4 ส.ค. 2020 เวลา 02:37 • สุขภาพ
คำถามที่น่าสงสัย ประเทศไทย ไม่มีโควิด-19 เพราะไม่มีหรือไม่ได้ตรวจ ???!!
1
ขอบคุณภาพจากthailandmedical.news
ในการติดเชื้อไวรัสใดๆก็ตาม ร่างกายจะพยายามสร้างภูมิขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัสในร่างกาย สิ่งนั้นทางการแพทย์เรียกว่าภูมิต้านทาน หรือ แอนติบอร์ดี้ (antibody) เพื่อให้ร่างกายทนต่อโรค และอวัยวะต่างๆไม่ถูกเชื้อโรคทำลาย
อีกนัยหนึ่งคือ ถ้าตรวจพบว่าคนๆนั้นมีแอนติบอร์ดี้ แสดงว่า เคยติด​เชื้อมาแล้ว หรือไม่ก็อาจได้รับวัคซีนมาก่อน ร่างกายจึงเริ่มมีการสร้างภูมิต้านทานขึ้นมา
1
มีการศึกษาแปลวิจัย​จากต่างประเทศมากมาย ว่าพบผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ในสหราชอาณาจักร​ UK​ พบว่าบุคลากรทางการแพทย์ใน​ รพ.​ มีแอนติบอร์ดี้ต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ถึง​ 28%
หรือมหานครนิวยอร์กพบว่าประชาชนมีแอนติบอร์ดี้แล้ว 21.2% ทั้งที่คนเหล่านั้น ไม่เคยป่วยเป็นโควิด-19 หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย
5
แสดงว่าคนเหล่านั้นเคยสัมผัสเชื้อมาก่อน ร่างกายจึงเริ่มสร้างแอนติบอร์ดี้ ....
1
ในประเทศไทยมีทีมแพทย์จาก​ รพ.​ จุฬา​ลงกรณ์และร่วมกับทีมแพทย์ จากรพ.​ ระนอง​ ที่ได้มีการทดสอบหาแอนติบอร์ดี้ต่อเชื้อ covid 19 บุคลากรทุกคนใน​ รพ.​ ระนองทั้งแพทย์ พยาบาล​ บุคลากรทางการแพทย์​ และด้านอื่นๆ ซึ่งได้รับความร่วมมือ​ เข้าร่วมโครงการวิจัย​ครบ 100% ตามเป้า
1
ขอบคุณภาพจากbangkokpost
จาก​ การสุ่มตัวอย่าง 844 คน​ ตรวจเจอ​ IgM​ 7​ คน​ (0.8%) ซึ่งทุกคนเป็นกลุ่มที่ไม่เคยตรวจหาเชื้อด้วย​ PCR​ เพราะเกือบทั้งหมดไม่มีอาการ​ (6 จาก​ 7​ คน)
ผลการทดสอบนี้หมายความว่าอย่างไร ???
1. บุคลากรทั้ง 7 ท่านนี้อาจเคยสัมผัสหรือเคยติดเชื้อ covid-19 มาก่อน แต่พวกเขาเหล่านั้น ไม่มีอาการแสดง
2. การทดสอบนั้นมีความผิดพลาด อุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบมีผลบวกลวง (false positive) หมายความว่า บุคลากรทางการแพทย์ทั้ง 7 ท่าน ต่างไม่ได้มีภูมิต้านทานหรือมีแอนติบอร์ดี้อยู่จริงแต่ผลการทดสอบกลับให้ผลบวก
ในขณะที่ทำการวิจัย พื้นที่จังหวัดระนองมีตัวเลขผู้ติดเชื้อ 0 คน คือไม่มีการระบาดในจังหวัด แล้วเหตุใดจึงพบว่าบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล ถึงมีภูมิต้านทาน ทั้งๆที่พวกเขาเหล่านั้นไม่มีใครเดินทางไปยังจังหวัดอื่นๆ
ตัวเลขเหล่านี้น่าสนใจมาก หากในพื้นที่เคยมีผู้ติดเชื้อจริงๆ แสดงว่ามาตรการในการค้นหาผู้ป่วยที่ผ่านมายังจุดอ่อน ไม่สามารถคัดกรองผู้ป่วยให้เจอ
ขอบคุณภาพจากbangkokpost
เคยมีการศึกษาความแม่นยำของการตรวจ antibody พบว่าบางการศึกษาวิจัยอาจให้ ผลบวกลวง (false positive) ได้ประมาณ 2%
2
ได้แต่ภาวนาว่าตัวเลขนี้ผิดพลาดเพราะชุดการตรวจ (test kit) ไม่มีความแม่นยำ (ตรงนี้ต้องขออภัยผู้พัฒนาชุดตรวจด้วยนะครับ) จึงเกิดผลบวกลวงขึ้น
2
เพราะฉะนั้นพวกเราก็ต้องไม่ประมาท การ์ดอย่าตก
กินร้อน ช้อนเรา ล้างมือ สวมใส่หน้ากากอนามัย ไว้ระยะห่างทางสังคมเหมือนเดิม
1
ที่มา : Seroprevalence of Hospital Staff in Province with Zero COVID-19 cases
รักและปรารถนาดีจาก เรื่องเล่าเม้าท์ไปเรื่อย.....
โฆษณา