30 ก.ค. 2020 เวลา 12:31 • สุขภาพ
ช่องโหว่โควิดในไทย
ที่จะทำให้ระบาดระลอก2
"ยังมีอะไรเป็นช่องโหว่อยู่ในประเทศไทยบ้าง ที่อาจจะทำให้เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกที่ 2ขึ้น"?????เป็นโจทย์คำถามที่"นอกวงข่าว"สงสัย
นั่นเพราะ เป็นเวลากว่า 60 วันแล้วนับตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค.2563 ที่ประเทศไทยมีรายงานการพบผู้ป่วยยืนยันติดโรคโควิด-19ในประเทศล่าสุด
หลังจากนั้นเป็นต้น การรายงานผู้ป่วยืนยันในแต่ละวันที่ส่วนใหญ่อยู่เพียงหลักหน่วย ล้วนเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศไทย ทั้งคนไทยและต่างชาติได้รับอนุญาตให้กลับเข้ามาในประเทศ ซึ่งทั้งหมดกักตัวอยู่ในสถานที่เฝ้าระวังที่รัฐจัดให้(State Quarantine) หรือสถานที่เฝ้าระวังใยพื้นที่(Local Quarantine)ทั้งสิ้น
เช่นนี้แล้วแปลว่าในเมืองไทย "ไม่มีผู้ติดเชื้อแล้วใช่หรือไม่" คำตอบคือ "ไม่ใช่"!!!!!!
แม้ว่าก่อนหน้านี้ประเทศไทยจะมีการดำเนินการตรวจเพื่อเฝ้าระวัง และค้นหาการติดโรคโควิด-19ในกลุ่มประชากรเสี่ยง หรือสถานที่เสี่ยง (Sentinel surveillance) ดำเนินการในทุกจังหวัดทั่วประเทศ พิจารณาจำนวนการตรวจในแต่ละจังหวัดตามความเสี่ยงของข้อมูลทางระบาดวิทยา
โดยประชากรกลุ่มเสี่ยง อาทิ บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ต้องขัง ผู้ต้องกัก คนขับหรือพนักงานประจำรถสาธารณะ พนักงานไปรษณีย์ พนักงานส่งของ กลุ่มแรงงานต่างด้าวในแคมป์ก่อสร้าง ที่อยู่ในหอพักเดียวกันจำนวนมาก
และกลุ่มอาชีพเสี่ยงอื่น เช่น แม่ค้า/พ่อค้าหรือพนักงานขายของในตลาด/ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น และสถานที่เสี่ยง ที่มีคนมารวมตัวกันจำนวนมาก อาทิ ชุมชนแออัด ศาสนสถาน สถานีขนส่งผู้โดยสาร และสถานีรถไฟฟ้า เป็นต้น
ใช้การเก็บตัวอย่างจากการขากเสลด และตรวจโดยการรวมกลุ่มตัวอย่าง(Pool Sample) ด้วยวิธีการตรวจหาสารพันธุกรรมRT PCR ที่เป็นการตรวจมาตรฐาน
ทั่วประเทศดำเนินการสุ่มตรวตจกลุ่มเป้าหมายกว่า 1 แสนคน ไม่พบผู้ติดเชื้อ!!!
แต่ก็ไม่อาจการันตีได้ว่าประเทศไทยปลอดเชื้อ ยังสุ่มเสี่ยงจะเกิดระบาดได้ตลอดเวลา
อย่างในต่างประเทศ ที่เมืองปักกิ่ง ประเทศจีนหลังจากที่ไม่พบผู้ป่วยในประเทศเป็นเวลาค่อนข้างยาวนานก็กลับมาพบผู้ป่วยอีกครั้ง สถานการณ์ยังไม่ถึงกับรุนแรงเหมือนกับช่วงต้นที่มีการระบาด แต่จำนวนผู้ป่วยเริ่มมากขึ้นกว่าในช่วงที่ผ่านมา
เมืองดานัง ประเทศเวียดนาม หลังไม่พบผู้ป่วยมาเกือบ 100 วันหรือ 3 เดือน ก็กลับมาเจออีก โดยมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นค่อนข้างเร็วแต่ยังอยู่ในหลักสิบทำให้ทางการเวียดนามจำเป็นต้องออกมาตรการต่างๆ ทั้งมาตรการทางสังคมและมาตรการให้ผู้เดินทางที่มาท่องเที่ยวเมืองดานังเดินทางกลับออกจากเมืองดานังและขอให้คนที่กลับไปถึงภูมิลำเนาให้กับการตัวเองเพื่อสังเกตอาการ 14 วันว่ามีอาการไข้หรือว่าติดเชื้อโรคโควิดกลับไปหรือไม่
ตอนนี้ทางการเวียดนามพยายามสูงมากในการติดตามการกลับมาพบผู้ป่วยอีกครั้งนั้น เกิดจากอะไร เมื่อไหร่ที่สามารถยืนยันสาเหตุชัดเจนว่าเกิดจากอะไรก็จะทำให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้และวางแผนรับมือกับโอกาสที่ประเทศไทยจะมีโอกาสพบผู้ป่วยใหม่ขึ้นมาในประเทศอีกครั้ง
เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นที่ประเทศจีน เวียดนามหรือว่าที่ฮ่องกง ออสเตรเลียก็กลับมาบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคที่เข้มข้นอีกครั้ง
จากตัวอย่างที่เห็นในต่างประเทศนั้น ประเทศไทยก็มีโอกาสจะกลับมาพบผู้ป่วยและเกิดการแพร่ระบาดในประเทศ
สำหรับประเด็นคำถามข้างต้นของผู้เขียนว่า "แล้วประเทศไทยหล่ะยังมีช่องโหว่ไหนที่จะเกิดขึ้นได้บ้าง???"
"นอกวงข่าว"นำข้อสงสัยนี้ ไปสอบถามผ่านมุมมองเชิงวิชาการจาก นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แพทย์เฉพาะทางระบาดวิทยา ได้รับคำตอบว่า
มีการประเมินถึงอย่างน้อย 3 เหตุการณ์ ได้แก่ 1.ยังมีผู้ป่วยเหลืออยู่ในประเทศ อย่างประเทศจีนก็คิดว่าเกิดขึ้นจากที่มีผู้ป่วยหลังเหลือในประเทศ ซึ่งประเทศไทยก็มีความเป็นไปได้
2.คนเดินทางมาจากต่างประเทศ แม้จะมีระบบเฝ้าระวังในสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ แต่ก็อาจจะมีโอกาสหลุดไม่มาก
และ3.ผู้ที่ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย ซึ่งน่ากลัวมาก แม้ว่าเจ้าหน้าที่รัฐพยายามเต็มที่จะเข้มงวด แต่ก็ไม่สามารถจัดการได้ 100 % โดยเฉพาะการเข้ามาทางด่านธรรมชาติต่างๆ
ยิ่งในการผ่อนปรนในระยะ 6 ที่จะให้ต่างชาติ 4 กลุ่มเข้าประเทศ หนึ่งในนั้น คือ "แรงงานต่างด้าว"
แม้ทุกคนเมื่อผ่านแดนแล้วจะต้องเข้ากักตัวเป็นเวลา 14 วันทันที ในสถานที่ที่สถานประกอบการผู้นำแรงงานเข้ามาเป็นผู้ดำเนินการ โดยจะต้องจัดไว้ในพื้นที่ที่ตั้งด่านที่แรงงานเดินทางเข้ามา เช่น ด่านแม่สอด ก็จะต้องตงจัดสถานที่ไว้ที่แม่สอด
ห้าม!!! การเคลื่อนย้ายแรงงานออกนอกพื้นทีก่อนครบ 14 วัน
ทั้งหมดนี้ ดำเนินการโดยผู้ประกอบการ จะเชื่อมั่นได้อย่างไรว่า ขบวนการกักตีวจะเข้มงวดเพียงพอ????
นพ.ธนรักษ์ เชื่อมั่นว่า ผู้ประกอบการณ์ที่นำแรงงานต่างด้าวเข้ามาเข้าใจสถานการณ์ของโรค คงจะไม่มีบริษัทไหนต้องการที่จะได้ชื่อว่าเป็นคนเอาเชื้อเข้ามาในประเทศ หรือพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของด่านบกต่างๆ ก็คงไม่ต้องการให้เกิดโรคแพร่ระบาดขึ้นในพื้นที่ นอกจากนี้ แต่ละพื้นที่เองก็จะต้องเตรียมพร้อมกรณีหากมีการแพร่ระบาดในพื้นที่ขึ้นด้วย
ส่วนความเสี่ยงในประเทศที่จะมีแรงงานเดินทางเข้ามา โดยเฉพาะ 3 สัญชาติ คือ เมียนมา ลาว และกัมพูชา เป็นสิ่งที่ประเมินยากเพราะไม่ทราบสถานการณ์โรคที่แท้จริงภายในประเทศนั้นๆ
สิ่งที่คนไทยจะสามารถช่วยกันลดการระบาดได้ ด้วยการปฏิบัติตาม "มาตรการหลัก"อย่างเข้มข้น
หลีกเลี่ยงการออกจากบ้านออกเมื่อจำเป็น เลี่ยงสถานที่แออัด หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้อื่นและที่สำคัญคือหลีกเลี่ยง ถ้าจำเป็นต้องไปให้สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าทุกครั้ง ซึ่งการอยู่ร่วมกันเป็นเวลานานถ้าไม่สวมหน้ากากผ้าคือความเสี่ยงสำคัญ
การลดโอกาสสัมผัสโรค คืออย่าไปอยู่รวมกันอย่าอยู่ใกล้ชิด อย่าอยู่ในสถานที่อากาศระบายไม่ดี ที่สำคัญคือการสวมหน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัยตลอดเวลา การล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำหรือสบู่หากไม่สามารถหาได้ ก็ล้างด้วยเจลแอลกอฮอล์ และใช้ช้อนกลางส่วนตัว
โฆษณา