7 ส.ค. 2020 เวลา 15:26 • การเกษตร
แอมโมเนียมไนเตรต คืออะไร? (โศกนาฏกรรมที่กรุงเบรุต)
นับเป็นความสูญเสียที่ไม่มีใครอยากให้เกิดกับโศกนาฏกรรมที่กรุงเบรุต เมืองหลวงของประเทศเลบานอน เกิดเหตุระเบิดขึ้นที่บริเวณท่าเรือซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 100 ศพ และบาดเจ็บไม่ต่ำกว่า 4,000 คน
ซึ่ง ฮัสซัน ดิอับ (Hassan Diab) นายกรัฐมนตรีเลบานอน ชี้แจงว่าเหตุที่เกิดขึ้นมาจากสารแอมโมเนียมไนเตรท (Ammonium Nitrate) ที่เก็บสะสมมาต่อเนื่อง 6 ปี น้ำหนักรวมกันถึง 2,750 ตัน ในอาคารที่ไม่มีมาตรการด้านความปลอดภัย
๒ฝ๑
แอมโมเนียมไนเตรต คืออะไร?
แอมโมเนียมไนเตรท เป็นสารประกอบทางเคมีที่มีสูตรทางเคมี N H4N O3 รูปร่างผลึกแข็งสีขาวและสามารถละลายในน้ำได้สูง ใช้ส่วนใหญ่ใช้ในการเกษตร ทำเป็นปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง นอกจากนี้ยังเป็นองค์ประกอบของสารผสมระเบิดที่ใช้ในการขุดเหมืองหินและการก่อสร้างโยธา มันเป็นองค์ประกอบสำคัญของ ANFO ซึ่งเป็นวัตถุระเบิดอุตสาหกรรมยอดนิยม ซึ่งคิดเป็น 80% ของวัตถุระเบิดที่ใช้ในอเมริกาเหนือ หลายประเทศกำลังยกเลิกในการใช้งานทั่วไปเนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับการใช้งานในทางที่ผิด
1
เหตุการณ์ระเบิดที่เกิดจากแอมโมเนียมไนเตรท
-ปี 2538 ตาลีบัน ใช้เป็นส่วนประกอบระเบิดโจมตีเมืองโอคลาโฮมา สหรัฐฯ
-ปี 2544 เกิดเหตุที่โรงงานเคมีเมืองตูลูส ฝรั่งเศส มีผู้เสียชีวิต 31 คน
-ปี 2556 โรงงานปุ๋ยรัฐเทกซัสของสหรัฐ ระเบิดมีผู้เสียชีวิต 15 คน
#สาระจี๊ดจี๊ด
สำหรับประเทศไทย
-เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2537 เคยเกิดเหตุระทึก
กลุ่มก่อการร้ายได้ขับรถบรรทุก 6 ล้อบรรทุกแท้งก์น้ำ ซึ่งบรรจุแอมโมเนียไนเตรท ผสมตัวจุดระเบิด น้ำหนัก 1 ตัน คาดว่ามุ่งหน้าไปที่สถานทูตแห่งหนึ่ง แต่เกิดเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์หน้า สน.ลุมพินี ทำให้แผนการครั้งนี้ล้มเหลว ซึ่่งหากสำเร็จคาดว่าแรงระเบิดจะกินวงกว้าง 2 กิโลเมตร และเป็นเหตุให้มีการควบคุมอย่างเข้มงวดในเวลาต่อมา
การระเบิดของสารแอมโมเนียมไนเตรต
องค์ประกอบระเบิด
1. เชื้อเพลิง (fuel) เป็นวัตถุที่เกิดการลุกไหม้
2. สารออกซิไดเซอร์ (oxidizer) หรือสารที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งก๊าซออกซิเจน (O2) เนื่องจากการเผาไหม้สสารหรือวัตถุในที่เปิดโล่งสามารถใช้ก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศ แต่การเผาไหม้วัสดุในวัตถุปิดผนึกไม่มีอากาศจำเป็นต้องอาศัยก๊าซออกซิเจนจากสารที่มีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต จากสูตรเคมี NH4NO3 หากพิจารณาเฉพาะส่วนของไนเตรต (NO3) จะเห็นได้ชัดเจนว่า ไนโตรเจน 1 อะตอมประกอบด้วยออกซิเจนถึง 3 อะตอม ดังนั้นสารนี้จึงเหมาะที่จะใช้เป็นแหล่งจ่ายก๊าซออกซิเจน
กลไกการระเบิด
การระเบิดเริ่มต้นจากการระเบิดของเชื้อปะทุ (วัสดุที่มีวัตถุระเบิดปริมาณเล็กน้อย) และปลดปล่อย คลื่นระเบิด (detonation wave) ซึ่งมีความเร็วประมาณ 3.2-4.8 กิโลเมตร/วินาทีออกมา ส่งผลให้สารแอมโมเนียมไนเตรตในเม็ดปุ๋ยระเหิด* กลายเป็นก๊าซทันที และจุดเชื้อเพลิงให้ลุกไหม้
พลังงานจากคลื่นระเบิดที่ทะลุผ่านสารแอมโมเนียมไนเตรตทำให้โมเลกุลสลายตัว อะตอมออกซิเจนถูกปลดปล่อยออกมา และรวมตัวเป็นก๊าซออกซิเจน เร่งปฏิกิริยาหรือกระบวนการเผาไหม้ให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้ผลิตผลต่อเนื่องเป็นก๊าซร้อนต่างๆ
ก๊าซร้อนที่เกิดในเวลาสั้นเหล่านี้ทำให้เกิดคลื่นความดัน (pressure wave) ซึ่งเคลื่อนที่เร็วเท่าอัตราเร็วเสียง (330 เมตรหรือ 1,100 ฟุต/วินาที) คลื่นนี้อาจทำอันตรายต่อชีวิต วัตถุ สิ่งของต่าง ๆ โดยรอบ นอกจากนี้ความร้อนสูงซึ่งเกิดขึ้นจากการเผาไหม้ยังทำให้วัตถุโดยรอบไหม้ไฟได้ อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญด้านระเบิดระบุว่า อำนาจการทำลายส่วนใหญ่มาจากคลื่นความดัน
ปุ๋ยเคมี ≠ ระเบิด
แม้จะมีการระบุว่า ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต รวมถึงปุ๋ยบางชนิดสามารถนำมาผลิตเป็นระเบิดได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิดระบุว่า ส่วนผสมของปุ๋ยเคมีและเชื้อเพลิงที่สามารถทำให้เกิดการระเบิดได้มีสัดส่วนค่อนข้างจำเพาะ หากผสมคลาดเคลื่อน จะมีผลให้ส่วนผสมทั้งหมดเกิดปฏิกิริยาติดไฟลุกไหม้ และไม่ระเบิด
6 ข้อปฏิบัติเพื่อลดอุบัติเหตุจากการจัดเก็บปุ๋ย ประกอบด้วย
1. ลงบันทึกเกี่ยวกับปุ๋ยที่จัดเก็บ ใช้หลัก มาก่อน-ออกก่อน ในการเคลื่อนย้ายปุ๋ย
2. ดูแลรักษาพื้นที่คลังสินค้าให้สะอาดอยู่เสมอ
3. อบรมพนักงานในร้านให้เตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉินอยู่เสมอ
4. จัดเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิงชนิดเคมี หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในบริเวณคลัง
5. จัดให้มีน้ำพร้อมใช้ กรณีที่ปุ๋ยเคมีอาจเกิดการคลายไอความร้อนและมีควัน/ก๊าซ
6. แยกเก็บปุ๋ยซึ่งจัดอยู่ในหมวดสินค้าอันตราย (DG) ชนิดสารติดไฟ
นอกจากนั้น ต้องให้สารห่างจากสารไวไฟ สารที่เข้ากันไม่ได้ และแหล่งความร้อนโดยปิดป้ายพร้อมระบุอันตราย
4 ข้อห้ามสำหรับบุคคลที่อยู่ใกล้สารดังกล่าว คือ
1. ห้ามสูบบุหรี่ใกล้ปุ๋ยและติดตั้งป้ายห้ามสูบบุหรี่
2. ห้ามใช้ไฟสว่างที่คายความร้อนมาก เช่น สปอตไลต์ ใกล้กองปุ๋ยในระยะ 60 เซนติเมตร
3. ห้ามเก็บสารไวไฟ อาทิ ก๊าซหุงต้ม น้ำมัน หรือสารหล่อลื่น ไว้ใกล้ปุ๋ย
4. ห้ามเก็บวัสดุติดไฟได้ อาทิ ไม้ กล่องกระดาษ หรือสารเคมีการเกษตรไว้ใกล้ปุ๋ย
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
โฆษณา