะ ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ใช้งาน Facebook มากที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก ประมาณ 47 ล้านบัญชี รายได้ส่วนใหญ่มาจากการขายโฆษณาในลักษณะของเว็บแบนเนอร์ นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าของกิจการอื่นๆ อีก เช่น WhatsApp, Instagram, PlayGiga
1
9. Netflix - 3.6%
แอพพลิเคชั่นที่ให้เราได้รับชมทั้งภาพยนตร์ ซีรีย์ และรายการต่างๆ เยอะกว่า 100,000 เรื่อง บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 1997 และเริ่มเปิดรับสมัครสมาชิกแบบเสียค่าบริการในปี 1999 หลังจากนั้นบริษัทเริ่มขยายธุรกิจไปยังการผลิตภาพยนตร์ต้นฉบับ จนถึงปี 2016 Netflix ได้ผลิตภาพยนตร์ซีรีส์และภาพยนตร์เรื่องยาวต้นฉบับกว่า 126 เรื่อง มากกว่าช่องโทรทัศน์
10. Kering - 3.4%
บริษัทต่างชาติที่อยู่ในปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านสินค้า Luxury เจ้าของแบรนด์ชื่อดัง เช่น Gucci, Yves Saint Laurent, Zara, Hermès, Balenciaga, Under Armour เป็นต้น และในปี 2019 มีรายได้ถึง 15.9 พันล้านยูโร
ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2563
อ่านข้อมูลกองทุนหลักเพิ่มเติม ได้ที่
เมื่อดูจากพอร์ตการลงทุนของกองทุนนี้ จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่เป็นหุ้นบริษัทที่เกี่ยวกับ Consumer Services และ Technology (แทบจะเป็นกองทุนเทคโนโลยีไปแล้ว) ซึ่งก็ไม่แปลกใจเลยที่เค้าเลือกลงทุนหุ้นเหล่านี้ เพราะปัจจุบันหุ้นกลุ่มนี้มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดมากๆ และเชื่อว่าในอนาคตธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีน่าจะโตได้อีกไกลอยู่นะ
หากดูสัดส่วนการลงทุนโดยแบ่งตามประเทศ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นหุ้นที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศ Emerging Markets ซึ่งก็เป็นประเทศจีนนั่นเองที่เค้าเลือก
ทั้ง 2 ประเทศนี้ ก็มีการแข่งขันกันด้านเทคโนโลยีอยู่เสมอ ซึ่งเราจะเห็นได้จากข่าวต่างๆ มากมาย รวมถึงข่าวสงคราม TechWar ในปีก่อน
ข้อมูลจาก Fund Fact sheet
ผลตอบแทนย้อนหลัง (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ค. 63)
- 3 เดือน: 27.31%
- 6 เดือน: 42.00%
- 1 ปี: 58.13%
- 3 ปี: 23.50% (ต่อปี)
ข้อมูลจากเว็บไซต์ บลจ. วรรณ
กองทุนนี้เคยมีผลขาดทุนสูงสุด (maximum drawdown) ตั้งแต่จัดตั้งกองทุน คือ -24.01%
ความผันผวนของผลการดำเนินงาน (standard deviation) คือ 16.92% ต่อปี
ความผันผวนของส่วนต่างของผลตอบแทนเฉลี่ยของกองทุนรวมและผลตอบแทนของดัชนีอ้างอิงย้อนหลัง 1 ปี (Tracking Error) คือ 17.48%
อัตราส่วนหมุนเวียนการลงทุนของกองทุน (Portfolio Turnover Ratio: PTR) คือ 1.57
ค่าธรรมเนียม (% ของมูลค่าหน่วยลงทุน)
🔸ค่าธรรมเนียมการขาย: ไม่เกินร้อยละ 2.14 (ปัจจุบัน: ร้อยละ 1.605)
🔸ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน: ไม่เกินร้อยละ 1.07 (ปัจจุบัน: ยกเว้นการเรียกเก็บ)
🔸ค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนเข้า: เป็นไปตามค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุน
🔸ค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนออก: เป็นไปตามค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุน (% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน รวม VAT)
🔸ค่าธรรมเนียมนายทะเบียน: ไม่เกินร้อยละ 1.07 ต่อปี (ปัจจุบัน: ร้อยละ 0.535)
🔸ค่าธรรมเนียมการจัดการ: ไม่เกินร้อยละ 2.14 ต่อปี (ปัจจุบัน: ร้อยละ 1.712)
🔸ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์: ไม่เกินร้อยละ 0.535 ต่อปี (ปัจจุบัน: ร้อยละ 0.0321)
🔸ค่าใช้จ่ายอื่นๆ: ตามที่จ่ายจริง
รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด: ไม่เกินร้อยละ 4.28 ต่อปี
**ค่าธรรมเนียมมีผลกระทบต่อผลตอบแทนที่เราจะได้รับ ดังนั้น อย่าลืมพิจารณาการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวก่อนการลงทุนนะคะ
การซื้อขายหน่วยลงทุน
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรก: 1 บาท
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งถัดไป: 1 บาท
วันรับเงินค่าขายคืน: ภายใน 5 วันทำการถัดจากวันทำการขายคืน (T+5)
ช่องทางการซื้อขาย
สามารถซื้อขายกองทุนผ่านช่องทาง ดังนี้
- One Live
- Moblie App
- บลจ. วรรณ Customer Service
- ผู้สนับสนุนการขาย หรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
ในความเห็นส่วนตัวของเรานั้น เราว่าอนาคตของหุ้นเทคโนโลยียังไปได้อีกไกล ตราบใดที่ประเทศอเมริกาและจีนยังแข่งขันกันอยู่
หุ้นที่อยู่ในพอร์ตกองทุนนี้มีแต่หุ้นเก่งๆ เป็นหุ้นที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด และส่วนใหญ่ก็เป็นบริษัทขนาดใหญ่ด้วย มีหลากหลายประเภทธุรกิจ ซึ่งก็เป็นธุรกิจสำหรับอนาคตทั้งนั้น
ถ้าถามว่า ในอนาคตธุรกิจเหล่านี้จะถูก Disrupt มั้ย เรามองว่าก็มีโอกาสจะถูก Disrupt นะ แต่เชื่อว่าบริษัทสามารถปรับตัวตามเทรนด์ในอนาคตเพื่อให้เติบโตต่อได้
ดูได้จากเมื่อก่อน Amazon ก็เป็นเพียงแค่ร้านขายหนังสือ แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงเป็นเว็บไซต์ E-commerce ขนาดใหญ่ และยังมีธุรกิจด้าน Technology อีกมากมาย
หรืออย่าง Netflix เดิมทีเป็นบริษัทให้เช่าแผ่น DVD ในอเมริกา เมื่อยุคอินเตอร์เน็ตกำลังมา เค้าก็ได้เริ่มหันมาให้บริการสตรีมมิ่งบนอินเตอร์เน็ตแทนจนถึงปัจจุบันนี้ และล่าสุดก็ได้เริ่มสร้างซีรีย์เป็นของตัวเองแล้ว เรียกได้ว่าเติบโตขยายธุรกิจต่อแบบไม่หยุดนิ่งจริงๆ
สำหรับคนที่สนใจกระจายการลงทุนไปต่างประเทศ กองทุนนี้ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ ค่าธรรมเนียมอาจจะดูแพงไปนิด แต่สำหรับเราถือว่าถ้าได้ผลตอบแทนประมาณนี้ไปเรื่อยๆ ก็คุ้มอยู่นะ
ยังไงก็ลองนำข้อมูลกองทุนนี้ไปพิจารณาตัดสินใจลงทุนดูนะคะ เพราะผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในช่วงไม่กี่ปีนี้ก็โตเร็วแบบก้าวกระโดดเลย
หมายเหตุ: การทำโพสนี้ขึ้นมา ไม่ได้เป็นการชักจูงหรือแนะนำให้ซื้อกองทุนนี้ตาม เป็นเพียงแค่เอาเนื้อหาจากเอกสารรายละเอียดการลงทุนมาสรุปย่อให้ได้อ่านกันค่ะ ^^
ใครอยากให้เราเอากองทุนไหนมาเล่าให้ฟัง คอมเม้นบอกกันมาใต้โพสนี้ได้เลยนะคะ 👇👇
ฝากติดตาม กด Like 👍 กด Share ❤️ และเป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ จะคอยอัพเดตข้อมูลความรู้เกี่ยวกับกองทุนรวมและการลงทุน
โฆษณา