5 ส.ค. 2020 เวลา 12:47 • ประวัติศาสตร์
• ภาพของแผนที่โลก แสดงถึงประเทศที่สามารถเข้าถึงและไม่เข้าถึงวิดีโอสตรีมมิ่งชื่อดังอย่าง Netflix
Credit ภาพจาก India Pixel
หากพูดถึงบริการวิดีโอสตรีมมิ่ง (Video Steaming) ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลกแล้ว เชื่อหรือเกินว่าทุก ๆ คน จะต้องนึกถึง "เน็ตฟลิกซ์" (Netflix) แบรนด์วิดีโอสตรีมมิ่งชื่อดังจากสหรัฐอเมริกากันอย่างแน่นอน
โดยสถิติในปี 2019 ที่ผ่านมา เน็ตฟลิกซ์สามารถสร้างมูลค่าทางการค้าได้สูงถึงราว 5.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือราว 17,800 ล้านบาท) เน็ตฟลิกซ์ยังได้เปิดบริการในประเทศทั่วโลกกว่า 190 ประเทศ และมียอดผู้ใช้บริการกว่า 182 ล้านคน
แต่คุณเคยทราบมาก่อนหรือไม่ว่า ท่ามกลางกระแสความโด่งดังของเน็ตฟลิกซ์ที่มีอยู่ทั่วโลกนั้น กลับมีเพียงแค่ไม่กี่ประเทศบนโลกเท่านั้น ที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการวิดีโอสตรีมมิ่งของเน็ตฟลิกซ์ได้
โดยประเทศที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการของเน็ตฟลิกซ์ได้ ประกอบไปด้วย จีน, เกาหลีเหนือ, ซีเรีย รวมไปถึงไครเมีย
ประเทศสีดำบนแผนที่ คือประเทศที่ไม่สามารถเข้าถึง Netflix ได้
สำหรับจีนแล้ว พวกเขาขึ้นชื่อในเรื่องของการแบนคอนเทนต์ต่าง ๆ ที่มาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่มาจากสหรัฐอเมริกา
โดยนอกจากที่พวกเขาจะทำการแบนไม่ให้เน็ตฟลิกซ์ เข้ามาภายในประเทศแล้ว คอนเทนต์รวมไปถึงบริการต่าง ๆ ที่มีที่มาจากสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก (Facebook), ทวิตเตอร์ (Twitter) อินสตาแกรม (Instagram) รวมไปถึงเสิร์จเอนจิ้นชื่อดังอย่าง กูเกิ้ล (Google) ก็ล้วนที่จะถูกทางการของจีนแบนทั้งสิ้น
สำหรับเกาหลีเหนือ ทุก ๆ คน อาจจะทราบมาก่อนแล้วว่า เกาหลีเหนือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความลึกลับ และปกปิดข้อเท็จจริงภายในประเทศ มากที่สุดประเทศในโลก
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจ ที่สื่อต่าง ๆ ซึ่งอยู่ภายนอกเกาหลีเหนือ ล้วนไม่สามารถผ่านเข้ามาภายในประเทศนี้ได้ เพราะแม้แต่สิ่งพื้นฐานในโลกปัจจุบันอย่าง อินเตอร์เน็ต (Internet) คนเกาหลีเหนือก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะใช้งาน (ยกเว้น บุคคลระดับสูงในประเทศ)
1
ในเกาหลีเหนือ มีเพียงแค่บุคคลระดับสูงของรัฐบาลเท่านั้น ที่สามารถเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ตได้
สำหรับซีเรีย เป็นประเทศที่เกิดความขัดแย้ง และสงครามกลางเมืองมาเป็นเวลานับสิบ ๆ ปี ด้วยผลกระทบดังกล่าว ทำให้หลาย ๆ บริการของสหรัฐอเมริกา ซึ่งรวมไปถึงเน็ตฟลิกซ์ ไม่สามารถเข้าไปเผยแพร่ภายในซีเรียได้
** แต่ที่น่าแปลกใจคือ ประเทศที่เป็นคู่ขัดแย้งสำคัญของสหรัฐอเมริกา ในภูมิภาคตะวันออกกลางอย่าง อิหร่าน กลับสามารถเข้าถึงสื่อต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงบริการจากเน็ตฟลิกซ์ได้
และสุดท้ายก็คือ ไครเมีย (Crimea) ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ถือว่าดำรงสถานะเป็นประเทศอย่างเป็นทางการ โดยไครเมียเป็นดินแดนที่อยู่ภายในประเทศยูเครน แต่ต่อมาในปี 2014 ไครเมียได้ประกาศแยกตัวจากยูเครน เพื่อไปผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย
แผนที่ของไครเมีย ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของยูเครน
การผนวกไครเมียของรัสเซีย เมื่อปี 2014
การผนวกไครเมียของรัสเซียในครั้งนั้น ก่อให้เกิดการต่อต้าน และไม่เห็นด้วยจากหลาย ๆ ประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ที่มีท่าทีต่อต้านการผนวกไครเมียของรัสเซีย
ด้วยเหตุนี้ ทำให้ในประเทศยูเครน สื่อและบริการต่าง ๆ ที่มาจากสหรัฐอเมริกา (รวมไปถึงเน็ตฟลิกซ์) สามารถเข้าถึงในยูเครนได้ตามปกติ ยกเว้นที่ดินแดนไครเมียเท่านั้น ที่สื่อเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงได้
*** Reference
#HistofunDeluxe
โฆษณา