9 ส.ค. 2020 เวลา 13:15 • ความคิดเห็น
โจ ไบเดน จะรับมือ ประเด็น "จีน" อย่างไร?
สถานการณ์ความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับจีน เกิดขึ้นในระหว่างการเลือกตั้ง โจ ไบเดน และพรรคเดโมแครต มีความเห็นอย่างไร?
หัวข้อหนึ่งที่ถูกยกมาเป็นประเด็นหาเสียง ซึ่งส่วนใหญ่มาจากฝั่งประธานาธิบดีทรัมป์และทางฝั่งรีพับรีกัน คือประเด็นปัญหากับจีน
ทางฝั่งทรัมป์ดูเหมือนจะยกประเด็นนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นหลัก ทั้งๆที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เจอปัญหาการระบาดของไวรัส Covid19 อย่างหนัก
ล่าสุด สหรัฐมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 5,000,000 ราย และเพิ่มขึ้นมากกว่าวันละ 50,000 ราย
มีนักวิเคราะห์จากอังกฤษกล่าวว่า สหรัฐอเมริกา เลือกหยิบประเด็นจีนมาเล่น เพื่อหวังผลในการเลือกตั้ง และเพื่อปิดบังความล้มเหลวของตัวเองในการรับมือกับโรคระบาด
8
ประเด็นที่เล่นงานจีนล่าสุด คือประเด็นแอพของจีน โดยอ้างว่า เสี่ยงต่อความมั่นคง ซึ่งประเด็นตรงนี้ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน เป็นเพียงคำกล่าวอ้าง
น่าแปลกตรงที่ แทนที่รัฐบาลสหรัฐฯ จะใช้ระยะเวลาก่อนการเลือกตั้งไปทุ่มเทกับการแก้ไขปัญหาการระบาดอย่างเต็มที่ กลับใช้ห้วงเวลานี้ขยายขอบข่ายความขัดแย้งกับจีนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ภาพหาดูยาก ปธน สีจิ้นผิง กับ ไบเดน 📷 latimes
มาที่ฝั่งเดโมแครต ของโจ ไบเดนกันบ้าง
ที่ผ่านมาไบเดน พยายามแสดงให้เห็นว่ามีความแตกต่างจากแนวทางบริหารของทรัมป์ ในเรื่องจีน
แต่ Biden ก็ไม่ได้เน้นที่จะใช้นโยบายที่นุ่มนวลกับจีน เพียงแต่แนวทางของไบเดนดูจะมีความยืดหยุ่นกว่า และประนีประนอมกว่า
Biden ยังไม่ได้ระบุชัดเจนว่า..
เขาจะแก้ปัญหาสำคัญในนโยบายต่างประเทศของอเมริกาอย่างไร? โดยเฉพาะด้านความสัมพันธ์กับจีน
แต่ แนวทางที่เป็นไปได้ของโจ ไบเดน คือแนวทางของพรรคเดโมแครตกำหนดกรอบไว้
ซึ่งน่าจะช่วยให้เห็นภาพของนโยบายต่างประเทศของ Biden เกี่ยวกับจีนชัดขึ้น
แนวทางของเดโมแครต ต้องการสร้างความแตกต่างที่ชัดเจนกับนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์
ซึ่งถูกมองว่าไปในทิศทางเดียว ที่มุ่งลดความสัมพันธ์กับจีนทั้งทางเศรษฐกิจและทางการทูต
และขยายขอบเขตการป้องกันไม่ให้ปักกิ่งขยายอิทธิพลทั้งเศรษฐกิจและอาณาเขตอิทธิพล
โดยผ่านสงครามการค้า รวมถึงกระตุ้นให้พันธมิตร แบนบริษัทจีนออกจากเครือข่าย 5G
รวมถึงการลงโทษเจ้าหน้าที่จีน สำหรับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในซินเจียงอุยกูร์ และเพิ่มปฏิบัติการทางทหารในจุดสำคัญเช่น ทะเลจีนใต้
โจ ไบเดน สีจิ้นผิง ปี 2013 📷 xinhua
📌 นโยบายตรงนี้ของประธานาธิบดีทรัมป์ตรงกันข้ามนโยบายของพรรคเดโมแครตที่ระบุว่า
"พวกเขาจะไม่พึ่งพาสงครามภาษีเพียงฝ่ายเดียวหรือตกอยู่ใน "กับดักสงครามเย็นครั้งใหม่"
นโยบายนี้ยังแสดงให้เห็นว่า..
พรรคเดโมแครตไม่ได้ให้ความสำคัญกับการแข่งขันทางทหารระหว่างสหรัฐฯ - จีน
ในด้านการทูต ขณะที่ฝ่ายทรัมป์พยายามหันหลังให้ปักกิ่งมากขึ้น เช่น การปิดสถานกงสุลใหญ่จีนในฮูสตันเท็กซัส
ฝ่ายของ Biden มีแนวโน้มที่จะพยายามลดความตึงเครียดและ แสวงหาความร่วมมือร่วมกันโดยเฉพาะปัญหาระหว่างประเทศที่สำคัญเช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) การควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ หรือการรับมือกับโควิด -19
แต่เอกสารดังกล่าว ทางเดโมแครตยังระบุด้วยว่าจะโต้ตอบสนองอย่างเข้มแข็งและสม่ำเสมอ" หากเกิดปัญหาขัดแย้งเกี่ยวกับ พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของจีน
สิ่งหนึ่งที่เห็นพร้องต้องกันของทั้งสองพรรคคือ
"วันนี้จีนได้ก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญมากกว่าเป็นเพียงแค่คู่แข่งทางการค้า"
นโยบายต่อจีนของ Biden จึงจำเป็นต้องสร้างสมดุลระหว่างความแข็งกร้าวของรัฐบาลทรัมป์กับท่าทีประนีประนอมของอดีตประธานาธิบดีบารัคโอบามาเข้าด้วยกัน"
ซึ่งสิ่งสำคัญของโอบามาคือ นโยบายในการควบคุมการเพิ่มอำนาจขึ้นของจีน แต่มุ่งหลีกเลี่ยงความตึงเครียดหรือการเผชิญหน้าทางทหาร เช่น สหรัฐฯ ยังคงดำเนินกิจกรรมในทะเลจีนใต้และดูแลให้จีนดำเนินการในฐานะ "ผู้เล่นที่มีความรับผิดชอบ"
แต่นโยบายต่อจีนของทรัมป์ ซึ่งเป็นแนวทางที่แข็งกร้าว กำลังทำให้ภาพ Biden กลายเป็น "คนอ่อนต่อประเทศจีน"
...
ก็ว่ากันไป
ดังนั้นหาก Biden ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี
ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯกับจีน
มีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างมาก เนื่องจากทั้งสองฝ่ายพยายามหาจุดร่วมในผลประโยชน์ร่วมกัน
แม้ว่าทางวอชิงตันจะยังมองว่าจีนเป็นภัยคุกคามมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ฝ่ายบริหารของ Biden น่าจะสามารถทำให้จีนเป็นพันธมิตรได้เนื่องจากขนาดของเศรษฐกิจขนาดใหญ่
กล่าวโดยสรุปค่ะว่า
หาก Biden ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ ในปลายปีนี้ อย่างน้อยที่สุดความขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับจีน ที่กำลังเกิดขึ้น มีแนวโน้มที่จะสิ้นสุดลง
และความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ - จีนในหลายรูปแบบจะเริ่มขึ้นอีกครั้ง
เรื่องนี้ขึ้นอยู่ที่ชาวอเมริกาว่า..
จะชอบนโยบายแบบไหน
ชอบแบบแข็งกร้าว ตึงเครียดกับจีน เลือก..ทรัมป์
ชอบแบบยืดหยุ่น ประนีประนอม เลือก..ไบเดน
อีกไม่นานคงรู้กันค่ะ
references
America Election จากสื่อ CNN / Al Jazeera BBC / Reuters
เรียบเรียงโดย
สาระอัปเดต
โฆษณา