7 ส.ค. 2020 เวลา 16:52 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ยานสำรวจดาวพฤหัสของ NASA ตรวจพบปรากฏการณ์ฟ้าแลบในพายุฝนบนดาวพฤหัส รวมถึงลูกเห็บสอดไส้สารละลายแอมโมเนียกับน้ำที่เรียกว่า "Mushballs" 😉
ดาวพฤหัสก็มีพายุฝนฟ้าคะนองเหมือนกับโลกเราแต่ก็ไม่เหมือนกันซักทีเดียว
ทีมนักวิทยาศาสตร์ในโครงการสำรวจดาวพฤหัสของ NASA โดยยานสำรวจอวกาศ JUNO ได้เปิดเผยถึงข้อมูลการค้นพบครั้งสำคัญที่จะช่วยให้เข้าใจถึงกลไกการเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศบนดาวเคราะห์ต่าง ๆ ในระบบสุริยะของเรามากยิ่งขึ้น
ยาน JUNO ออกเดินทางไปทำภารกิจสำรวจดาวพฤหัสมาแล้วกว่า 9 ปี
โดยการค้นพบแรกคือปรากฏการณ์ฟ้าแลบในระดับสูงของกลุ่มก้อนเมฆพายุฟ้าคะนอง ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้จากการมองด้านบนของก้อนเมฆ
โดยปกติแล้วฟ้าแลบในพายุฝนฟ้าคะนองอย่างที่เกิดในโลกนั้นมักจะเกิดที่ระดับต่ำใกล้พื้นโลก
ภาพถ่ายกลุ่มก้อนเมฆพายุฝนที่ตรวจพบปรากฏการณ์ "shallow lightning"
แต่ฟ้าแลบบนดาวพฤหัสนี้กลับอยู่ตอนบนของยอดเมฆซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้เมื่อมองจากด้านบนโดยยาน JUNO จึงเป็นที่มาของลักษณะฟ้าแลบแบบ "shallow lightning"
ลักษณะและกระบวนการเกิดฟ้าแลบบนโลก
สาเหตุที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ "shallow lightning" นั้นเกี่ยวข้องกับการค้นพบสำคัญอีกเรื่องนั่นก็คือ ลูกเห็บที่เกิดจากสารละลายผสมระหว่างแอมโมเนียกับน้ำหรือ "Mushballs"
โดยบรรยากาศชั้นบนของดาวพฤหัสนั้นจะมีชั้นของแอมโมเนียขณะที่ชั้นล่างลงไปก็จะมีชั้นที่เป็นชั้นของไอน้ำ
ภาพแสดงกระบวนการเกิดลูกเห็บ "Mushballs"
เมื่อเกิดพายุฝนฟ้าคะนองซึ่งจะเป็นลักษณะเดียวกับที่เกิดบนโลกนั่นคือก้อนเมฆฝนก่อตัวทางสูงขึ้นไปสูงหลายสิบกิโลเมตรทะลุไปจนถึงชั้นแอมโมเนีย
ซึ่งละอองน้ำแข็งที่ลอยตัวขึ้นไป เมื่อเจอกับบรรยากาศชั้นแอมโมเนียก็จะเกิดการละลายเพราะแอมโมเนียนั้นทำหน้าที่เป็นสารต้านการแข็งตัวของน้ำ (antifreeze)
และแอมโมเนียก็จะละลายผสมกับน้ำในสถานะของเหลวกลายเป็นสารละลายแอมโมเนีย และตกกลับลงมายังชั้นไอน้ำซึ่งจะเกิดการแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าระหว่างกันทำให้เกิดฟ้าแลบในระดับสูงจนสังเกตได้จากยาน JUNO
กระบวนการเกิดลูกเห็บบนโลก
เมื่อตกลงมาเรื่อย ๆ ลูกเห็บก็จะถูกหุ้มด้วยชั้นน้ำแข็งกลายเป็นลูกเห็บสอดไส้สารละลายแอมโมเนียกับน้ำ และเมื่อตกลงไปด้านล่างชั้นน้ำแข็งก็เริ่มละลายจนเมื่อถึงไส้ในที่เป็นสารละลาย แอมโมเนียที่ผสมอยู่ก็จะระเหยกลายเป็นไออีกครั้ง
ซึ่งกระบวนการนี้ก็จะเหมือนกับการเกิดพายุลูกเห็บบนโลก ถ้าหากโลกเรามีชั้นแอมโมเนียลอยอยู่ด้านบน เราก็อาจจะเจอกับปรากฏการณ์ลูกเห็บสอดไส้แอมโมเนียนี้ 😁
การค้นพบนี้ได้ช่วยไขปริศนาขอการถ่ายโอนแอมโมเนียในชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสและทำให้เราได้รู้ว่าบนดาวเคราะห์ดวงอื่นก็มีพายุฝนฟ้าคะนองและลูกเห็บเหมือนกับบนโลก แต่สำหรับดาวพฤหัสนั้นเป็นลูกเห็บสอดไส้ 😉

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา