22 ส.ค. 2020 เวลา 05:49 • สุขภาพ
หลังผ่าตัดกระดูกหัก ต้องทำตัวอย่างไร ?
วิธีและอุปกรณ์ที่ใช้ผ่าตัดกระดูกหัก
การผ่าตัดรักษากระดูกหักโดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีการยึดตรึงกระดูกด้วยโลหะภายใน โดยแผลผ่าตัดอาจมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งกระดูกหัก ลักษณะการหักของกระดูก และเทคนิคในการผ่าตัด โดยในปัจจุบันมีเทคโนโลยีและเครื่องมือสมัยใหม่หลายชนิดที่ช่วยทำให้แผลผ่าตัดเล็กลงและมีการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อน้อยลงกว่าในสมัยก่อนมาก
โลหะที่ใช้ในการยึดตรึงกระดูกส่วนใหญ่จะเป็นไทเทเนียมอัลลอยด์ หรือสแตนเลสสตีล ซึ่งมีคุณสมบัติคือสามารถอยู่ในร่างกายได้โดยไม่ทำปฏิกิริยาต่อร่างกาย แต่ก็มีการรายงาน ผู้ป่วยที่มีอาการแพ้โลหะ (metal hypersensitivity) หลังผ่าตัดใส่เหล็กยึดตรึงกระดูก ซึ่งจากประสบการณ์ส่วนตัว ผมเคยพบผู้ป่วยที่มีอาการนี้เพียงหนึ่งรายเท่านั้น โดยเป็นผู้ป่วยหลังการผ่าตัดดามเหล็กที่หน้าแข้ง และมีอาการเป็นผื่นแดง คัน บริเวณผิวหนังรอบๆแผลผ่าตัด ซึ่งอาการดังกล่าวจะหายไป หลังจากผ่าตัดเอาเหล็กออกเมื่อกระดูกติดดี
การดูแลตัวเอง หลังผ่าตัดดามกระดูกหัก
การดูแลแผลหลังผ่าตัดดามกระดูกหักนั้นก็เหมือนการดูแลแผลผ่าตัดปกติ คือควรระวังไม่ให้แผลโดนน้ำและทำแผลตามคำแนะนำของแพทย์ โดยทั่วไปหลังการยึดตรึงกระดูกและไม่มีการใส่เฝือกต่อผู้ป่วยจะสามารถเคลื่อนไหวข้อต่อบริเวณที่ผ่าตัดได้ทันที  การเคลื่อนไหวข้อหลังผ่าตัดโดยเร็วจะช่วยให้พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อกลับคืนมาใกล้เคียงปกติ ลดการยึดติดของข้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อไหล่ข้อเข่าและข้อมือที่มีโอกาสเกิดข้อยึดติดได้ง่าย
หลังการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกของขาและสะโพกอาจจะมีการจำกัดการลงน้ำหนักขึ้นอยู่กับบริเวณที่หักและความแน่นหนาของการยึดตรึงกระดูก การเดินโดยที่ต้องจำกัดการลงน้ำหนักต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเดินซึ่งมีชนิดต่างๆ
อ่านบทความนี้ฉบับเต็มได้ที่ >> https://easydoc.in.th/ฟื้นฟู-ผ่าตัดกระดูกหัก/
แหล่งรวมความรู้และข้อมูลด้านโรคกระดูกและข้อ
ติดตามพวกเราได้ทาง
Facebook : fb://profile/112586673527171
Line @easydoc : https://lin.ee/l3SXgQX
#easydoc #กระดูกสันหลัง #หมอกระดูก #หมอออร์โธ #กระดูกและข้อ
โฆษณา