3 ส.ค. 2020 เวลา 10:06 • ธุรกิจ
“Made in space” กับโปรเจ็ค 1000 ล้าน
ช่วย NASA สร้างชิ้นส่วนดาวเทียมบนอวกาศ
เรื่องราวเกี่ยวกับอวกาศมักเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น การแข่งขันพัฒนาในแต่ละยุคก็น่าติดตาม ไม่ว่าจะเป็นช่วงสงครามเย็นของอเมริกากับโซเวียต หรือว่าจะเป็นการต่อสู่ในปัจจุบันของ SpaceX และ Blue Origin
แต่วันนี่จะพาไปเที่ยวดูกิจการเกี่ยวกับอวกาศที่ฉีกแนวทางการแข่งขันจากคนอื่น “made in space” บริษัทที่ับจ้างผลิตชิ้นส่วยอุปกรณ์สำหรับใช้งานในอวกาศ บนอวกาศ น่าสนใจไหมละครับ ตาม innowayถีบ ไปดูพร้อมๆกัน
1) ทำความรู้จักกับ Made in Space (MIS)
Made In Space, Inc. (MIS) ก่อตั้งในปี 2010 โดยมุ่งหวังจะเป็นผู้นำในการผลิตสินค้าบนอวกาศ เพื่อสนับสนุนโครงการสำรวจต่างๆที่อยู่นอกโลกของเรา
โดย MIS ได้พัฒนาอุปกรณ์เครื่องพิมพ์แบบ 3 มิติ และวัสดุที่สามารถใช้ในการพิมพ์ในสภาวะที่ไม่เหมือนกับโลก
ผลิตภัณฑ์ตัวเเรกของบริษัทคือ AMF ได้ถูกนำไปติดตั้งยังสถานีอวกาศ ISS ตั้งแต่ปี 2016 ซึ่งสามารถทำการผลิตชิ้นส่วนเพื่อใช้ในการซ่อมบำรุงและอื่นๆมากกว่า 200 ชิ้น และยังเป็นส่วนในการสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาเป็นโรงงานบนอวกาศในอนาคตนั้นเอง
2) การผลิตบนอวกาศยากยังไง??
การพิมพ์ 3 มิติในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง เป็นเรื่องที่นักวิจัยต้องช่วยในการหาวัสดุที่สามารถบริหารจัดการได้ง่าย เพราะฉะนั้นระบบที่ใช้การพิมพ์จากวัสดุที่เป็นผงหรือของเหลวจึงไม่เหมาะนั้นเอง
MIS ใช้การพิมพ์โดยใช้เส้นใย (filament) ซึ่งนอกจะจัดการได้สะดวก ยังสามารถช่วยให้วัสดุติดกันได้ง่ายขึ้นอีกด้วย โดยนั้นเป็นเพียงแค่ปัญหาเบื้องต้น สิ่งของที่ใช้ในอวกาศจำเป็นที่จะต้องมีความคงทน ไม่แตกหักง่าย เพราะอาจจะหมายถึงปัญหาใหญ่แก่นักบินอวกาศก็เป็นได้ ด้วยเหตุนี้การพิมพ์ 3 มิติ จึงต้องมีการใช้การคำนวณที่แม่นยำมากร่วมด้วย
ภาพการทดสอบเครื่องพิมพ์ 3 มิติในสภาวะไร้น้ำหนัก cr: vice.com
3) การก่อสร้างแนวคิดใหม่ดีต่อใจได้อย่างไร?
ประหยัดพื้นที่ครับ ถึงแม้ว่าอวกาศจะดูกว้างใหญ่ไร้ขอบเขต แต่การจะส่งของชิ้นใหญ่ขึ้นไปบนอวกาศนั้น ยิ่งใช้พื้นที่ขนของเยอะ ก็ส่งผลต่อน้ำหนัก และแน่นอนทำให้ค่าเชื้อเพลิงในการขนส่งเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
การส่งเป็นวัตถุดิบขึ้นไปทำให้สามารถบริหารจัดการได้ง่ายกว่า
นอกจากนั้นยังช่วยให้การดีไซน์อุปกรณ์ที่จะต้องส่งออกไปไม่ต้องออกแบบให้ทนต่อแรงดึงดูดในขณะที่ปล่อยยานอีกด้วย ซึ่งส่งผลต่อการลดวัสดุบ้างส่วนที่เคยต้องใช้เพื่อให้ทนทานในขณะที่ปล่อยจรวดไปได้อีก
....
โดยโปรเจ็ค 1000 ล้านของ MIS ก็คือการผลิตแผงโซลาขนาดความยาว 10 เมตร ในอวกาศซึ่งจะทำให้สามารถสร้างพลังงานให้กับสถานีอวกาศได้มากกว่าแผงโซลาที่ติดตั้งไปจากโลกถึง 5 เท่า
โดยในขั้นตอนปัจจุบันทาง MIS เตรียมที่จะนำส่งแขนกลที่จะใช้ในการประกอบโมดูลของแผงโซลาเข้าด้วยกัน ซึ่งจะติดตั้งสำเร็จในปี 2022
ภาพจำลองแผงโซลาที่จะผลิตโดย Made in Space
4) ไปไกลกว่าแค่ผลิต Made in Space กับระบบรีไซเคิลพลาสติกในอวกาศ
Made in Space ยังจับมือกับ Brakem (บริษัทปิโตรเคมียักษ์ใหญ่ในบราซิล ซึ่งมีแนวคิดอุตสาหกรรมพลาสติกแบบยั่งยืน โดยมีการพัฒนาพลาสติกจากเอททานอล ใช้วัตถุดิบจากอ้อย ก็บ้านเค้าอ้อยเยอะมากอะเนอะ) ทำการรีไซเคิลพลาสติกที่ใช้ในอวกาศกลับมาเป็นวัตถุดิบในการพิมพ์ 3 มิติได้อีก
อีกไม่นานความฝันในการสร้างถิ่นฐานที่ดาวดวงอื่นนอกโลกอาจจะใกล้เข้ามาแล้วก็ได้ นอกจากเราเริ่มมียานที่ขนส่งของได้ถูกลง เราก็เริ่มมีความสามารถในการผลิตสิ่งของต่างๆได้เองบนอวกาศ ไม่ต้องรอให้ลงไปจากโลกแล้ว
Innovation ต่างๆ กำลังพาพวกเราไปเห็นในสิ่งที่น่าตื่นเต้นใกล้มากขึ้นทุกทีๆ
3D printers on the final frontier: Made In Space is building satellites that build themselves, techcrunch.com, 2 Sep2019
Made In Space Wins Contract to Build Solar Arrays During A Spaceflight, forbes.com, 15 Jun 2019
3D Printing in Space Is Really Hard, vice.com, 27 Apr 2015
โฆษณา