28 ก.ค. 2020 เวลา 02:25 • ธุรกิจ
ทาดาชิ ยานาอิ มหาเศรษฐี อันดับที่1ของญี่ปุ่นเจ้าของแบรนด์เสื้อผ้าสุดปัง!!!แห่งยุค อย่างยูนิโคล่
เขาทำอย่างไรจึงทำให้เสื้อผ้าของยูนิโคล่นั้นจึงไร้กาลเวลาและมีกลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจอย่างไรให้
ยูนิโคล่สามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาลในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศญี่ปุ่นได้
สามารถรับฟังชมภาพวาดประกอบได้ตามลิ๊งก์ด้านล่าง
คุณทาดาชิ ยานาอิ เขามีหลักและวิธีคิดในการสร้างแบรนด์ยูนิโคล่ อย่างไรที่ทำให้ เสื้อผ้าของยูนิโคล่นั้นจึงไร้กาลเวลา แล้วเพราะอะไรแนวความคิดในการบริหารธุรกิจที่ให้ได้ผลกำไรน้อยที่สุด แต่กลับทำให้คุณ ทาดาชิ ยานาอิ ถึงได้กลายมาเป็นมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดของประเทศญี่ปุ่นได้ในขณะนี้
สวัสดีครับมีเรื่องไรเล่าวันนี้จะพาคุณผู้ชมไปรู้จักกับผู้ที่สร้าง
ยูนิโคล่ แบรนด์ เสื้อผ้า ที่ร้อนแรงที่สุดแห่งยุคนี้
ในEpที่1 ทาดาชิ ยานาอิ ผู้สร้าง ยูนิโคล่ แบรนด์เสื้อผ้าที่ไร้กาลเวลา
คุณทาดาชิ ยานาอิ เขาเกิดในวันที่ 7 ก.พ 1949 ที่อูเบะ จังหวัดยามางูชิ ประเทศญี่ปุ่น
เขาเติบโตมาในครอบครัวที่ทำธุรกิจขายเสื้อผ้า โดยที่พ่อของเขาเป็นช่างตัดสูทและมีร้านขายเสื้อสูทเล็กๆ อยู่ที่เมืองฮิโรชิม่า
คุณ ยานาอิ ได้เรียนจบจากมหาวิทยาลัยวาเซดะ คณะ รัฐศาสตร์ในปี 1971 หลังจากที่เรียนจบแล้วคุณยานาอิ ก็ไม่ได้มีความคิดที่จะกลับไปทำงานสานต่อธุรกิจร้านขายสูทของครอบครัวแต่อย่างใด เขาอยากที่จะทำงานให้ตรงกับสายที่ได้เรียนมาเสียมากกว่า ในระหว่างที่รอหางานอยู่นั้น คุณยานาอิ ก็ได้ไปทำงาน ที่ห้าง จัสโก้ เป็นพนักงานขายเครื่องครัว แต่ในปีเดียวกันนั้นเองพ่อของเขาก็ได้ ขยายกิจการร้านขายเสื้อสูทเพิ่มขึ้นอีกหลายสาขา จึงได้เรียกตัว เขาให้กลับมาช่วยงานที่ร้านขายสูทของครอบครัว
ถึงแม้ว่าตัวคุณยานาอิ จะได้ทำงานที่ห้างจัสโก้ในช่วงเวลาสั้นๆ แค่เพียงสิบเดือน แต่เขาก็ได้เก็บเกี่ยวและเอาประสบการณ์ การทำงาน เอามาปรับปรุง จัดการเกี่ยวกับ
สต๊อกสินค้าและการจัดวางสินค้าที่ขายอยู่ภายในร้านเสื้อสูทของคุณพ่อเขาอย่างเป็นระบบ
และด้วยในช่วงยุคที่คุณยานาอิเกิดและเติบโตมานั้นเป็นยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ สอง ตัวเขาก็ค่อนข้างจะมีแนวความคิดแบบอเมริกันเสรีนิยมเป็นอย่างมาก แต่ทว่าวิธีการและความคิด ที่เขานำเอาเข้ามาบริหารร้านนั้น ทำให้พวกลูกน้องคนเก่าๆ ของที่ร้านที่เคยทำงานกันแต่รูปแบบเดิมๆ ก็ไม่ค่อยพอใจกับวิธีการใหม่ๆ ของนักบริหารหนุ่มอย่างคุณยานาอิ เท่าไรหนัก พวกพนักงานภายในร้านทั้งหมด6คน จึงขอลาออกจากร้านกันทั้งหมด
นั้นจึงทำให้ในช่วงเวลานั้นคุณยานาอิ จะต้องทำงานเองทุกอย่างภายในร้าน ไม่ว่าจะเป็นงานทำความสะอาดปัดกวาดเช็ดถูงานบัญชี นับสต๊อก หรือแม้แต่ต้องเป็นพนักงานขายสินค้าด้วยตัวเอง และด้วยความจำเป็นที่เขาต้องทำงานทุกอย่างเองภายในร้าน จึงทำให้คุณยานาอิ ได้เรียนรู้และเข้าใจถึงระบบพื้นฐานในการทำธุรกิจเกี่ยวกับเสื้อผ้าได้เป็นอย่างดี เขาไม่รู้สึกเหนื่อยเลยกลับงานที่ต้องทำทุกอย่างเพียงคนเดียว แต่เขากลับรู้สึกสนุกและตกหลุมรักกับ งานที่เขากำลังทำอยู่ภายในร้าน
อย่างไม่คาดคิดมาก่อน
และในช่วงเวลานั้นเองคุณยานาอิ ก็เริ่มมีแนวความคิดที่อยากจะลองผลิตเสื้อผ้าขายเอง แต่ก็ยังไม่ค่อยมีความชำนาญและมีความรู้เท่าที่ควร จนกระทั่ง คุณยานาอิได้มีโอกาสไปดูงานที่ต่างประเทศและก็ได้ไปเจอกับ จิมมี่ ไล เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้า Giordano จึงทำให้เขารู้จักเสื้อผ้าสไตล์ Casual Wear หรือพวกชุดลำลอง
คุณยานาอิก็เริ่มให้ความสนใจเสื้อสไตล์ Casual Wear เป็นอย่างมากและได้มองเห็นแล้วว่าในตลาดเสื้อผ้าของญี่ปุ่นในตอนนั้น มีช่องว่างทางการตลาดของเสื้อผ้าสไตล์นี้อยู่
คุณยานาอิ จึงได้เริ่มศึกษาแนวทางในการทำธุรกิจเสื้อผ้าจากแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จแล้วในยุคนั้น อย่าง Maks and Spencer และ Next
หลังจากนั้นคุณยานาอิก็เริ่มทดลองผลิตเสื้อผ้าออกมาขายเองโดยช่วงแรกๆ นั้นเป็นการลองผิดลองถูกไปเสียมากกว่า แต่ถึงแม้จะไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนักแต่เขาก็ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมายในการทดลองนั้นจนได้นำมาปรับใช้ต่อในอนาคต
และในปี 1984 คุณยานาอิก็ได้รับไม้ต่อในการบริหารกิจการทั้งหมดต่อจากคุณพ่อ และเขาก็ได้ทำการเปิดร้านเสื้อผ้า แฟชั่นที่ขายให้กับคนทุกเพศทุกวัย
ที่มีชื่อว่า Unique Clothing Warehouse ยูนีค โคลสติ่งแวร์เฮ้าส์ ที่บนถนนฟุกุโระ ย่านนากากุ เมืองฮิโระชิม่า เป็นสาขาแรก
โดยในช่วงแรกๆ นั้น แบรนด์เสื้อผ้า ยูนีค โคลสติ่งแวร์เฮ้าส์ นั้นรูปแบบสไตล์ของเสื้อผ้าการจัดวางสินค้าภายในร้านได้รับแรงบันดาลใจ หรือจะเรียกได้ว่าก๊อบปี้ มาจากแบรนด์เสื้อผ้าของอเมริกาอย่าง GAPทั้งหมดเลยก็ว่าได้ ซึ่ง GAP เอง ก็เป็นแบรนด์ที่คุณยานาอิ ชื่นชอบเป็นการส่วนตัว
การก๊อบปี้รูปแบบโมเดลในทางธุรกิจนั้นอาจจะดูไม่ดีเท่าไหร่นัก แต่คุณย่านาอินั้นเขาก็ไม่ใช่จะเอาแต่เป็นนักก๊อบปี้ไปกันสะทีเดียว คุณยานาอิ ค่อยๆ เรียนรู้และพัฒนาต่อยอดในการออกแบบเสื้อผ้าและปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสมกับตลาดลูกค้าที่เป็นชาวญี่ปุ่น
เรามาดูกันนะครับว่า วิธีการและแนวความคิดอะไรของคุณยานาอิ จึงทำให้แบรนด์ เสื้อผ้า ยูนีค โคลสติ่งแวร์เฮ้าส์ ของเขาในเวลานั้นจึงได้รับการยอมรับจากคนญี่ปุ่นได้อย่างรวดเร็ว
หลักการแรกที่คุณยานาอิ คิดถึงนั้นก็คือ เขาคิดถึงความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก โดยที่เขามองว่าอยากให้เสื้อผ้าของ ยูนีค โคลสติ่งแวร์เฮ้าส์ นั้นเป็นชุดลำลองที่ใส่สบายและทำให้ลูกค้าสามารถใส่ชุดของเขาไปได้อย่างเหมาะสมและหลากหลายในทุกๆ โอกาส
ส่วนทางด้านในการออกแบบของเสื้อผ้านั้น คุณยานาอิ ไม่เน้นการออกแบบที่จะต้องคอยตามแฟชั่นสมัยนิยมในยุคนั้น แต่เขาเน้นการออกแบบเสื้อผ้าที่ดูเรียบง่าย สะท้อนความเป็นตัวตนของคนญี่ปุ่น และด้วยความเรียบง่ายนี้เองคุณยานาอิได้นิยามสไตล์เสื้อผ้าของเขาเอาไว้ว่า เป็นเสื้อผ้าที่ไร้กาลเวลา นั้นก็คือคนที่ใส่เสื้อผ้าของเขานั้น จะต้องไม่ล้าสมัยตกยุค ถึงแม้กาลเวลาจะผ่านไปนานเท่าไรก็ตาม เสื้อผ้าของเขาจะยังคงร่วมสมัยอยู่ ตราบนานเท่านาน
ส่วนในการจัดวางสินค้าภายในร้าน ยูนีค โคลสติ่งแวร์เฮ้าส์ นั้นก็มีความแปลกใหม่ กว่าร้านขายเสื้อผ้าอื่นๆ ทั่วไปอยู่มากในสมัยนั้น
การออกแบบภายในร้านนั้นก็จะเน้นความเรียบง่าย และจะเน้นให้ภายในร้านมีเพดานที่สูงโปร่ง เมื่อลูกค้าเข้ามาภายในร้านจะรู้สึกได้ว่าเหมือนกับ “เข้ามาในคลังสินค้า” มากกว่าเข้ามาเดินในร้านเสื้อผ้าแฟชั่น ทางเดินภายในร้านถูกออกแบบมาให้กว้าง เพื่อที่ให้ลูกค้ามีความรู้สึก อิสระมากขึ้นในการเดินภายในร้าน
คุณยานาอิ ก็ยังได้นำเอาแนวความคิดจากร้านเสื้อผ้าแบบอเมริกันมาปรับใช้ นั้นก็คือ การที่ให้ลูกค้าได้หยิบเลือกซื้อหรือลองเสื้อผ้าด้วยตัวเอง จึงทำให้ลดต้นทุนในการจ้างพนักงานภายในร้านเป็นอย่างมาก
และพนักงานภายในร้านก็จะเน้นในเรื่องการดูแล ทำความสะอาดร้าน คอยจัดชั้นเสื้อผ้าให้เรียบร้อย และปล่อยให้ลูกค้าเดินดูสินค้าอย่างเป็นอิสระ
และด้วยกลยุทธ์เหล่านี้เอง จึงทำให้ร้าน ยูนีค โคลสติ่ง แวร์เฮ้าส์ เริ่มได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และภายในหนึ่งปี คุณยานาอิก็ได้ ขยายสาขาเพิ่มไปอีก หนึ่งสาขาไปย่านชานเมืองฮิโรชิม่า
ต่อมาร้านเสื้อผ้าทั้งสองสาขาของเขาก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและเป็นที่ต้องการของตลาด คุณยานาอิก็มีความคิดที่อยากจะขยายร้านไปทั่วประเทศญี่ปุ่น เขาจึงได้เริ่มจากปรับเปลี่ยนฝังองค์กรใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่เปลี่ยนชื่อ บริษัทเดิมที่รับช่วงต่อจากพ่อของเขา เดิมที่ใช้ชื่อว่า Ogorishoji โอโกริโซจิ มาเป็น Fast Retailing  และได้ เปลี่ยนชื่อร้าน ยูนีค โคลสติ่ง แวร์เฮ้าส์ที่เป็นบริษัทในเครือของ ย่อชื่อให้สั้นลงเพื่อที่จะได้ทำให้ลูกค้าจดจำได้ง่ายขึ้น เป็น ยูนีค โคลสติ่ง แต่ในที่สุดแล้วชื่อได้ถูกตัดให้สั้นลงไปอีก ก็เหลือแค่เพียง ยูนิค โคล Uni-Clo เท่านั้น แต่ทว่า ในขั้นตอนที่ทำการจดทะเบียนบริษัท ก็เกิดมีความผิดพลาด ของพนักงานจดทะเบียน เขาไปมองเห็น ตัว ซี เป็นตัว คิว ก็เลยเขียนเป็น UniQlo คุณยานาอิ เองก็กลับรู้สึกชอบชื่อนี้ และหลังจากนั้น ร้านเสื้อผ้าแบรนด์ ยูนิโคล่ ก็ได้ขยายสาขาออกไปอย่างรวดเร็วมากกว่า 100 สาขาทั่วประเทศญี่ปุ่น
และในปี 1996 ร้านเสื้อผ้าของยูนิโคล่ ก็มีมากกว่า200สาขาทั่วประเทศญี่ปุ่น แต่เเล้วในระหว่างปี 1996 -ปี2000 ก็เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในประเทศญี่ปุ่น
ทำให้หลายๆ ธุรกิจในประเทศ ขาดทุน และถึงกับล้มละลายไปกันหลายบริษัท แต่ทว่า ร้านเสื้อผ้าของยูนิโคล่นั้นกลับขยายสาขาไปได้มากกว่า 500สาขาทั่วประเทศ
และสามารถทำยอดขายภายในประเทศ ได้มากถึง 1000 ล้าน เหรียญสหรัฐ ซึ่งสวนทางกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นเป็นอย่างมากในขณะนั้น
คุณยานาอิใช้กลยุทธ์อะไรจึงทำให้ยูนิโคล่ รอดพ้นวิกฤตในครั้งนั้นมาได้และมีผลกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ
เขาไม่ได้มีกลยุทธ์อะไรที่เป็นพิเศษหรือซับซ้อนอะไรมากเลย แต่เขาแค่ยึดมั่นแนวทางในการทำธุรกิจ ของเขาว่า จะทำยังไง ให้บริษัทถึงมีกำไรน้อยที่สุด
เพราะคุณยานาอิ คิดมาโดยตลอดว่า ถ้าการที่บริษัทมีกำไรจากการ ขายสินค้าต่อหน่วยมากๆ นั้น ก็แสดงว่า ลูกค้ากำลังได้รับสินค้าที่ราคาแพงอยู่ แต่ถ้าเราเอากำไรไม่เยอะมาก สินค้าก็จะราคาถูกลง แต่ถึงแม้ว่าสินค้าของเขาจะมีราคาถูก แต่เรื่องคุณภาพของสินค้าก็ไม่ได้ถูกลดคุณภาพลงตามราคา คุณยานาอิ เขาคิดเอาไว้ว่า ถ้าเขาสามารถทำสินค้าราคาที่ถูกแต่กลับมีคุณภาพที่ดีมากๆ ได้ ลูกค้า เมื่อซื้อสินค้าไปใช้แล้ว ก็จะเกิดความรู้สึกที่คุ้มค่า เกินกว่าราคาที่จ่ายไป และจะทำให้ลูกค้าเหล่านั้นเวียนกลับมาซื้อสินค้าของเขาซ้ำอีก และแนวทางในการทำธุรกิจที่เขายึดมั่นนี้มาโดยตลอด ก็ได้ส่งให้ผลลัพธ์ตอบกลับเขามาอย่างเกินความคาดหมาย
เพราะด้วยในช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในประเทศญี่ปุ่นนั้น
ผู้บริโภคภายในประเทศก็มีความฝืดเคืองในเรื่องของการใช้เงินเป็นอย่างมาก พฤติกรรมของผู้บริโภคก็เปลี่ยนไปตอนนั้น คนญี่ปุ่นหันมาซื้อแต่ของที่ถูกกันมากขึ้น แต่ก็ต้องรู้สึกด้วยว่าของถูกที่ได้มานั้นต้องมีคุณภาพที่ดีจริงๆ ด้วย และยอดขายของยูนิโคล่ในช่วงเวลานั้นก็คงเป็นคำตอบได้เป็นอย่างดีแล้วว่า เสื้อผ้าที่ไร้กาลเวลาของยูนิโคล่นั้น มีคุณภาพดีมากแค่ไหน จึงคลองใจคนญี่ปุ่นในช่วงเวลานั้น และแถมยังมียอดขายเติบโตมากยิ่งขึ้นไปอีกในทุกๆ ปี
และในวิกฤตการณ์นั้นเองถึงแม้ยูนิโคล่จะทำยอดขายได้อย่างมหาศาล แต่คุณยานาอิก็ได้เห็นแล้วว่า ถ้ายูนิโคล่ ยังคงขายเสื้อผ้าอยู่แค่แต่ในประเทศ หากอนาคตข้างหน้ามีวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นมาอีกละ บางที่ยูนิโคล่อาจจะไม่สามารถรอดพ้น วิกฤตินั้นไปได้อีก คุณยานาอิ จึงได้คิดที่จะขยายสาขาร้านเสื้อผ้ายูนิโคล่ ออกไปขายทั่วโลก เพื่อกระจายความเสี่ยงหากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจอีกขึ้นอีกภายในประเทศ
คุณทานาชิ ยานาอิ จะมีกลยุทธ์อะไร และจะสามารถ พาแบรนด์เสื้อผ้าอย่าง ยูนิโคล่ไปเติบโตในตลาดต่างประเทศได้หรือไม่ โปรดติดตามกันในตอนหน้านะครับ
เพื่อไม่ให้พลาดในการรับชมก็อย่าลืมกดติดตาม เพื่อเป็นกำลังใจในการทำคลิป ต่อๆ ไปด้วยนะครับ
ในปัจจุบัน คุณ ทาดาชิ ยานาอิ ถือหุ้นอยู่ในบริษัท ฟาส รีเทลริ่ง ซึ่งก็เป็นบริษัทแม่ของยูนิโคล่ และบริษัทอื่นๆ อีกภายในเครืออยู่ 21.7% เพียงเท่านี้ก็พอแล้วที่จะทำให้เขากลายเป็นมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ติดอันดับที่ 41 ของโลก และอยู่ในอันดับที่ 9 ของเอเชีย เขามี มูลค่าสินทรัพย์ สุทธิประมาณ 2.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
สุดท้ายนี้ผมขอทิ้งท้ายแง่คิดดีๆ ของคุณทาดาชิ ยานาอิ เอาไว้อยู่4 ข้อนะครับ
1 อย่าได้กลัวความล้มเหลว
UNIQLO นั้นเองก็เคยมีช่วงเวลาที่ล้มเหลวไม่เป็นท่า จนเกือบจะต้องล้มละลายเลยทีเดียว แต่ความล้มเหลวนั้นกลับทำให้คุณยานาอิ มีพยายามมากยิ่งขึ้น และมองความผิดพลาดจากความล้มเหลวที่เกิดขึ้นเป็นบทเรียน แล้วแปรเปลี่ยนเป็นความท้าทายที่จะต้องเอาชนะให้ได้
2 .หางานที่ใช่สำหรับตนเองด้วยการลองผิดลองถูก
คุณยานาอิได้มีโอกาส แนะนำคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งเรียนจบ หรือกำลังหาสิ่งที่ตนเองรักที่จะทำเอาไว้ว่า อย่าเพิ่งรีบด่วนตัดสินใจว่าตนเองเหมาะสมกับงานอะไร หรือชื่นชอบงานอะไรจนกว่าจะได้ลงมือทำดูอย่างถึงที่สุด
หลายคนอาจจะคิดว่าตัวเองชอบทำในสิ่งนั้นชอบทำในสิ่งนี้ แต่พอเอาเข้าจริงก็ไม่ได้ลงมือทำ เพราะฉะนั้นการทดลองลงมือทำ ลองผิดลองถูก จึงจะหาความชอบที่เหมาะสมกับตัวเองได้ดีที่สุด
3 รู้จักการปรับตัว ถ้าหากไม่ปรับก็เตรียมตัวตายได้เลย
คุณยานาอิ บอกว่า ไอบีเอ็มเคยเป็นบริษัทคอมพิวเตอร์ที่ยิ่งใหญ่ แต่ในปัจจุบันความยิ่งใหญ่ของไอบีเอ็มกลับถูกบดบังด้วยบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่ๆ มากมาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าถ้าคุณไม่รู้จักปรับตัว คุณอาจถูกทิ้งเอาไว้ให้โดดเดี่ยวได้ในที่สุด
4 สร้างคุณค่าให้กับลูกค้า
คุณยานาอิ เข้าตั้งใจเอาไว้ว่า แบรนด์เสื้อผ้าของ UNIQLO จะต้องไม่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้สินค้าที่ราคาถูก แต่ต้องสร้างคุณค่าและคุณภาพของสินค้าให้กับลูกค้าจากเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ดูดีมีคุณภาพ เพราะการที่ลูกค้าจะรู้จักแบรด์ของ ยูนิโคล่ ด้วยคำว่าของราคาถูกแต่เพียงอย่างเดียว ถือเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามากตามความคิดของเขา
เขาอยากให้ลูกค้าจดจำให้ได้ว่า เสื้อผ้าของยูนิโคล่นั้น เป็นสินค้าที่มีคุณภาพที่ดี เสียมากว่า
ถ้าคุณผู้ชมได้เคยมีโอกาสใช้เสื้อผ้าของยูนิโคล่ ชอบหรือไม่ชอบ ยังไงก็ลองพิมพ์บอกกันมาในคอมเมนกันนะครับ ผมก็อยากรู้เหมือนกันว่า เสื้อผ้าของยูนิโคล่นั้นใช้ได้ดีจริงๆ สมกับราคาหรือไม่
โฆษณา