5 ส.ค. 2020 เวลา 10:14 • ปรัชญา
"พี่เจอคนเก่งทั้งหมดนะ ทุกคน 'ฟังเก่ง' หมดเลย
ไม่ค่อยมีคน 'พูดเก่ง' เพราะอะไรรู้ไหม?"
มุมมองทักษะ 'การฟัง' ที่หลายคนมองข้าม
กับพี่เคน นครินทร์ วนกิจไพบูลย์
คอลัมนิสต์ และบรรณาธิการบริหาร THE STANDARD
เจ้าของ Podcast The Secret Sauce
ที่ถอดรหัสความสำเร็จของแบรนด์ไทย
นักธุรกิจ และผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จต่างๆ
จบเภสัชฯ แต่กลับมาทำงานเป็นนักเขียน…
นี่คือ “เคน นครินทร์” คอลัมนิสต์และบรรณาธิการบริหาร The Standard
เจ้าของ Podcast The Secret Sauce
.
เรียนไม่ตรงสาย ทำงานก็ไม่ตรงสาย
.
เนื่องจากไม่ใช่ทุกคนที่เกิดมาแล้วรู้ว่าฉันอยากทำอาชีพไหน
หรืออยากเรียนอะไรจนกระทั่งได้ลองเรียนด้วยตัวเอง
เหมือนกับพี่เคน… ที่ต้องทุกข์ ต้องท้อ
เพราะพึ่งมารู้ตัวว่าไม่ได้ชอบการเรียนหรือการทำงานเป็นเภสัชกร
แต่ก็ช่วยไม่ได้เพราะดันสอบติดเข้ามาแล้ว…
1
แต่ละคนจังหวะชีวิตไม่เหมือนกัน…
บางคนอาจใช้เวลาสามปีพบว่าตัวเองชอบอะไรจริง ๆ
แต่สำหรับคนที่ไม่ทัน จนทำให้ต้องเลือกเรียนอะไรสักอย่างมาสุ่ม ๆ บ้าง
ตามกระแสบ้าง คนที่โชคดีอาจจะชอบมันในตอนเรียนก็ได้
แต่ถ้าคนที่ไม่ล่ะ… ก็คงรู้สึกเสียดายและทรมานไม่ใช่น้อยแน่นอน
…แต่อย่าลืมว่าชีวิตในมหาลัยมันสั้น ชีวิตวัยทำงานมันยาว
พูดให้ง่าย ๆ ก็คือถ้าคิดว่าไม่ใช่จริง ๆ ก็แค่เรียนให้มันจบไป…
คือไม่ต้องเก่งมาก แค่เรียนให้ไม่แย่เกินไปจนพอเจียดเวลา
ให้ไปทดลองในสิ่งที่ตัวเองชอบ และคิดว่าอยากทำจริง ๆ
เพราะชีวิตวัยทำงานมันยาว ถ้าเราทำในสิ่งที่ไม่ได้อยากทำ
สิ่งที่เราไม่ได้เห็นคุณค่าในงานที่เราจะทำ
งานที่ไม่ได้เหมาะสมกับบุคลิกของเรา
ฝืนทำไปก็รู้สึกแย่กับตัวเองเปล่า ๆ
สู้พยายามแบ่งเวลามาทำสิ่งที่ชอบแล้วทำมันให้ถึงที่สุดแทนดีกว่า
ถึงจะน่าเสียดายความรู้ที่ไม่ตรงสาย
แต่ก็ไม่เห็นเป็นไรนี่…คนเรามีความรู้ที่หลากหลายได้
ไม่จำเป็นต้องมีความรู้แค่เฉพาะสิ่งที่อยากทำ
ความรู้ไม่ใช่อุปสรรคในการทำงาน
.
“ถ้าคนอื่นเดิน 1 ก้าว พี่ก็เดิน 2 ก้าว” – พี่เคน นครินทร์
บางคนอาจจะคิดว่า …เฮ้ย จบมาไม่ตรงสายแล้วจะมีความรู้ ทักษะ
พอที่จะทำงานได้เหรอ …ในเริ่มต้นอาจจะใช่
แต่ถ้าเราพยายามากกว่าคนอื่นในการที่จะเรียนรู้ให้ทัน
ถ้า 5 ปีแรกที่ทำงานไม่ได้รู้สึกว่าหนักเลย…
นั่นคือปัญหาแล้ว ปัญหาที่ว่าเรายังไม่ได้ทุ่มเทกับมันมากพอ
ในช่วง 5 ปีแรกถ้ารู้สึกว่างานหนักนั้นเป็นเรื่องปกติ
เพราะเรากำลังเรียนรู้ให้มากที่สุด
เช่น แรกเริ่มอาจจะมาจากการทำตามคนที่มีประสบการณ์
จากคนที่เราคิดว่าเขาทำงานดี จากนั้นเก็บรายละเอียดให้มากที่สุด
ทำความเข้าใจคู่แข่งและสนามของเราให้มากที่สุด
เพราะเราไม่รู้จึงต้องทำงานเพื่อเรียนรู้มากกว่าคนอื่น
อาศัยความทะเยอทะยานเป็นแรงขับเคลื่อน
จนเราสะสมความรู้และทักษะมากพอ
เราจะสามารถทำให้งานของเราโดดเด่นขึ้นได้เอง…
ถ้าเราไม่รู้เราก็แค่เรียนรู้… ถ้าเราความรู้น้อยกว่าก็ขยันหาจนมากกว่า
แล้วค้นหาตัวเองยังไงให้เจอ?
.
อย่างที่บอกแต่ละคนมีจังหวะชีวิต
ในการได้มีโอกาสเจอสิ่งที่ “เป็นตัวเอง” ต่างกัน …
บางคนอาจจะสองครั้งก็เจอ แต่บางคนรอเท่าไหร่ก็ไม่มา
นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมเราถึงควรออกไปหามัน …
ออกไปหา “โอกาส” ในการพบปะตัวเองให้เจอ
ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนที่หลากหลาย กิจกรรมต่างหลาย ๆ แบบ
องค์ความรู้ต่าง ๆ
แล้วสุดท้ายเราก็จะรู้เองว่าเราชอบอะไร
เก่งอะไร เหมาะสมกับอะไร
วงกลมของพี่เคน
.
คุณค่าของงาน เปรียบได้เหมือนวงกลมของพี่เคน
ซึ่งประกอบด้วย 3 วง เล็ก กลาง ใหญ่
วงเล็ก…ทำงานเพื่อตัวเอง
นี่เปรียบเสมือนช่วงชีวิตวัยเริ่มทำงาน…
ทำเพราะชอบ ทำเพราะรัก ทำเพราะท้าทาย
เป็นการตอบสนองต่อตัวเราเพียงคนเดียว …
เป็นเพียงวงกลมเล็ก ๆ ที่มีค่าแค่สำหรับเรา
วงกลาง… ทำงานเพื่อคนรอบข้าง
นี่เปรียบเสมือนช่วงชีวิตวัยทำงานไปได้สักพักแล้ว…
คราวนี้เราจะทำเพื่อคนรอบตัว ไม่ว่าจะเพื่อพ่อ เพื่อแม่
เพื่อให้เจ้านายเราชม… คราวนี้เป็นวงกลมที่ใหญ่ขึ้น เพราะเริ่มทำคุณค่าให้คนอื่น
วงใหญ่… ทำงานเพื่อสังคม
นี่เปรียบเสมือนช่วงชีวิตวัยทำงานที่ทำจนรู้สึกว่าอยากหาอะไรมาเติมเต็มตนเอง…
เมื่อมีเงิน มีตำแหน่งที่น่าพอใจแล้ว มนุษย์จะเริ่มหาอะไรก็ตาม
ที่มาเติมเต็มตนเองจากการให้ผู้อื่น …
สุดท้ายนี้วงกลมจะใหญ่ที่สุดเพราะเป็นการสร้างคุณค่าให้สังคม …
ให้สิ่งดี ๆ กับทุกคนไม่ว่าใครก็ตามด้วยความปรารถนาดี
ซึ่งวงกลมทั้งสามวงต่างก็เล็กใหญ่กันไปตามแต่สถานการณ์ของแต่ละคน …
เพราะบางคนอาจจะให้ความสำคัญกับสามอย่างนี้ในอัตราส่วนที่ต่างกัน
ดังนั้นชีวิตที่สมดุลจึงไม่มีจริง
.
“Work Life Balance Flow“
.
แบ่งเวลาทำงานอย่างสมดุลไม่มีจริงบนโลก
เพราะบางครั้งชีวิตวัยทำงานมันก็ต้องมีปัญหาเกี่ยวกับงาน
จนไม่สามารถจัดการให้ตามเวลาได้
อย่างเช่น หมอศัลยกรรม
ที่ต่อให้เป็นเวลากินข้าวก็ต้องทำงาน ถ้ามีคนไข้เข้า
เพราะมันเป็นเหตุจำเป็น
ดังนั้นต่อให้จัดการเวลาดีขนาดไหน
ก็ไม่สามารถทำให้งานกับชีวิตส่วนตัวสมดุลได้ …
แต่เราสามารถมองให้มันเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตได้
เพื่อที่จะทำให้เรารู้สึกว่างานไม่ใช่สิ่งที่หนักหน่วง ไม่ใช่เรื่องเครียด…
เป็นแค่สิ่งที่ต้องทำเหมือนเรื่องในชีวิตประจำวัน
การตั้งคำถามที่ดีมาจากการฟังที่ดี
.
การตั้งคำถาม …นำไปสู่สิ่งใหม่ ๆ เสมอ
เหมือนกับนิวตันที่ถามว่าทำไมแอบเปิ้ลถึงตกลงมา
เหมือนนักสัมภาษณ์ที่สามารถหาประเด็นใหม่ ๆ
ได้จากคำถามไม่กี่คำถาม…
ทุกครั้งที่ถามเราต้องเชื่อว่า ทุกปัญหา
มีโอกาสให้เราค้นหาแนวทางใหม่ ๆ
แค่ต้องรู้จักฟังปัญหาเหล่านั้นให้ดี ฟังบ่อยจนเชี่ยวชาญ
แล้วเราจะสามารถจับประเด็นใหม่ ๆได้เอง
ปัญหาของคนไทย คือการไม่ฟัง
.
คนที่คิดไม่เหมือนเรา คือคนที่ผิด…
ปัจจุบันก็ยังเป็นกันอยู่จึงเป็นปัญหา
ถ้าไม่ฟังกันจะเข้าใจกันได้อย่างไร…
อย่างที่บอกไปการฟังที่ดีจะนำไปสู่การตั้งคำถามที่ดี
และคำถามที่ดีจะนำไปสู่คำตอบที่ดี…
ปัญหาในปัจจุบันก็เช่นกัน
ปัญหาบางอย่างมันก็ไม่สามารถแก้ด้วยมุมมองเดียว
สิ่งใหม่ ๆ ก็ไม่สามารถเกิดได้จากการคิดอยู่เองฝ่ายเดียว
เราก็ต้องกล้าที่จะฟังก่อน…แล้วหาทางออกไปด้วยกัน
ทำไมเราไม่เกลาตัวเองก่อนเกลาคนอื่น?
ติดตามวีดีโอใหม่ๆได้อีกช่องทาง
Facebook : เกลา นิสัยอันตราย
Website: Klao365
โฆษณา