29 ก.ค. 2020 เวลา 12:23 • ประวัติศาสตร์
• ทำไมคนไทยถึงเรียกรถโดยสารประจำทางว่า
"รถเมล์" ?
รถเมล์ไทย
ทุก ๆ คน เคยสงสัยกันหรือไม่ครับว่า ทำไมคนไทยถึงเรียกรถโดยสารประจำทางว่า "รถเมล์ ด้วย ดังนั้นในบทความนี้ เราจะมาไขข้อสงสัยนี้กันครับ
สำหรับที่มาของคำว่า "เมล์" (เม) ในรถเมล์นั้น สัณนิษฐานว่า มีที่มาจากคำว่า "เมล" (Mail) ที่แปลว่า พัสดุหรือไปรษณีย์ในภาษาอังกฤษ
ย้อนกลับไปในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในช่วงเวลานั้น การขนส่งพัสดุไปรษณีย์ไปยังสถานที่ต่าง ๆ นั้น จะขนส่งกันผ่านทางเรือ (เพราะในช่วงเวลานั้น คนไทยนิยมสัญจรไปมาทางแม่น้ำลำคลอง)
เรือโดยสารประจำทาง หรือเรือเมล์
ดังนั้นคนไทยจึงเรียกเรือที่ใช้ในการขนส่งพัสดุไปรษณีย์ว่า "เรือเมล์" (เรือเม) นั่นเอง
โดยสาเหตุที่ทำให้คนไทยเรียกคำว่า "เมล" เป็นคำว่า "เมล์" (เม) นั้น อาจจะเกิดจากการที่คนไทยในสมัยนั้น ไม่สามารถพูดคำว่า "เมล" ที่แปลว่าพัสดุในภาษาอังกฤษได้ ดังนั้นคนไทยเลยพูดด้วยเคยชิน จนผิดเพี้ยนกลายมาเป็นคำว่า "เมล์" แทน
ในเวลาต่อมา เรือเมล์ที่เดิมมีหนัาที่ในการขนส่งพัสดุไปรษณีย์ ก็ได้แปรเปลี่ยนเป็นเรือที่ใช้ในการโดยสารประจำทางแทน
และเมื่อมีรถโดยสารประจำทาง คนไทยก็เลยเรียกว่า "รถเมล์" ตามแบบที่คนไทยเคยเรียก "เรือเมล์" มาก่อน
ดังนั้นเราจึงสรุปได้ว่า คำว่า "เมล์" ในรถเมล์ มีที่มาจากคำว่า "เมล" (Mail) ที่แปลว่า พัสดุ ในภาษาอังกฤษนั่นเอง
#HistofunDeluxe
โฆษณา