2 ส.ค. 2020 เวลา 02:48 • ความคิดเห็น
อัยการ มิใช่ ศาลสถิตย์ยุติธรรม ⚖
(ต่อ จาก....) ต่อหรือเปล่า..งงเหมือนกัน😄
ผู้พิพากษา และอัยการ ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่สำคัญของฝ่ายรัฐในระบบยุติธรรมด้วยกัน
1
ผู้พิพากษา มีหน้าที่หลักคือ นั่งอยู่บนบัลลังก์ศาล และเป็นผู้ควบคุมการดำเนินคดีในชั้นศาลให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย และมีอำนาจในการตัดสินพิพากษาคดี และเป็นผู้รับคำฟ้องร้องจากอัยการหรือทนายฝ่ายโจทก์ในการฟ้องร้อง รวมถึงกำหนดวงเงินในการประกันตัวสำหรับจำเลยหรือผู้ต้องหาด้วย
ผู้พิพากษาที่จะต้องตัดสินคดีและกำหนดบทลงโทษ ต้องพิจารณาจากหลักฐานที่ปรากฏในรูปคดีเท่านั้น
อัยการ คือเจ้าพนักงานของรัฐ เป็นทนายของรัฐที่มีหน้าที่รวบรวมหลักฐาน สำนวนคดีจากเจ้าพนักงานสอบสวนหรือตำรวจ แล้วรับมาดำเนินการต่อว่า จะฟ้องไปชั้นศาลหรือไม่ ถ้าสั่งฟ้อง อัยการก็จะเป็นทนายฝ่ายโจทก์ในการดำเนินคดีฟ้องเอาผิดจำเลยหรือผู้ต้องหาในคดีนั้นๆ ส่วนจำเลยก็จะต้องจ้างทนายมาสู้คดี หรือถ้าไม่มีเงินจ้าง ทางรัฐก็จะหาทนายมาว่าความให้ต่อไป
1
ดังนั้น อัยการจึงมิใช่ศาล มีอำนาจ หน้าที่ และภารกิจ ที่แตกต่างกัน 🤔😉
อัยการจึงมีอำนาจหน้าที่เป็นทนายของแผ่นดิน เป็นทนายฝ่ายรัฐ เพื่อคุ้มครองสังคมให้มีความสงบปลอดภัย และอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนมากที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้ ส่วนการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาล... (เข้าใจไหม😊⚖)
เมื่อ อัยการเป็นทนายของแผ่นดิน ที่มีทุกประเทศทั่วโลก จึงเป็นองค์กรที่สำคัญ และได้รับการคุ้มครองในความอิสระไม่ให้มีการแทรกแซงใดๆ ตามแนวทางที่องค์กรสหประชาชาติได้มีกำหนดไว้ ว่า "รัฐพึงดำเนินการให้เป็นที่มั่นใจได้ว่าอัยการสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทแห่งวิชาชีพโดยปลอดจากการถูกข่มขู่ คุมคาม หรือแทรกแซงที่ไม่สมควร และปลอดจากความรับผิดทางแพ่ง อาญา หรือความรับผิดอื่นๆ ที่ไม่ชอบธรรม.."
ดังนั้น รัฐธรรมนูญไทยจึงมีกำหนดไว้ให้องค์กรอัยการเป็นการเฉพาะ “องค์กรอัยการมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
เมื่อมีอำนาจ มีการทำงานที่เป็นอิสระ อัยการจึงต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเที่ยงธรรม อำนวยความยุติธรรมต่อประชาชนและร่วมสร้างสังคมใหมีความสงบปลอดภัย
การสั่งคดีหรือปฏิบัติหน้าที่โดยเที่ยงธรรมของอัยการ ก็คือ ต้องเป็นไปโดยถูกต้องตามพยานหลักฐานและตามกฎหมาย ดำรงในความยุติธรรมโดยปราศจากอคติ ไม่เอนเอียงหรือหวั่นไหวต่ออำนาจอิทธิพลหรือการกดดันใดๆ
การสั่งคดีของอัยการ ต้องเป็นไปตาม อำนาจ หน้าที่ ตามพยานหลักฐาน ทั้งที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายประกอบการพิจารณาเพื่อสั่งคดีอย่างสมบูรณ์
1
💝การพิจารณาสั่งคดีในชั้นอัยการแตกต่างจากศาลคือไม่ใช้หลักการยกประโยชน์ข้อสงสัยให้แก่ผู้ต้องหา  แต่หากยังมีข้อสงสัยว่าผู้ต้องหาอาจจะกระทำผิดและมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิสูจน์ความผิดในศาลได้ อัยการจะใช้หลักยกประโยชน์ข้อสงสัยให้แก่รัฐคือ ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลเพื่อพิสูจน์ความผิดต่อไป💣💥
อย่างไรก็ดี การสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องคดีของอัยการนั้น ยังมิใช่ขั้นตอนการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกกล่าวหา แต่เป็นเพียงขั้นตอนวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานน่าเชื่อหรือไม่ว่าผู้ต้องหากระทำผิด และมีพยานหลักฐานเพียงพอพิสูจน์ความผิดในศาลหรือไม่เท่านั้น ส่วนผู้ต้องหาจะกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ขึ้นอยู่กับคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาล
เมื่อมีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้องให้ออกคำสั่งไม่ฟ้องกฎหมายมิได้บัญญัติว่าเมื่อเห็นว่าผิดหรือไม่ผิด” แต่อย่างใด ซึ่งต่างกับการพิพากษาของศาลที่เป็นการวินิจฉัยความผิดของผู้ถูกกล่าวหาแล้ว
(จะฟ้องซ้ำในคดีที่พิพากษาแล้วมิได้)😊😉
การมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องผู้ต้องหาของอัยการ จึงไม่มีผลเสร็จเด็ดขาดเหมือนคำพิพากษาของศาล การที่อัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องไม่มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเหมือนคำพิพากษาศาล หากในโอกาสต่อไปนี้มีพยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดีก็อาจมีการรื้อฟื้นสอบสวนและฟ้องกันใหม่ได้ภายในอายุความ ตามบทบัญญัติของมาตรา 147
บทบาทหน้าที่ ภารกิจ ของ สำนักอัยการ แห่งประเทศไทย 😆
มีตำแหน่งอัยการสูงสุดเป็นหัวหน้าหน่วยงาน มีหน้าที่เป็นทนายของแผ่นดิน หรือนักกฎหมายให้แก่รัฐ เป็นผู้ที่รับหน้าที่ดำเนินคดีอาญาในนามของรัฐ และสามารถมอบอำนาจหน้าที่ให้แก่พนักงานอัยการผู้ใต้บังคับบัญชาได้ โดยการใช้อำนาจกิ่งตุลาการ ดังนั้นสำนักอัยการสูงสุด จึงมีฐานะเป็นองค์กรอิสระตามรัฐตามรัฐธรรมนูญรับพิจารณาสั่งคดีขึ้นสู่ศาลและว่าความ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนและรัฐตามหลักนิติรัฐ
2
เนื่องจาก อัยการเป็นองค์กรอิสระ และมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการอำนวยความเป็นธรรมให้กับสังคม ดังนั้น จึงมีรายละเอียด ข้อกฎหมาย และกำหนดภารกิจไว้ อย่างละเอียด ซึ่งสามารถสืบค้น หาดูได้ใน ภารกิจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด 😉😊 ลงไว้ละเอียด และดูขยายความได้เห็นอำนาจขอบเขตหน้าที่ ของอัยการได้ชัดเจน
1
เวป สำนักงานอัยการสูงสุด
อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสุงสุดตามกฎหมาย มีดังนี้
1. อำนวยความยุติธรรม
พนักงานอัยการจะพิจารณารวบรวมข้อมูลอรรถคดี และวินิจฉัยสั่งคดีทั้งปวง ดำเนินคดีอาญาทางศาล และดำเนินอรรถคดี ตามอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ ในฐานะทนายแผ่นดิน ดังนี้
1.1 ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และตามกฎหมายอื่น ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจ และหน้าที่ของพนักงานอัยการ (พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(1)) เช่น
(1) ฟ้องคดีอาญาต่อศาลชั้นต้น (ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28) ตลอดจนฟ้องอุทธรณ์ ฟ้องฎีกา และแก้ฟ้องอุทธรณ์ แก้ฟ้องฎีกาด้วย (ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193, 200, 216)
(2) ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ในระยะใดก่อนคดีเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญา ที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว ซึ่งผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้ว (ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 31)
(3) ร้องต่อศาลให้สั่งผู้เสียหายกระทำ หรือละเว้นกระทำการ ที่ผู้เสียหายจะกระทำให้คดีของพนักงานอัยการเสียหาย ในกรณีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ (ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 32)
(4) ยื่นฟ้องคดีที่ผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องคดีไว้แล้วได้ถอนฟ้องคดีนั้นเสีย เว้นแต่คดีซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว (ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญามาตรา 36(3))
(5) ฟ้องเรียกทรัพย์สิน หรือราคาแทนผู้เสียหาย ในกรณีที่ผู้เสียหายมีสิทธิจะเรียกร้องทรัพย์สิน หรือราคาที่เขาสูญเสียไป เนื่องจากการกระทำความผิดคืน ในคดีลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอก หรือรับของโจร เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญาโดยจะขอรวมไปกับคดีอาญา หรือจะยื่นคำร้องในระยะใดระหว่างที่คดีอาญากำลังพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้นก็ได้ (ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43,44)
(6) ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายขังผู้ต้องหา ตามความในมาตรา 87 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 วรรค 2)
(7) พิจารณาแถลง เมื่อศาลถามว่าจะคัดค้านประการใดหรือไม่ ในกรณีที่ผู้ต้องหา หรือจำเลยต้องหา หรือถูกฟ้องในความผิดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปี ได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างสอบสวน หรือระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น (ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญามาตรา 109 ซึ่งแก้ไขโดย (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2522 มาตรา 4)
(8) ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล เมื่อศาลสั่งบังคับตามสัญญาประกันเป็นประการใดแล้ว พนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ (ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญามาตรา 119 ซึ่งแก้ไขโดย (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 4)
(9) สั่งให้งด หรือให้ทำการสอบสวนต่อไป ในคดีที่ไม่ปรากฎว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำผิด (ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา140)
(10) ในกรณีที่พนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง และพนักงานอัยการเห็นชอบด้วย ให้ออกคำสั่งไม่ฟ้อง และแจ้งคำสั่งนี้ให้พนักงานสอบสวนทราบ แต่ถ้าไม่เห็นชอบด้วยก็ให้สั่งฟ้อง และแจ้งให้พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้ต้องหามาเพื่อฟ้อง หรือจัดการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อให้ได้ตัวผู้ต้องหามา ถ้าผู้ต้องหาอยู่ต่างประเทศพนักงานอัยการจะต้องจัดการ เพื่อขอให้ส่งตัวข้ามแดน (ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญามาตรา 141, 143)
(11) ในกรณีที่พนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้อง และพนักงานอัยการเห็นชอบด้วย ให้ออกคำสั่งฟ้องและฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล แต่ถ้าไม่เห็นชอบด้วยก็ให้สั่งไม่ฟ้อง และปล่อยตัวผู้ต้องหาไป และแจ้งคำสั่งให้พนักงานสอบสวนทราบ (ประมวลกฎหมาย วิธิพิจารณาความอาญา มาตรา 141, 143)
(12) สั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนิการสอบสวนเพิ่มเติม หรือส่งพยานคนใดมาให้ซักถามเพื่อสั่งต่อไป (ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา 143 (ก))
(13) สั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบคดี แทนการที่จะส่งตัวผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการในกรณีที่มีคำสั่งฟ้อง แต่ถ้าผู้ต้องหาถูกส่งตัวมาแล้ว ให้ส่งผู้ต้องหาพร้อมด้วยสำนวนกลับไปยังพนักงานสอบสวน ให้พยายามเปรียบเทียบคดี (ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญามาตรา 144)
(14) ในกรณีที่มีคำสั่งไม่ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา ถอนฟ้อง ถอนฟ้องอุทธรณ์ ถอนฟ้องฎีกา และคำสั่งนั้นไม่ใช่ของอัยการสูงสุด ถ้าในกรุงเทพมหานครให้รีบส่งสำนวนการสอบสวน พร้อมกับคำสั่งไปเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ถ้าในจังหวัดอื่นให้เสนอผู้ว่าราชการจังหวัด (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145)
(15) แจ้งคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องให้ผู้ต้องหา และผู้ร้องทุกข์ทราบ ถ้าผู้ต้องหาถูกควบคุมหรือขังอยู่ให้ปล่อยตัวไป หรือขอให้ศาลปล่อยแล้วแต่กรณี (ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 146)
....... ขอลอกมาเป็นตัวอย่าง ไม่ยกมาทั้งหมด นะครับยาวเกิน พอในส่วนที่เกี่ยวข้อง ใครอยากอ่านรายละเอียด เข้าไปอ่านต่อได้ ในเวป สำนักงานอัยการสูงสุดเลย จ้า
ขอจบดื้อๆเลยแล้วกัน ตามประสาตามรอย ท่าน ศรีธนญชัย ทำให้ประเทศไทย ชอบมี วลีแปลกๆ
"ไม่ได้ทำความผิดกฎหมาย เพียงแต่ทำในสิ่งที่หฎหมายห้าม"
ถึงคราวนี้คงต้องมาเจอ
"ไม่ได้ดำเนินการผิด เพียงแต่ทำในสิ่งที่ไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้"
อย่าลืมว่า อัยการ เป็นทนายของรัฐ ไม่ใช่ทนายจำเลย
อย่าลืมว่า อัยการไม่ใช่ศาล ไม่ได้มีหน้าที่พิพากษา ใครทั้งนั้น
อย่าลืมว่า การสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องคดีของอัยการนั้น ยังมิใช่ขั้นตอนการพิพากษา แต่เป็นเพียงขั้นตอนวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานน่าเชื่อหรือไม่ว่าผู้ต้องหากระทำผิด และมีพยานหลักฐานเพียงพอพิสูจน์ความผิดในศาลหรือไม่เท่านั้น
อย่าลืมว่า อัยการจะต้องใช้หลักยกประโยชน์ข้อสงสัยให้แก่รัฐคือ ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลเพื่อพิสูจน์ความผิดต่อไป
💥💝 ว่าแต่ว่า สั่งไม่ฟ้อง แล้วกลับเป็นสั่งฟ้องได้ แล้วทำไม เมื่อมีคำสั่งฟ้องไปแล้วจะกลับเป็นคำสั่งไม่ฟ้อง ทำไมถึงจะทำไม่ได้เล่า ?🤔 อ้าว! ตกลงทำได้จริงหรือ มีการทำไปแล้ว นี่
ชนแก้ว เบาๆยังอยู่ในพรรษา เรื่อยเปื่อยไปเรื่อย งงต่อไปแบบเปื่อยๆ หรือโดนต้มเสียเปื่อยทั้งประเทศ .. สวัสดี มีความสุขทุกท่าน
1
เดี๋ยวจะลืม จึงขออนุญาต เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย
นอกจากเรื่องความสงสัย ในอำนาจ การเปลี่ยนแปลงคำสั่งฟ้อง ให้กลับเป็นไม่ฟ้องได้แล้ว (อำนาจนี้ควรมีแค่ศาล เพื่อให้การอำนวยการยุติธรรมได้ผ่านการนำเสนอข้อมูล และพิสูจน์ข้อเท็จจริง ตามหลักความยุติธรรม ที่เป็นหน้าที่ของศาลเป็นผู้พิจารณา ไม่ใช่ของอัยการที่เป็นทนายของรัฐ ไม่ใช่ทนายจำเลย)
ก็ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่ยังสงสัยเป็นอันมากคือ การยกฟ้องอย่างเป็นความลับขั้นสุดยอด เป็นความลับขนาดให้มีผู้รู้ได้เป็นการเฉพาะราย ที่ว่าเช่นนี้ เพราะ หนังสือแจ้งยกฟ้อง นี้ออกจากสำนักอัยการลงวันที่ 12 มิถุนายน 2563 แต่ทั้งประเทศไทย อาจยกเว้นแค่ไม่กี่คนทค่ร่วมกันทำคดีให้ยุติ จะทราบ เพราะแม้แต่ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2563 คุณประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักอัยการสูงสุด ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับคดีนี้ ยืนยันว่า "อัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ ได้มีคำสั่งฟ้องนายบอส ในข้อหา ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291ตั้งแต่ปี 2558 แล้ว"
เอ! แต่น่าสงสัยเหมือนกันนะ ในวันที่แถลงข่าวนี่ เป็นหลังวันที่ 12 มิถุนายน 2563 ที่มีหนังสือไม่ฟ้อง แล้วนี่ ตั้งครึ่งเดือน หนังสือนี้ ปิดเป็นความลับที่แม้แต่ รองโฆษกฯ เองก็ยังไม่รู้เลย ณ วันนั้น แล้วจะให้ไม่สงสัยได้ไง ? สำหรับสื่อมวลชนและประชาชนคนไทยทั่วไปเอง ก็เพิ่งจะได้รับรู้เรื่องนี้ เมื่อ 23 กรกฎาคม 2563 ผ่านมาเดือนครึ่ง โดยรู้มาจากสื่อต่างประเทศ CNN เอามาลงเป็นข่าว นี่ถ้าเขาไม่สนใจเอามาลง ก็คงจะรู้ตอน นายบอส กลับมาขับรถหรูไปเที่ยวผับ ละมัง ? ช่างปิดมิด ลับยิ่งยวด จริงๆ มีความสามารถในการเก็บความลบมากๆ ของผู้เกี่ยวข้อง ทึ้ง อัยการ ตำรวจ และอื่นๆ 55😢😎😏🤔😖⚖ น่าคิด ม่ะ
โฆษณา