20 ส.ค. 2020 เวลา 11:31 • สุขภาพ
มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ระยะที่ 2
มีผลบังคับใช้ 1 สิงหาคม 2563 ต่อเนื่องมาจากระยะที่ 1 มีอะไรบ้างมาติดตามกันค่ะ
1.ปรับลดเพดานดอกเบี้ยสินเชื่อ ได้แก่
- บัตรเครดิต จาก 18% เหลือ 16%
- สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีวงเงินหมุนเวียน จาก 28% เหลือ 25%
- สินเชื่อส่วนบุคคลที่ผ่อนชำระเป็นงวด จาก 28% เหลือ 25%
- สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ จาก 28% เหลือ 24%
โดยมาตรการนี้ท่านที่ใช้สินเชื่ออยู่ จะได้รับการปรับลดโดยอัตโนมัติ
ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 30,000 บาทต่อเดือนและมีประวัติชำระดี สามารถขอขยายวงเงินบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล จากเดิม 1.5 เท่าของรายได้ เพิ่มเป็น 2 เท่าของรายได้ เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่ 1 ส.ค.63 - 31 ธ.ค.64
ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย
2.ผ่อนผันการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย โดยลดยอดชำระหรือยกเว้นการชำระ จำนวน 3 งวด (ส.ค.- ต.ค.63)
สำหรับลูกหนี้ปกติของบัตรเครดิต (ไม่เป็น NPL)
ต่อเนื่องเรื่องการ ปรับลดยอดชำระขั้นต่ำ จาก 10% เป็น 5%
สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล สามารถขอขยายระยะเวลาชำระหนี้ได้ โดยพิจารณาตามความสามารถในการชำระหนี้ ขยายได้สูงสุด 48 งวด โดยบัตรเครดิต ดอกเบี้ยไม่เกิน 12% และ สินเชื่อส่วนบุคคล ดอกเบี้ยไม่เกิน 22%
ในส่วนค่างวดรถยนต์นั้น มีทั้งการปรับลดค่างวดและเลื่อนชำระค่างวด แล้วแต่สถาบันการเงินพิจารณาเครดิตและความสามารถในการชำระของลูกหนี้
ค่างวดการผ่อนบ้าน มีทั้งยกเว้นการชำระเงินต้น ชำระแต่ดอกเบี้ย หรือ ยกเว้นการชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นเวลา 3 เดือน (ส.ค.-ต.ค.63)
ทั้งนี้มาตราการผ่อนผันการชำระหนี้ทั้งหมด พึงระลึกไว้เสมอว่า สถาบันการเงิน ไม่ได้หยุดคิดดอกเบี้ย เพียงแต่ยืดเวลาการชำระเท่านั้น
ท่านควรสอบถามกับสถาบันการเงินให้ดีก่อนที่จะขอใช้มาตรการผ่อนผัน ถึงรายละเอียดวิธีคิดดอกเบี้ยที่ค้างชำระ เมื่อกลับมาสู่การผ่อนชำระตามปกติ และ วิธีการชำระคืนเงินคงค้างต่างๆ ไม่ให้กระทบสภาพคล่องของท่านด้วย
หากท่านยังเป็นผู้ที่สามารถชำระดอกเบี้ยและเงินต้นได้ ควรพยายามรักษาวินัยในการชำระต่อไป เพราะการขอผ่อนผัน ท่านจะมีต้นทุนการชำระหนี้ ที่เพิ่มขึ้นเสมอ
**ควรขอใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น**
เพจขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านค่ะ
เราจะผ่านมันไปด้วยกัน✌
ติดตามบทความอื่นๆของ เงินทองต้องวางแผน ได้ที่
ปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา