21 ส.ค. 2020 เวลา 03:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ดาร์คเว็บ คืออะไร?
1
123RF
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
"ดาร์คเว็บ" สิ่งนี้หลายคนคงจะเคยได้ยินถึงตำนานอันน่าสยดสยองของมัน ที่หากว่าคุณไม่ได้มีความรู้ในเรื่องของการปิดบังตัวตน เมื่อคุณเข้าย่างกรายเข้าไปในดินแดนสนธยาแห่งโลกโซเชียล
6
คุณจะถูกจับตามองโดยเหล่าแฮคเกอร์สายดาร์ค ที่มีแต่เหล่าอาชญากร ฆาตกรรวมไปถึงพวกโรคจิต ตั้งแต่เหยียบย่างเข้าไป ว่ากันว่าหากคุณทะเล่อทะล่าเข้าไปคุณจะถูกแกะรอยและตามมาไล่ฆ่าถึงหน้าบ้าน
แต่จริงๆ แล้วดาร์คเว็บมันก็ไม่ได้น่ากลัวอะไรในแบบที่ "เค้าว่ากันว่า" ขนาดนั้น เราเลยจะพาไปทำความรู้จักกับเจ้าดาร์คเว็บที่ว่ามันคืออะไร?
123RF
คำว่า Dark Web ค่อนข้างจะให้ความรู้สึกน่ากลัว แถมเหตุการณ์ที่ทำให้ Dark Web นี้โด่งดังขึ้นมาก็คือ ชายที่มีชื่อว่าชื่อ "รอสส์ อุลบริกท์" เจ้าของ website ที่มีชื่อว่า "Silk Road" หรือ "เส้นทางสายไหม" ซึ่ง ก็คือร้านขายยาเสพติดออนไลน์ ซึ่งมีตั้งแต่กัญชายันเฮโรอีน
1
ในที่สุดนายรอสส์ อุลบริกท์ ก็โดนจับ และถูกศาลตัดสินให้จำคุกเป็นเวลากว่า 400 ปี ดาร์กเว็บเลยเป็นที่รู้จักในแง่เลวร้ายแบบอัตโนมัติ
1
WIKIPEDIA PD
ก่อนที่จะไปเจาะลึกถึงดาร์กเว็บ ท่านผู้อ่านลองมาทำความรู้จักความแตกต่างของดาร์กเว็บและเว็บปกติกันก่อน
4
เว็บปกติคือ "เวิร์ล ไวด์ เว็บ" เป็นเว็บที่คนธรรมดาแบบเรา ๆ เข้ากันอยู่ทุกวัน ค้นหาข้อมูลกันได้ผ่านเสิร์ชเอนจิ้นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กูเกิ้ล ยาฮู หรือ Bing เวิร์ลไวด์เว็บจะมีปริมาณเว็บไซท์ประมาณ 1 พันล้านเว็บไซท์
123RF
ต่อมาก็เป็น "ดีพเว็บ" (Deep web) ซึ่งก็คือเว็บไซท์ที่คุณเสิร์ชไม่เจอในกูเกิ้ล เป็นเว็บไซต์ประเภทฐานข้อมูลผู้ใช้งาน เว็บที่เก็บข้อมูลเอกสารต่างๆ ทั้งเอกสารการแพทย์ เอกสารองค์กร เอกสารทางราชการต่างๆ หรือเอกสารทางการธนาคารที่เป็นข้อมูลของลูกค้า ซึ่งเว็บพวกนี้ถึงจะเสิร์ชในเว็บเสิร์ชเอ็นจิ้นไม่เจอ แต่ถ้าผู้ใช้มี URL ของเว็บก็จะสามารถใช้งานได้อย่างปกติ
5
ส่วน "ดาร์คเว็บ" เป็นคำที่ใช้เรียก "เว็บไซต์ที่มีการตั้งใจที่จะซ่อนอำพรางไม่ให้ผู้ใช้งานปกติแบบเราๆ ให้เข้าไปได้ โดยการที่จะเข้าดาร์คเว็บได้นั้นจะต้องมีเครื่องมือเฉพาะเข้าไป ซึ่งเครื่องมือที่ได้รับความนิยมที่สุดในวงการดาร์คเว็บก็คือตัวโปรแกรมที่มีชื่อว่า "TOR"
1
โปรแกรม TOR เป็นซอร์ฟแวร์ฟรี ที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างเสรี โดยโปรแกรมนี้มีชื่อเรียกแบบเต็มๆ ว่า "The Onion Router" หรือ "เราท์เตอร์หัวหอม" ทำให้บรรดาดาร์คเว็บทั้งหลายจะมีนามสกุลต่างจากเว็บปกติธรรมดาที่ใช้ .com .net ฯลฯ เป็น .onion
1
WIKIPEDIA CC ELECTRONIC FRONTIER FOUNDATION
ซึ่งชื่อของมันก็เป็นการอธิบายการทำงานของตัวโปรแกรมนี้ว่าทำงานแบบรับ-ส่งข้อมูลเป็นชั้นๆ คล้ายกับหัวหอม อธิบายง่ายๆ ก็เหมือนกับการที่เราใส่ของลงไปในท่อหนึ่งจากล้านท่อ เมื่อถึงจุดพักที่เหมือนกับชั้นของหัวหอม ของก็จะถูกสุ่มไปใส่อีกท่อหนึ่งจากล้านท่อไปยังชั้นต่อไปแบบนี้วนไปวนมา
การทำงานที่ซับซ้อนของมันจะมีวัตถุประสงค์หลักเลยก็คือช่วยปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานไม่ให้ใครสามารถรู้ถึงกิจกรรมที่ผู้ใช้งานทำในดาร์คเว็บไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปดูเว็บไซต์อะไร โพสต์ข้อความที่ไหน ส่งข้อความหาใครนั่นเอง
3
ด้วยความที่มันไม่สามารถตามรอยได้ง่ายๆ และการเข้าใช้งานค่อนข้างยุ่งยาก จึงทำให้เป็นที่ฮอตฮิตสำหรับบรรดาสิ่งผิดกฎหมายต่างๆ ให้พากันเฮโลลงไปซุกซ่อนตัวอยู่ภายในดาร์คเว็บอย่างเป็นล่ำเป็นสัน
1
123RF
ซึ่งก็ทำให้ความรับรู้ของคนส่วนใหญ่เกี่ยวกับดาร์คเว็บเป็นอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ก็คือ ความเป็นตลาดมืดออนไลน์ มีของผิดกฎหมายต่างๆ ขาย ไม่ว่าจะเป็นยาเสพติด หรือจะเป็นการซื้อขายข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลประจำตัวที่มีเลขบัตรประชาชน เลขประกันสังคม ที่อยู่ หรือข้อมูลบัตรเครดิตที่มีทั้งเลขบัตรและเลข CVV ด้านหลัง ซื้อไปแล้วสามารถเอาไปใช้ได้เลย
2
การซื้อขายซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายอย่างพวกมัลแวร์ต่างๆ ที่ใช้ในการเรียกค่าไถ่ข้อมูลสำคัญในคอมพิวเตอร์, บริการแฮคเกอร์ต่างๆ , มือปืนรับจ้าง การซื้อขายบริการแบบผิดกฎหมายอย่างการซื้อบริการทางเพศจากเด็ก การรับทำอะไรแปลกๆ สนองความต้องการของผู้ว่าจ้าง เรียกว่ารวมความต้องการสุดยอดวิปริตทุกประเภทไว้ทั้งหมด
1
123RF
โดยการซื้อขายสินค้าและบริการเหล่านี้ ผู้ใช้ดาร์คเว็บส่วนใหญ่จะใช้ cryptocurrency หรือเงินสกุลดิจิตอล เช่น บิทคอยน์ มาเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนแทนเงินสด ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนามาใช้เงินสกุลดิจิตอลที่เรียกว่า privacy coin ที่เป็น cryptocurrency ที่ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลในการทำธุรกรรมมาใช้เพื่อความชัวร์ยิ่งกว่าเดิมว่าจะไม่สามารถตามรอยผู้รับและผู้ให้ได้
เช่นเดียวกันกับเรื่องของการเข้าถึงในการบังคับใช้กฎหมาย ดาร์กเว็บก็ไม่ได้อยู่ในที่ ๆ กฎหมายเข้าไม่ถึงนะ มีการตามจับคนที่ซื้อขายให้บริการ ซื้อขายของผิดกฎหมายกันเป็นประจำ เทคนิคตำรวจง่าย ๆ บางทีก็ใช้ได้ผลอย่างไม่น่าเชื่อ เช่นการล่อซื้อ เป็นต้น
4
123RF
ส่วนข้อสงสัยแนวดราม่า ๆ ว่าถ้าหากเราเข้าไปแล้วเราจะถูกตามมาฆ่าไหม?
4
เรื่องนี้มันอาจจะดูจินตนาการล้ำมากไปสักหน่อย จริงๆ แล้วสิ่งที่สมควรกลัวหากเข้าไปในดาร์คเว็บก็คือการคลิกอะไรมั่วๆ ต่างหากที่จะสร้างความเดือดร้อนให้กับชีวิตเมื่อเข้าไปดาร์คเว็บ เพราะการกระทำดังกล่าวนั้นอาจจะนำพาไวรัส มัลแวร์ต่างๆ มาให้กับอุปกรณ์ของคุณ ถ้ายิ่งเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน มีการใช้ทำธุรกรรมต่างๆ ตรงนี้แหละที่น่ากลัวว่ามันจะถูกขโมยไป
2
123RF
จากสิ่งที่เล่าไปอาจจะมองว่า มีแต่สิ่งผิดกฎหมายทั้งนั้น จริงๆ แล้วดาร์คเว็บก็มีข้อดีของมันอยู่ หลักๆ เลยก็คือการรักษาความเป็นส่วนตัวแบบสุดๆ ให้กับผู้ใช้ที่ไม่ต้องกังวลว่ากิจกรรมต่างๆ ที่ทำจะมีใครรู้
3
ซึ่งข้อดีตรงนี้เนี่ยแหละที่มันสามารถใช้ในทางที่ดีอย่างเช่น การเปิดเผยข้อมูลทุจริตในภาครัฐแบบไม่อยากแสดงตัวตน หรือ การเคลื่อนไหวทางการเมืองต่าง ๆ การติดต่อกันของนักกิจกรรมหรือธุระเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่ต้องหลบเลี่ยงการสปายของเจ้าหน้าที่รัฐ
2
123RF
ซึ่งถ้าดูในข้อมูลของ TOR BROWSER เองจะพบว่า จาก user ที่เข้าใช้ TOR วันละ 2 ล้านราย มีเพียง 1.5% เท่านั้นที่ใช้บราวเซอร์เพื่อการเข้าเว็บไซท์หลบซ่อน โดยมากผู้ใช้ TOR ใช้เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในการใช้เว็บไซท์ประจำวันนี่แหละ เพราะ TOR จะไม่เก็บข้อมูลผู้ใช้เพื่อ feed โฆษณา หรือ ขายต่อให้นักการตลาด อย่างที่เราโดน ๆ กันอยู่จนกลายเป็นชีวิตประจำวันไปแล้ว
5
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา