15 ส.ค. 2020 เวลา 23:30 • หนังสือ
สรุปหนังสือ อ่านธุรกิจใน 69 แผนภาพ ฉบับ 8 แผนภาพแก้ปัญหา
รู้จุดอ่อนจุดแข็ง เห็นปัญหาที่ซุกซ่อนอยู่
และค้นพบโอกาสทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว
เหมาะกับทุกคนที่ต้องทำงานครับ
มีเครื่องมือช่วยคิดหรือ Framework ให้ได้เรียนรู้เยอะมาก
หลายคนคงเคยฝันอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง
แต่ข้อมูลจากธนาคารประเทศไทยบอกว่า
หลังจาก 5 ปีผ่านไป ธุรกิจขนาดย่อมที่ก่อตั้งขึ้น
จะหายไปกว่า 50%
การทำธุรกิจมีปัญหามากมายให้แก้ไข
จะแก้ได้ก็ต้องเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นก่อน
หนังสือ อ่านธุรกิจใน 69 แผนภาพ
เป็นอีกเล่มที่ช่วยให้เรา
รู้จุดอ่อนและจุดแข็ง เห็นปัญหาที่ซุกซ่อนอยู่
และค้นพบโอกาสทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว
ไปเรียนรู้กันนะครับ
( 1 ) Hori Kimitoshi
คนเขียนหนังสือเล่มนี้ชื่อ
Hori Kimitoshi (堀 公俊)
เกิดปี 1960 ที่เมืองโกเบ เรียนจบปริญญาโทคณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยโอซาก้า
จุดเด่นของเขาคือ
1-1 เจ้าพ่อ Framework & Facilitation
1-2 นักเขียนที่เน้นการเล่าเรื่องด้วยภาพ
1-3 ผลงาน > 17 เล่มใน AMAZON
เช่น
1. Business Framework (เล่มนี้เลยครับ)
2. Expressing Thoughts Training
3. Ima sugu tsukaeru rojikaru shinkingu (แปลไทยได้ประมาณว่า วิธีคิดเป็นลอจิกที่ใช้ได้ทันที)
4. Logical Discussion
5. Wakuwaku kaigi (การประชุมที่ดี น่าตื่นเต้น)
มีหนังสืออีกซีรีย์หนึ่งที่ผมชอบมาของเขา
เกี่ยวกับการอธิบายหลายๆอย่างด้วยภาพ
อย่าง 問題解決見るだけノート
แปลไทยน่าจะได้ประมาณว่า
( 2 ) ประเภทของแผนภาพ
ในหนังสือเล่มนี้มีความพิเศษก็คือ
มี Framework หรือเจ้าแผนภาพที่ช่วยกรอบความคิดให้เรา
กว่า 200 แบบ 69 ชนิดหลักๆ
ถ้าจะทำให้มองเห็นและเข้าใจง่ายๆ
การนำ 200 Framework นี้ไปประยุกต์ใช้
ก็น่าจะทำให้เห็นสภาพของธุรกิจในแง่ต่างๆได้ดีมาก
แผนภาพในหนังสือเล่มนี้จัดเป็น 5 หมวดหมู่ด้วยกัน
1.กลยุทธ์ (13)
2.การตลาด (10)
3.แก้ปัญหา (13)
4.บริหาร (17)
5.พัฒนาองค์กร (16)
สรุปให้ ขอเน้นที่การ แก้ปัญหา
เพราะคนทำงานทุกคนต้อง แก้ปัญหา 555
ไปเรียนรู้กัน
( 3-1 ) As is / To be
เชื่อว่าเราทุกคนล้วนผ่านปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนักตัว
หนักไปผอมไป อยากลดหรือเพิ่ม
แต่ถ้าแค่บอกว่า อ้วน หรือ ผอม
เราอาจเห็นปัญหาได้ไม่ชัดเจนพอ
As is / To Be ช่วยได้ครับ
ด้วยวิธีการระบุปัญหาแบบ
บอกว่า อยากได้ อะไร
แล้วมี แค่ไหน
ช่องว่างระหว่างสองอย่างนี้แหละปัญหา
ง่ายสุดๆ ลองเอาไปใช้ดู
( 3-2 ) ต้นไม้แห่งเหตุผล
ถ้าใครตามหนังสือ คิดเป็นภาพ
図で考える、シンプルになる
ของ คุณ Sagurada Jun
ก็จะคุ้นๆว่ามันคือเรื่องเดียวกัน
ต้นไม้แห่งเหตุผลใช้ได้ดีกับการอธิบาย
สิ่งที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน
( 3-3 ) SCAMPER
ถ้าคิดไอเดียแก้ปัญหาไม่พอ
ลองเอาไอเดียที่คิดได้มาต่อยอดเพิ่มด้วย
แผนภาพ SCAMPER
SCAMPER เป็นอักษรย่อจากภาษาอังกฤษ 7 ตัว
1. Substitute:มีอะไรทดแทนได้ไหม
2. Combine : ผสมผสานได้ไหม
3. Adapt : ปรับเปลี่ยนได้ไหม
4. Modify : ดัดแปลงได้ไหม
5. Put to another use : ใช้ประโยชน์ด้านอื่นได้หรือไม่
6. Eliminate : ตัดบางส่วนทิ้งได้หรือไม่
7. Reverse : ลองคิดมุมกลับจะเป็นอย่างไร
ถ้าลองเอา ลดน้ำหนักด้วยการกินแต่กาแฟดำ
มาลองต่อยอดดู
1.Substitute : ไม่กินกาแฟ กินชาแทนได้
2.Combine : เช้ากาแฟ บ่ายชา แก้เบื่อเรื่องรสชาติ
3.Adapt : เปลี่ยนจากกาแฟร้อน เป็นกาแฟเย็น Cold Brew บ้าง
4.Modify : ลองใส่สารให้ความหวานอย่างอื่นที่ไม่ให้พลังงาน
5.Put to another use : ขยับเวลาทานกาแฟเร็วขึ้นเพื่อเร่งขับถ่ายก่อนชั่งน้ำหนักตัว
6.Eliminate : ตัดใจไม่กิน(แม่ม)เสียเลย 555
7. Reverse : มีอะไรบ้างที่ให้คาเฟอีน หรือทำยังไงไม่ให้ง่วงแทนการกินกาแฟ (หมากฝรั่ง, นอนให้ตรงเวลา)
( 3-4 ) แผนภาพ Mandal-Art
เป็นแผนภาพที่คนนิยมใช้คู่กับ Mindmap ซึ่งช่วยให้เห็นภาพรวมทั้งหมดก่อน
Mandal-Art คิดค้นโดย คุณ อิมาอิซึมิ ฮิโรอากิ พื้นฐานคือ
ทำให้เห็นไอเดียที่สัมพันธ์กันทั้งหมด โดยแก่นของไอเดียหรือสิ่งที่อยากแก้ปัญหา
ให้อยู่ตรงกลางส่วนสิ่งที่อยู่รอบๆคือวิธีแก้ปัญหา
เมื่อได้ไอเดียแก้ปัญหามาแล้ว ก็นำมาใส่ในวงกลมกลางอีกครั้ง
เพื่อให้ได้วิธีแก้ปัญหาเพิ่มเติมต่อไป
เคล็ดลับคือ ทำซ้ำไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้ไอเดียที่ดีที่สุด
( 3-5 ) เทคนิคไทม์แมชชีน
เทคนิคดีๆอีกอันคือ ไทม์แมชชีน
หนังสือเล่มนี้ให้ความเห็นว่า คนส่วนใหญ่จะคิดจาก
สภาพปัจจุบัน (As is) ก่อนเสมอ ทำให้บางครั้งขาด
ความเชื่อว่าเป้าหมาย (To be) มันเป็นไปได้
ไทม์แมชชีนจึงเป็นเครื่องมือที่ย้อนกลับ
เสมือนว่านั่งไปโดราเอม่อนและโนบีตะว่า
สิ่งที่เราอยากได้เกิดขึ้นแล้ว
และกระบวนการหรือ Action ใดที่เกิดก่อนหน้านั้น
แล้วทำให้เราได้ผลลัพธ์นั้นๆมา
วิธีนี้เหมาะกับคนที่คิดจากปัจจุบันไปหาอนาคตได้ไม่เก่ง
คล้ายๆกับหลักการ Begin with the end in mind
ในหนังสือที่รีวิวไว้ก่อนหน้าของพี่พอล ภัทรพลที่ชื่อ The ONE%
(เล่มนั้นก็ดีมากๆครับ ไปหาอ่านกันได้)
( 3-6 ) เมตริกซ์ สิ่งที่ต้องทำ
สำหรับใครที่เคยทำงานในบริษัทญี่ปุ่น
อาจจะเคยได้ยิน เทคนิคทำงานที่เรียกว่า Kanban
หรือ คัมบัง
คัมบัง เป็นภาษาญี่ปุ่นแปลว่า แผ่นป้าย
ในนั้นจะมีรายละเอียดชัดเจนว่าต้องทำอะไร
หลักๆใช้ในโรงงาน แต่บางทีก็นำมาประยุกต์ใช้
ในสำนักงาน เป็น Do-Doing-Done List
เมตริกซ์ สิ่งที่ต้องทำก็เป็นอะไรที่คล้ายๆ Kanban
เช่นกัน แต่สำหรับหนังสือเล่มนี้คุณ Hori ได้ให้
Framework หนึ่งที่ใช้ควบคู่กันได้เรียกว่า
7 Cross ที่จะใส่การจัดลำดับความสำคัญลงไปเพิ่ม
โดยให้สิ่งที่ต้องทำด้านซ้ายบนของงานทั้งหมด
เป็นสิ่งที่ต้องทำก่อน เพราะสำคัญและความคาดหวังสูง
ข้อดีของการทำอย่างนี้คือเราจะมองเห็นภาพใหญ่ของงาน
ทั้งหมดและบริหารจัดการทรัพยากรของเราได้ดีขึ้นนั่นเอง
ผมลองกรอกงานที่ต้องทำในเพจสรุปให้ลงไปก็ได้ไอเดีย
ไม่น้อยเลยที่เดียว ลองเอาไปใช้ในการทำงานจริงกันดูนะฮะ
( 3-7 ) ตารางข้อดีข้อเสีย
อีกหนึ่งแผนภาพที่ใช้บ่อยในการแก้ปัญหาคือ
ตารางเปรียบเทียบข้อดีเสียของ สองสิ่ง
พื้นฐานของตารางนี้คือ เปรียบเทียบ
สองสิ่งด้วยมุมมองเดียวกันในหลายๆมิติ
เช่น การอ่านสรุป กับ การอ่านหนังสือเล่ม
แต่ละอันมีข้อดีเสียต่างกันอย่างไร เป็นต้น
(ลองอ่านได้ใน ภาพนะฮะ)
เคล็ดลับของการประเมินตารางข้อดีเสีย
ที่หนังสือเล่มนี้แนะนำคือ ความมีความเป็นกลาง
หรือมีคนกลางคอยให้คำแนะนำครับเพื่อป้องกัน
การลำเอียงเวลาประเมิน
( 3-8 ) เมตริกซ์การตัดสินใจ
อีกหนึ่งแผนภาพที่โดยส่วนตัวแล้วใช้บ่อยและชอบมากๆ
มีบรรยายในหลักสูตร Systematic Problem Solving ด้วย
มันคือเมตริกซ์การตัดสินใจ
สมมติว่า เราเลือกการควบคุมพฤติกรรมการทานอาหาร
ในการลดน้ำหนัก
เราอาจจะมีวิธีรับประทานอาหาร 3 แบบ
ATKINS / เน้นทานโปรตีน เลี่ยงน้ำตาล
INTTERMITTENT FASTING / จำกัดช่วงเวลาการทาน
KETONESIC / เน้นไขมันธรรมชาติ
แต่ละวิธีมีข้อดี เสีย ต่างกัน เพื่อให้สามารถเลือกได้ดีขึ้น
เราควรเปลี่ยนคุณภาพของวิธีแก้ปัญหาเป็นตัวเลข
และเลือกวิธีที่คะแนนสูงสุด
อย่างในกรณีของผม ผมให้ INTERMITTENT FASTING
ได้คะแนนสูงสุด (ปัจจุบันก็ยังคงทำอยู่ ทำได้กว่า 1 ปีแล้วครับ
ถือว่าคุมน้ำหนักตัวได้ดีทีเดียว)
เคล็ดลับของวิธีนี้อยู่ที่การประเมินคะแนน
ซึ่งควรมีมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์ในการคิดที่ชัดเจน
ยอมรับได้จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
Note: Weight หรือน้ำหนักของคะแนนในแต่ละหัวข้อไม่จำเป็นต้องเท่ากัน
บางข้ออาจจะ 10/10 บางข้ออาจจะ 20/20 ก็ได้แต่ต้องมีเหตุผลที่เหมาะสม
โฆษณา