9 ส.ค. 2020 เวลา 16:02 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
คลื่นของก้อนเมฆไอกรดขนาดยักษ์ถูกค้นพบหลังจากซ่อนตัวอยู่ใต้กลุ่มเมฆหนามากว่า 35 ปี 😲
โดยคลื่นลูกนี้มีขนาดยาวประมาณ 7,500 กิโลเมตรวิ่งขวางแนวเส้นศูนย์สูตรของดาวศุกร์ด้วยความเร็วกว่า 328 กิโลเมตรต่อชั่วโมงกวาดผิวดาวศุกร์ครบรอบภายใน 5 วัน
1
ภาพถ่ายย่านอินฟราเรตแสดงให้เห็นถึงลูกคลื่นในกลุ่มเมฆระดับต่ำประมาณ 50 กิโลเมตรจากผิวดาว โดยตัวคลื่นทอดตัวเป็นทางยาวกว่า 7,500 กิโลเมตร
เมื่อทีมวิจัยจาก Instituto de Astrofísica e Ciências do Espaço (IA) และองค์การสำรวจอวกาศแห่งญี่ปุ่น (JAXA) ได้เปิดเผยถึงการค้นพบที่น่าตื่นเต้นนี้หลังจากได้รับข้อมูลภาพถ่ายอินฟราเรดจากยาน Venus orbiter Akatsuk ของ JAXA
โดยภาพที่ได้นี้ยืนยันผลการสำรวจติดตามหลังจากที่กล้องโทรทัศน์ Galileo National Telescope (TNG) ในหมู่เกาะ Canary ของ IA ได้จับภาพคลื่นนี้ได้ในปี 2012
นั่นแสดงให้เห็นว่าคลื่นของกลุ่มเมฆไอกรดลูกนี้อาจจะคงอยู่มาตั้งแต่มีการตรวจพบครั้งแรกในปี 1983
ยาน Venus orbiter Akatsuk ของ JAXA
โดยคลื่นลูกนี้เกิดขึ้นในกลุ่มเมฆระดับความสูง 47.5 ถึง 56.5 กิโลเมตรจากผิวดาว ยาวกว่า 7,500 กิโลเมตรวิ่งขวางแนวเส้นศูนย์สูตรของดาวศุกร์ด้วยความเร็วกว่า 328 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งจะกวาดผิวดาวศุกร์ครบรอบภายใน 5 วัน
ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่อาจอธิบายถึงกลไกที่ทำให้เกิดคลื่นที่วิ่งอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานขนาดนี้ ทีมนักวิจัยยังคงพยายามใช้คอมพิวเตอร์เพื่อจำลองรูปแบบการเกิดคลื่นแบบนี้บนดาวศุกร์
และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการตรวจพบคลื่นของกลุ่มก้อนเมฆไอกรดบนบรรยากาศดาวศุกร์
ลูกคลื่นคันศร (Bow Shape) ที่ยาน Akatsuk ตรวจพบได้ในปีก 2016
โดยก่อนหน้านี้ได้มีการตรวจพบกคลื่นรูปคันศรที่บรรยากาศชั้นสูงของดาวศุกร์ ซึ่งมีความยาวกว่า 10,000 กิโลเมตร
แต่นี่เป็นครั้งแรกที่มีการตรวจพบคลื่นของกลุ่มเมฆในระดับต่ำขนาดนี้ และเป็นปรากฏการณ์ที่ยังไม่เคยมีการตรวจพบบนดาวเคราะห์ดวงไหนในระบบสุริยะ
* * ยาน Venus orbiter Akatsuk * *
เป็นยานสำรวจสภาพภูมิอากาศของดาวศุกร์ ดำเนินการโดย JAXA มุ่งศึกษาชั้นบรรยากาศอันหนาแน่นและปั่นป่วนของดาวศุกร์
ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศโดยจรวด H-IIA 202 เมื่อ 20 พฤษภาคม 2010 แต่ประสบความล้มเหลวในการเข้าสู่วงโคจรของดาวศุกร์ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน
จรวด H-IIA 202
ทำให้ต้องมีการโคจรรอบดวงอาทิตย์กว่า 5 ปีเพื่อหาจังหวะเข้าสู่วงโคจรดาวศุกร์อีกครั้ง ซึ่งสามารถทำสำเร็จได้ในเดือนธันวาคมปี 2015 และได้ทำหน้าที่สำรวจบรรยากาศดาวศุกร์มาจนทุกวันนี้
ภาพจำลองยาน Akatsuk
ยาน Venus orbiter Akatsuk ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดทางวิทยาศาสตร์ดังนี้
- Lightning and Airglow Camera (LAC) ใช้ตรวจจับแสงวาปจากฟ้าผ่าในช่วงแสงที่ตามองเห็น
- ultraviolet imager (UVI) กล้องถ่ายภาพย่านรังสีอัลตราไวโอเลต
- longwave infrared camera (LIR) กล้องถ่ายภาพความร้อนย่านรังสีอินฟราเรด
- infrared 1 μm camera (IR1) กล้องถ่ายภาพความร้อนย่านรังสีอินฟราเรดด้านหลังของดาวศุกร์ (ด้านที่เป็นเงามืด ตอนยานโคจรอ้อมหลังดาวศุกร์)
- infrared 2 μm camera (IR2) คล้า้ย IR1 แต่มุ่งเน้นการสำรวจชั้นบรรยากาศระดับต่ำใกล้ผิวดาว ประมาณ 50 กิโลเมตรจากพื้นและยังใช้ตรวจจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของด้านที่รับแสงจากดวงอาทิตย์ได้ด้วย
- Ultra-Stable Oscillator (USO) อุปกรณ์สำหรับ radio occultation เพื่อตรวจวัดคุณสมบัติของชั้นบรรยากาศดาวศุกร์
ช่วงการสำรวจชั้นบรรยากาศระดับต่าง ๆ และอุปกรณ์ที่ใช้ตรวจวัด
ยาน Venus orbiter Akatsuk ยังคงมีแผนใช้งานสำรวจอีกจนถึงปี 2021 และอาจได้ต่ออายุภารกิจซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพยานว่ายังใช้งานได้อยู่หรือไม่
ก็เป็นอีกการค้นพบที่น่าสนใจกับดาวเคราะห์ที่เคยเป็นฝาแฝดของโลกดวงนี้ 😉

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา