28 ก.ค. 2020 เวลา 11:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เพราะพี่ “เข้ม” พี่เลยรอด!
ทีมสัตวศึกษาแห่งพิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน (Smithsonian's National Museum) ในวอชิงตัน ดีซี นำโดยKaren Osborn และ Sonke Johnsen
เก็บภาพติดวิญญาณ แอร๊ย .. ภาพเงาของสัตว์น้ำบางชนิด
ขณะลงพื้นที่เก็บข้อมูลทางทะเลเพื่อวิเคราะห์ และได้เผยแพร่ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจใน Journal Current Biology เมื่อกลางเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา
เงาที่ปรากฎ เป็นของปลาชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ก้นทะเลลึก
ที่ต่อมาระบุได้ว่าคือ ปลา Anoplogaster cornuta. ..
ปลาอะไรตัวด้ำา า า... ดำ 😅
พี่ “เข้ม” อย่างนี้ ฝรั่งเลยตั้งชื่อว่า ปลา “ultra-black fish” น่ะสิ
ความ “เข้ม” ของพี่เค้า มิใช่ความบังเอิญ😯
แต่เป็นวิวัตน์ของเม็ดสีที่มีการเรียงตัวอย่างเหมาะเจาะองศาและตำแหน่ง
ทำให้มีความสามารถยิ่งยวดในการดูดกลืน (absorp) แสงที่อยู่รอบตัวในระดับประสิทธิภาพขั้นสูงสุด 99.95%⚡
มีแสงเพียง 0.05% เท่านั้นที่เล็ดลอดสะท้อนกลับมาที่ตาเรา ที่ทำให้เรามองเห็นสีสันแบบเงา ๆ ของปลาชนิดนี้ได้เท่านั้น🐳
จริง ๆ นี่ไม่ใช่สปีชีส์ปลาชนิดใหม่ มีการเก็บภาพและจับมาศึกษาได้มามากกว่าสิบปีแล้ว ...
ช่างเป็นปลาที่หัวโต ฟันหรือเขี้ยวอะไรหนอ ..ช่างเต็มปากที่กว้างซะ จนดูเกินจำเป็นจริงๆ (เขาเลยเรียก Fangtooth fish อีกชื่อนึง)😆
พี่ “เข้ม” ..Ultra-black fish ของเราเค้าถือคติ ไม่ตามแฟชั่น😜
มิไยที่บรรดาหลานๆ แพลงตอนน้อยๆ จะชักชวน ไปทำ “พรายน้ำ” เท่ห์ๆ ตามคุ้งทะเลที่มีแอมโมเนีย ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส อุดมเพียงใด .. พี่แกก็ปฏิเสธท่าเดียว🙅
พี่เข้มเอาแต่ร้องเพลงพี่เบิร์ดว่า “อยากอยู่เงียบ ๆ คนเดียว” ชอบปลีกวิเวกในที่มืดและลึก
มากกว่าไปดังในทีวีอย่างที่พวกแพลงตอน Dinoflagellates อย่างพันธุ์ Noctiluca scintillans Gonyaulax sp. และ Pyrocystis sp. เขาทำกัน
พี่เข้มแกว่า นั่นเป็น “จริตร่าเริง” 😝ของแพลงตอนพวกนั้น ที่ชอบทำปฏิกิริยาเรืองแสง Bioluminescence
แถมยังสอนแพลงตอนรุ่นหลาน ๆ ให้เข้าใจธรรมชาติตัวเองอีกว่า
ที่พวกเอ็งทำไลฟ์โชว์พรายน้ำได้ มันไม่แปลกหรอก ในเมื่อตับไตไส้พุงเอ็ง เอ้ย.. ออร์แกเนลจิ๋ว ๆ (organelles) ที่เรียกว่า ซินทิลลอนส์ scintillons ของเอ็ง
1
มีโปรตีน “ซาตานลูซิเฟอร์” Lucifer protein ที่ชาวบ้านชาวเมืองเขาไม่มีกัน (ที่คล้าย ๆ กันบนบก ก็หิ่งห้อยวิบวับนั่นละ) กับมีเอนไซม์เร่งกระบวนการทางเคมี "Luciferase"
ทำให้เมื่อกินแอมโมเนีย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสเข้าไปแล้ว จะแปรสภาพได้ กลายเป็นแสงสว่างวับแวม..ฟ้าๆ เขียวๆ💎💎
ที่มนุษย์เขาว่าเป็นเรื่องอัศจรรย์แห่งธรรมชาตินั่นแหล่ะหลานเอ้ย ย ย .. (พี่เข้ม หัวเราะอย่างพอใจที่หลานๆแพลงตอนทำหน้าเหวอในภูมิรู้)😎
เอ.. ทำไมไม่รู้นะ เวลาใครพูดถึงทะเล... อินโทรเพลงนี้มันต้องขึ้นมาเรื่อย … ทะเลสีดำ เสียงหวานเบาหวิว แบบพรี่ลุลา ก็ลอยม๊า า า😚
ที่พี่เข้มแกอยู่รอดปลอดภัย ก็เพราะความที่แกดูดแสงเข้าตัวนี่มาก ๆ หล่ะ ทำให้ศัตรูก็ไม่เห็น คนก็จับตัวยาก (เลยยังคงความสงบสุขอยู่ได้นาน)🐠🐠
แต่เอ..คู่ ก็คงหายากด้วยมั้ยนะ เพราะมันมืดไปหมดเนี่ย - -"
หลักการเรื่องแสงนี่ .. ถ้าทบทวนสั้น ๆ ก็คือ วัตถุที่เราเห็นสีดำ ก็เพราะมันดูดกลืนทุกแสง ส่วนที่เราเห็นสีขาว ก็เพราะมันไม่ดูดกลืนสักกะแสง
ซึ่งหลักการเดียวกันนี้ ยังใช้กับระบบเก็บภาพของกล้องถ่ายรูป กล้องเทเลสโคป และอื่นๆ อีกด้วย
อันนี้ ถ้าพี่เข้มแกว่ายน้ำบนบก แกอาจจะขอแถมในส่วนของสีเขียวของคลอโรฟิวส์ใบไม้ด้วย
ใบไม้ที่คนเห็นสีเขียว ๆ มันดูดกลืนแสงสีม่วงน้ำเงิน และแสงสีแดง ก็เลยเหลือช่วงแสงสีเขียวที่ตาเราเห็น (Visible light) ได้เสพย์ความงามเขียว ๆ ของใบไม้... (อย่างนี้ สายเขียว🌱ต้องรู้นะจ้ะ)
ในโอกาสนี้ เราไปขอวุ้นแปลภาษาและใบพัดปักหัวจากโดเรมอนมา😜
เพื่อให้พี่เข้ม Ultra-black fish ได้มีโอกาส "สอนงาน" ให้แก่ยุงตัวน้อย ๆ
เพราะเพิ่งมีงานวิจัย ที่มนุษย์พยายามเข้าใจธรรมชาติ
เพื่อ โ ก ง 😆 แอร๊ย ยย ย เพื่อเอาชนะธรรมชาติ 😎 เรื่องยุง ๆ จอมยุ่ง ที่ทำให้คนและสัตว์ป่วยตาย จากสารพัดโรค
อย่าง ไข้เลือดออก ไข้เหลือง ซิก้า ชิคุนกุนย่า เท้าช้าง พยาธิหัวใจ (หมา)
เขาศึกษากันเพื่อให้รู้ลึก ๆ ก่อนจะตกผลึกได้ว่า ยุงลาย ยุงก้นปล่อง ชอบช่วงความยาวคลื่นแสงตอนกลางวันอย่างไร
ความยาวกลางวันกลางคืนแบบไหน ยุงสปีชีส์ไหนโปรดปรานแบบไหน...จะได้ "จัดการ"ยุงให้อยู่หมัดได้อี้กกก 😯
ซึ่งตรงนี้ พี่เข้ม ได้แต่ส่ายหัว … อยากแลกเปลี่ยนทัศนะกับพวกยุง ๆ ในฐานะที่เราเป็น “สายดำ” เหมือนกัน😗
พี่เข้มอยากบอกว่า
"ยุงเอ๋ย ถ้าเอ็งไม่สร้างความเดือดร้อนให้คน
คนก็มักจะไม่คิดหาวิธีกำจัดเอ็งอย่างเอิกเกริกแบบนี้หรอก
ถ้าเพียงเอ็งเก็บตัวดี ๆ ..เขาจะพยายามควานหาเอ็ง เพื่อเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ หรือทำสารคดีชีวิตเอ็งแทนเสียละมากกว่า..... 😄
แต่ก็ว่าเถอะ.. ดูอย่างพี่เข้มนี่สิ อยู่ตั้งระดับลึ้ก..ลึก.. ของทะเล คนยังไปตามถ่ายติดวิญญาณมาจนได้!😎
นกไดโนสคูล🐦
อ้างอิง
โฆษณา