8 ส.ค. 2020 เวลา 11:29 • การศึกษา
เล่าเคส LBGT.🤣🤣🤣
ยิ่งอยู่ในวงการนาน พี่ตายิ่งเจอเคส
แบบใหม่ ๆ อยู่เรื่อย ๆ จนทางสาขาและทีมพิจารณา บอกว่า เคสของพี่ถือ เป็นเคสแปลกใหม่ให้เรียนรู้อยู่เสมอ...6555 หรือว่าอิชั้นเป็นคนแปลก ๆ น๊าาา...
😹🙀🙀เคสที่จะเล่าต่อไปนี้
นับว่าเป็นเคสแรก ที่ผู้เอาประกัน LBGT.
ที่เป็นผู้หญิงคนแรก ในพอร์ท ที่มี และ
ทำการผ่าตัดหน้าอกและ ตัดมดลูกออก
โดยไม่ได้มีสาเหตุ จากการเจ็บป่วย
😰😰ตอนแรกที่คุณลูกค้า แจ้งว่า มีการการผ่าตัดเอามดลูกออก และเต้านมสองข้างออก
ก็แอบกังวลใจนิดหน่อย..
ว่าเคยเป็นอะไร มาก่อน ซักไปซักมา ถึงทราบว่า ตั้งใจเอาออกเอง เห้อ โล่งอก
หลังจากนั้น พี่ตาจึงยกหู ปรึกษาฝ่ายพิจารณาว่าจะแถลงสุขภาพ อย่างไร? เนื่องจากคุณลูกค้า ไม่เคยเจ็บป่วย
เคสนี้เป็นเคสแรกเลยก็ว่าได้😓😓
บริษัท ฯ รับปกติ ไม่มีการเพิ่มเบี้ย หรืออะไรใดใดทั้งสิ้น..
ตอนแรกก็ลุ้น ๆ ว่า การผ่าตัดจะส่งผลเสีย
แต่กลับ ถือ ว่า โอกาส ที่จะเกิด ภาวะโรคกับสองอวัยวะ นี้ลดลง หรือ ไม่มีการเคลมแน่ ๆ
จึงถือว่าบริษัทฯ ลดความเสี่ยงลง
ของสองส่วนนี้ กับง่ายขึ้น
💥💥พี่ตาอยากเน้นย้ำ กันสักนิดนะคะ
การแถลงความจริงในใบคำขอมีความสำคัญ
อย่างยิ่งในการทำประกัน
👉การปกปิด ในแง่ของการเอาประกันชีวิต
ถ้าเกิน 2 ปี หรือ จ่ายเบี้ยประกันมา 3 งวด (รายปี) ตายจ่ายทุกกรณี ตามกฏหมายใช้ 5 ปี แต่หลักปฏิบัติ บริษัทประกันฯ ใช้ 2 ปี
👉การปกปิดในแง่ของประกันสุขภาพ
เจอปีไหนบริษัทฯ มีสิทธิบอกล้างบอกเลิก
ได้ตลอด ต่างกันน๊า...ไม่ใช่เกิน 2 ปี
จะเบิกได้
💯👉ยกตัวอย่าง อาวุโสโอเค เอไอเอ
ไม่ถงไม่ถามสุขภาพสักคำ แต่ ตาย 2 ปีแรกไม่จ่าย ก็อาศัยช่องว่างกฏหมายข้อนี้แหล่ะคะ
แต่ผู้เอาประกันก็ต้องขยันหายใจหนัก ๆ หน่อยน๊าาาา จ่ายเบี้ยงวดที่ 3 (รายปี) เสร็จเมื่อไร
ขี้เกียจหายใจก็ม่ายเป็นไร ประกันจ่ายผู้รับตามระบุในกรมธรรม์เลยคะ
1
ถึงต้องเน้นย้ำ เสมอว่า ทำประกันกับตัวแทนคนไหนก็ได้ แต่การเคลมสินไหม ไม่ใช่ตัวแทนทุกคน จะทำให้ได้ ต้องเป็นมืออาชีพ
ถึงจะเอาอยู่..
1
การแถลงสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการ
ทำประกันไม่ว่าจะประกันชีวิต หรือ ประกันสุขภาพ
การทำประกันชีวิตและการปกปิดสาระสำคัญในการทำประกัน ไม่ว่าจะอายุ อาชีพ หรือ ประวัติสุขภาพ มีผลอย่างยิ่งต่อการพิจารณารับประกัน ดังนั้น แถลงตามจริงคะ
อยากให้อ่านกฏหมายที่เกี่ยวข้องดูนะคะ
ว่าเมื่อบริษัทประกันทราบ ทำไม จึงใช้วิธีบอกล้าง แล้วคืนเบี้ย เพราะ ถ้าเลย 1 เดือน บริษัทประกันจะไม่สิทธิบอกล้างได้
📚มาตรา 865 ถ้าในเวลาทำสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยก็ดี หรือในกรณีประกันชีวิต บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ
📚ถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้นภายในกำหนดห้าปีนับแต่วันทำสัญญาก็ดี ท่านว่าสิทธินั้นเป็นอันระงับสิ้นไป
ในทางกลับกัน ถ้าผู้เอาประกันแถลงครบถ้วน
ไม่เคยเป็นโรค หรือ ไม่มีการเจ็บป่วยมาก่อน
แต่บริษัทประกันประวิงเวลาจ่าย
ตามนี้เลยนะคะ
1
🔥🔥การประวิงค่าสินไหมทดแทน คือประวิงการคืนเบี้ยประกันนั้น นอกจากจะต้องถูกลงโทษตาม มาตรา 88 พ.ร.บ. ประกันวินาศภัย ซึ่งมีโทษปรับ 5 แสนบาท และถ้ายังมีการกระทำผิดต่อเนื่องต้องปรับไม่เกินวันละ 20,000 บาท
และยังเป็นสาเหตุที่ทำให้บริษัทที่กระทำผิดอาจโดนปิดบริษัทได้ ตามมาตรา 59 (4) ประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือประวิงการคืนเบี้ยประกันภัยที่ต้องจ่ายหรือคืนโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือจ่ายหรือคืนไปโดยไม่สุจริต
1
🦋🦋ส่วนใครอยากใครพี่ตาแบ่งปันเรื่องเล่าคนประกัน ก็บอกมาได้นะคะ
🥰🥰ความจริงของตัวแทน กับความจริงของลูกค้า บางทีก็ เหมือน ไม่ได้อยู่จุดเดียวกัน
ที่เล่ามาเผื่อพี่น้องตัวแทนประกันชีวิต
หรือลูกค้า ที่ประสบปัญหาเช่นนี้อยู่ อยากทำประกัน จะได้มีแนวทางปฏิบัติ
1
🙏🙏ขอบคุณมากนะคะสำหรับการติดตาม
ถ้าชอบโปรดปุ่มไลก์ 👍
แต่ถ้ามากกว่านั้นช่วยส่งด้วยใจ💖
ถ้าคิดว่าเป็นประโยชน์ ช่วยแชร์ให้ผู้เขียนด้วยน๊า...
ของขวัญที่ยิ่งใหญ่ คือการให้กำลังใจกันและกัน ....ขอบคุณ/Canva
หรือ สามารถอ่าน ข้อกฏหมาย หรือ คดีต่าง ๆ
ของประกันได้ตามลิงค์นี้ นะคะ
โฆษณา