7 ส.ค. 2020 เวลา 11:00 • ธุรกิจ
6 ข้อต้องมี! ยกระดับมาตรฐานแฟรนไชส์ ช่วยเพิ่มยอดขาย สร้างรายได้ยั่งยืน
ปัจจุบันมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่ช่วยให้ธุรกิจแฟรนไชส์ในแต่ละประเภทได้รับการยอมรับ และมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถตัดสินใจเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ได้ง่ายขึ้น ในยามเกิดวิกฤติ เมื่อได้เห็นว่าธุรกิจแฟรนไชส์ที่กำลังสนใจผ่านเกณฑ์การรับรองมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ แปะข้างฝาเอาไว้ ก็ทำให้อยากเป็นส่วนหนึ่งของแฟรนไชส์นั้นๆ เพราะมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอหลักการยกระดับมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ เพื่อเพิ่มยอดขายแฟรนไชส์
 
1. การนำองค์กรของผู้นำ
ผู้นำระดับสูงขององค์กรหรือเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ ถือเป็นผู้ที่มีบทบาทสูงในการขับเคลื่อน และผลักดันองค์กรให้ประสบผลสำเร็จทางธุรกิจ เริ่มตั้งแต่การกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางขององค์กร รวมทั้งวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ เพื่อกำหนดและผลักดันเชิงนโยบาย กำหนดแผนการปฏิบัติงาน รวมทั้งแผนงานเชิงกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อเป้าหมายการเติบโตที่มั่นคงยั่งยืน
 
ซึ่งวิสัยทัศน์ แผนการดำเนินงาน และกลยุทธ์ดังกล่าว จำเป็นต้องได้รับการสื่อสารไปยังบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และนำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้องค์กรธุรกิจแฟรนไชส์ สามารถสร้างผลกำไรและเติบโตอย่างยั่งยืน
 
2. การวางแผนเชิงกลยุทธ์
ภาพจาก www.facebook.com/officemate.co.th
การวางแผนกลยุทธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทางในการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจแฟรนไชส์ในระยะยาว โดยเป็นแผนงานที่ได้รับการสร้างขึ้น เพื่อตอบสนองแนวคิดและนโยบายของผู้บริหารองค์กร การวางแผนกลยุทธ์ควรเป็นแผนที่มีความยืดหยุ่นและสามารถนา ไปปฏิบัติได้จริงและประเมินผลได้เพื่อสามารถนา ไปปรับปรุงแผนงานให้ดีขึ้นได้ในอนาคต
 
โดยแผนกลยุทธ์ที่ดี ต้องสามารถกำหนดให้พนักงานในองค์กรปฏิบัติงานในทิศทางเดียวกัน มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนชัดเจน มีแผนงานระยะยาวเพื่อดำเนินไปสู่ความเจริญก้าวหน้า และการตัดสินในนโยบายต่างๆ จะเชื่อมโยงและสอดคล้องกับกลยุทธ์ที่วางเอาไว้ พนักงานในแต่ละแผนกจะมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน ภายใต้วัฒนธรรมองค์กรที่ถูกสร้างขึ้น
 
3. การมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด
ภาพจาก bit.ly/3bOOUH3
องค์กรธุรกิจแฟรนไชส์ ต้องสามารถตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าได้ เพราะจะทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ อันจะนำไปสู่การมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน องค์กรธุรกิจแฟรนไชส์ จึงต้องให้ความสำคัญด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการเป็นเรื่องหลัก โดยจะต้องมีระบบและกระบวนการที่เหมาะสมที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์และบริการที่ส่งมอบนั้นตรงตามความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าอย่างแท้จริง
 
ดังนั้น การฟังเสียงลูกค้า การประเมินความพึงพอใจของลูกค้า การผลิตและสร้างสรรค์สินค้าหรือบริการที่หลากหลาย รวมถึงการจัดการข้อเรียกร้องต่างๆ ในหัวข้อการมุ่งเน้นลูกค้า ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ จะส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์ แฟรนไชส์ซี และลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิผล
 
4. การวัดการวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
ภาพจาก www.facebook.com/wse.thailand/
การวัดผลการวิเคราะห์และจัดการความรู้ ควรมาจากความจำเป็นและกลยุทธ์ทางธุรกิจแฟรนไชส์ การวัดผลควรให้ข้อมูลและสารสนเทศที่สำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับกระบวนการผลผลิต และผลลัพธ์ที่สำคัญ การจัดผลการดำเนินการขององค์กรต้องใช้ข้อมูลและสารสนเทศหลายประเภท โดยธุรกิจแฟรนไชส์ต้องมีระบบการสอน การถ่ายทอดระบบที่มีประสิทธิภาพ การวัดผลการดำเนินการ ควรครอบคลุมถึงผลการดำเนินการด้านลูกค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการ
 
รวมทั้งการเปรียบเทียบผลการดำเนินการด้านการปฏิบัติการ ผลการดำเนินการด้านการตลาด และผลการดำเนินการเชิงแข่งขัน รวมถึงผลการดำเนินการผู้ส่งมอบบุคลากร ต้นทุนและการเงิน ตลอดจนการกำกับดูแล และการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ องค์กรควรจำแนกข้อมูลเพื่อสะดวกต่อการวิเคราะห์ด้วย
 
5. การมุ่งเน้นบุคลากร
ภาพจาก www.facebook.com/Shipsmileservices/
องค์กรธุรกิจแฟรนไชส์ ต้องมีแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสม เพื่อให้บุคลากรมีการเรียนรู้ในทุกระดับและมีทัศนคติที่ดี จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการอยู่เสมอ ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรสามารถแข่งขันได้ในตลาด การเรียนรู้ขององค์กรและบุคลากรจะส่งผลดีต่อระบบธุรกิจแฟรนไชส์ขององค์กรหลายประการ
 
นอกจากนี้ เรื่องของมาตรฐานแฟรนไชส์สภาพแวดล้อมในการทำงาน ก็จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสร้างผลกำไรได้ เช่น สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุในการทำงาน ไม่เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว พนักงานมีความสุขในการทำงาน บรรยากาศส่งเสริมให้มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
 
6. การมุ่งเน้นการปฏิบัติการ
ภาพจาก www.facebook.com/ido4idea
เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีความสำคัญต่อการปรับปรุงธุรกิจผลิตภัณฑ์ บริการ โปรแกรมกระบวนการและการปฏิบัติการขององค์กร รวมทั้งการสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นวัตกรรม ควรนำองค์กรไปสู่มิติใหม่ในการดำเนินงาน และนวัตกรรมไม่อยู่ในขอบเขตงานของฝ่ายวิจัยและพัฒนาเท่านั้น
 
นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการดำเนินการในทุกแง่มุม ทุกระบบงาน และทุกกระบวนการ ผู้นำองค์กรจึงควรชี้นำ และจัดการให้นวัตกรรมเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการเรียนรู้ องค์กรควรบูรณาการนวัตกรรมไว้ในการทำงานประจำวัน และใช้ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์กรด้วย
 
คุณจะเห็นได้ว่า เมื่อธุรกิจแฟรนไชส์ได้กำหนดแผนกลยุทธ์ โดยมีผู้นำแสดงวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว การดำเนินงานรักษาฐานลูกค้า สร้างลูกค้าใหม่ และการพัฒนาสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับความต้องการ และความคาดหวังของลูกค้า คือการรักษาฐานให้แฟรนไชส์เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ถือว่าเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อัพเดทและติดตามข่าวสารได้ที่
Line : @thaifranchise
Twitter : @thaifranchise
โฆษณา