31 ก.ค. 2020 เวลา 15:11 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ECONOMY : COVID-19 ได้ทำให้เศรษฐกิจของยุโรปเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างรุนแรง (Deep Recession) เรียบร้อยแล้ว
Bloomberg ได้รายงานตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดภายในสหภาพยุโรป ซึ่งระบุว่าประเทศในเขตนั้นได้เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง (Deep Recession) เรียบร้อยแล้วในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้
แม้ว่าตัวชี้วัดต่าง ๆ กำลังแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวอยู่ แต่การหดตัว 12.1% โดยเฉลี่ยใน 19 ประเทศสมาชิกได้เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับการลุกลามครั้งใหม่ของโรคระบาดซึ่งอาจทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นไปอย่างเชื่องช้า และจะสร้างบาดแผลถาวรไว้ให้กับภาคธุรกิจในภายหลังจากนั้น
สเปนได้รับผลกระทบอย่างหนักที่สุดในสหภาพยุโรป โดย GDP หดตัวถึง 18.5% ขณะที่ฝรั่งเคสและอิตาลีตามหลังมาเป็นอันดับ 2 และ 3 ซึ่งโดยรวมแล้วประเทศที่มีขนาดใหญ่เศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในสหภาพยุโรปล้วนมีการหดตัวของ GDP เป็นตัวเลข 2 หลักทั้งสิ้น
วิกฤตสุขภาพครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบรุนแรงที่สุดในบรรดาประเทศสมาชิกที่มีความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจน้อยที่สุดของภูมิภาค ซึ่งพวกเขาเป็นประเทศที่มีทางเลือกเพียงน้อยนิดในการสนับสนุนภาคธุรกิจและครัวเรือนในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสเกิดขึ้น
นั่นทำให้ประเทศผู้นำของสหภาพยุโรปต้องเอาชนะความแตกต่างทางจุดยืนที่มีมาอย่างยาวนานของพวกเขา โดยการร่วมมือกันปล่อยเงินกู้ยืม และอนุมัติมาตรการช่วยทางการเงินครั้งประวัติศาสตร์กว่า 8.89 แสนล้านดอลลาร์
รัฐบาลแห่งสหภาพยุโรป ได้ขยายงบประมาณช่วยเหลือของพวกเขาเพื่อรับมือกับวิกฤต ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้เปิดตัวโครงการซื้อพันธบัตรฉุกเฉินเป็นมูลค่าสูงถึง 1.6 ล้านล้านดอลลาร์เพื่อป้องกันการพังทลายลงของเศรษฐกิจ
Erik Nielsen หัวหน้านักเศรษฐกิจของ UniCredit Group กลุ่มบริษัทชั้นนำทางด้านการเงินของยุโรปกล่าวว่า
"ฉันไม่คิดว่าจะมีใครที่เชื่อจริง ๆ ว่าระดับของ GDP ในปี 2021 จะฟื้นตัวกลับมาอยู่ระดับเดียวกับในช่วงก่อนเกิดการระบาดได้ แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามออกมาตรการช่วยเหลือทางด้านการเงินและการคลังอย่างสุดความสามารถก็ตาม"
การกระทำของ ECB มีเป้าหมายหลักเพื่อพยุงเศรษฐกิจในทางตอนใต้ของยุโรปหลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอิตาหลีพุ่งสูงขึ้นในช่วงเริ่มแรกของวิกฤตเนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าการใช้จ่ายอย่างมหาศาลของรัฐบาลในด้านสุขภาพจะทำลายเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีความอ่อนแอทางด้านการเงินอยู่ก่อนแล้ว
แม้ว่าเศรษฐกิจของอิตาลีจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าประเทศสเปนและฝรั่งเคส แต่ก็ยังถือว่าอิตาลีนั้นอยู่ในสถานะที่อ่อนแอเป็นพิเศษเนื่องจากภาระทางด้านหนี้สินและการเติบโตที่ซบเซาในระยะยาวที่ผ่านมา
สรุปโดยภาพรวมก็คือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในยุโรปกำลังอยู่ภายใต้ความเสี่ยงที่จะหยุดชะงักหรือแม้แต่ทรุดตัวลงอีกครั้ง เนื่องจากการพุ่งขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั่วโลก ซึ่งทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องใช้มาตรการควบคุมที่เข้มงวดอีกครั้ง แม้ว่าพวกเขาจะไม่ต้องการและไม่เต็มใจที่จะทำอย่างนั้นก็ตาม
อิตาลี สเปน และกรีก ล้วนได้รับผลกระทบจากภาคการท่องเที่ยวที่ทรุดตัวลงอย่างหนัก โดยเฉพาะสเปน ซึ่งมีการรายงานผลด้านการท่องเที่ยวเลวร้ายมาก่อนแล้วในช่วงซัมเมอร์ และได้กลายเป็นในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่เลวร้ายที่สุด หลังจากอังกฤษประกาศว่านักท่องเที่ยวที่เดินทางกลับมาจากประเทศสเปนจะต้องถูกกักตัว เพราะมีผู้ป่วยติดเชื้อ coronavirus ในบางภูมิภาค
Jamie Rush หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ในสหภาพยุโรปของ Bloomberg กล่าวว่า
"คำถามสำคัญก็คือ การฟื้นตัวจะใช้ระยะเวลานานแค่ไหน เนื่องจากตัวชี้วัดที่มีความถี่สูงของพวกเรากำลังบ่งบอกว่านการฟื้นตัวต่าง ๆ ในช่วงก่อนหน้านี้ได้กำลังชะลอตัวลง และเราคิดว่าผลกระทบจากมาตรการ Social Distancing รวมถึงความกังวลทางด้านการใช้จ่าย และ Demand จากภายนอกที่ลดลงจะเป็นตัวกำจัดความสามารถให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับต่ำตลอดช่วงครึ่งหลังของปีนี้"
นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงหลัก ๆ อีกอย่างหนึ่งก็คือความเสียหายในระยะยาวของตลาดแรงงาน เนื่องจากมาตรการสนับสนุนของรัฐบาลทั้งในยุโรปและสหรัฐฯ นั้นได้ป้องกันไม่ให้ผู้คนอีกหลายล้านคนต้องตกงาน แต่มาตรการเหล่านี้ก็ทำได้แค่ยืดระยะเวลาออกไปเท่านั้น ไม่ได้เป็นการป้องกันการตกงานในอนาคตได้อย่างแท้จริง
ขณะที่ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ในความไม่แน่นอน นักวิเคราะห์บางคนก็คาดหวังว่า ECB จะเพิ่มระดับการซื้อพันธบัตรของพวกเขาอีกครั้งก่อนจะสิ้นปีนี้เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวและทำให้อัตราเงินเฟ้อเข้าสู่ระดับเป้าหมายของพวกเขาที่ 2%
ข้อมูลจาก Bloomberg เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาระบุว่าราคาผู้บริโภคภายในสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนกรกฏาคมนี้ ขณะที่อัตราการว่างงานดูเหมือนจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นทีละน้อย เนื่องจากบริษัทต่าง ๆ ได้ปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อ Demand ที่อ่อนแอ และการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากของฉากหลังทางเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะปัจจัยพื้นฐานของธุรกิจด้านการท่องเที่ยว
สายการบินต่าง ๆ หลายแห่งได้ประกาศปรับลดพนักงานลงหลายพันตำแหน่ง โดย Airbus SE สายการบินชั้นนำของฝรั่งเศสอาจจะปรับลดการจ่ายเงินเดือนทั้งหมดภายในบริษัทลง 11% และยังประกาศถึงแผนการลดจำนวนพนักงานในประเทศสเปน ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราว่างงานสูงอยู่ก่อนแล้ว และยังได้จุดชนวนให้เกิดการประท้วงขึ้น
เยอรมนี ซึ่งประกาศออกมาเมื่อวานว่าเศรษฐกิจหดตัว 10% ในไตรมาสที่ 2 ก็ได้ส่งสัญญาณเตือนที่ชัดเจนถึงความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะซบเซาในระยะยาว
การกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม และการติชมในเชิงสร้างสรรค์ของคุณ เป็นกำลังใจให้เราและเหล่าอาชีพนักเขียนทุกคนในการพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ขอเชิญทุกท่านร่วมสร้างสังคมการเรียนรู้ที่ดีด้วยกันกับเรา
World Maker
สามารถติดตาม World Maker ผ่านทาง Facebook ได้แล้ววันนี้ที่
อยากลงทุน อยากมีเงินเก็บอย่างจริงจัง แต่ไม่มีพื้นฐาน World Maker มีคอร์สเรียนดี ๆ มาแนะนำให้ครับ รายละเอียดคลิกเลย
โฆษณา