19 ส.ค. 2020 เวลา 08:37 • ธุรกิจ
ซื้อถือยาว VS เก็งกำไรระยะสั้น กลยุทธ์ไหนเจ๋งกว่ากันในยามที่ตลาดผันผวน
หลังจากที่ราคาของสินทรัพย์ดิจิทัลปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนทั้งมือใหม่ มือเก๋าให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ทั้งเหรียญหลักอย่าง BTC ETH XRP LTC BCH หรือเหรียญเล็ก ๆ อย่าง Altcoin บางตัวปรับเพิ่มขึ้นสูงกว่า 400 % ภายในระยะเวลาอันสั้น นอกจากประเด็นเรื่องของเหรียญไหนปัง เหรียญไหนแป้กแล้ว ก็ยังมี Topic ที่ฮิตกันในกลุ่มนักลงทุนก็คือ “กลยุทธ์” ไหนที่เหมาะสมหรือสามารถทำกำไรในสินทรัพย์ดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้ของซิปเม็กซ์จะมาทดสอบอะไรให้ทุกคนดูครับ
เราจึงหยิบ 2 กลยุทธ์ที่ง่ายและเป็นกลยุทธ์ที่นักลงทุนสาย Quantitative มักจะนิยมใช้ทดสอบกัน คือ Buy and Hold คือซื้อแล้วถือไปยาว ๆ ไม่ซื้อเพิ่ม ไม่ขายออกระหว่างทาง อีกกลยุทธ์หนึ่งคือการใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อเข้ามาจับจังหวะในการซื้อขาย แต่เนื่องจากเราไม่ต้องการชี้นำ เราจึงขอไม่เปิดเผยว่ากลยุทธ์ในการเข้าซื้อ ขาย มีเงื่อนไขอย่างไรเพราะนั่นไม่ใช่สิ่งที่เราอยากจะสื่อกับทุกคนครับ
1. กลยุทธ์ Buy and Hold
สมมุติฐาน เงินลงทุนตั้งต้น 1 ล้านบาท
สินทรัพย์ดิจิทัลที่หยิบมาทดสอบ คือ Bitcoin
ช่วงเวลาที่ทำการทดสอบ 1/1/2020 – 1/08/2020
มีผลการทดสอบดังต่อไปนี้ (ตามรูปประกอบด้านล่าง)
จากเงิน 1 ล้านบาทที่ลงทุนซื้อ BTC ขยับขึ้นมาเป็น 42.5 ล้านบาทภายใน 5 ปีกับ 8 เดือน คิดเป็นผลตอบแทนทั้งสิ้น 4153 % หรือเป็นต่อปี 96 %
ซึ่งจากตัวเลขนี้ทุกคนคงโอเคมาก ๆ กับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพราะไม่ว่าจะหาสินทรัพย์ เสี่ยงจากไหนก็ไม่สามารถสร้างผลตอบแทนเท่านี้ได้ แต่ช้าก่อนครับ มีสิ่งหนึ่งที่อยากจะชี้ให้ทุกคนดูคือสิ่งที่เรียกว่า Max drawdown % หรือช่วงที่พอร์ตของเราลดต่ำลงมากที่สุด จากกลยุทธ์ซื้อแล้วถือยาวใน Bitcoin นั้นมีค่า Max drawdown % ถึง 83 % นั่นหมายความว่ามีบางช่วงเวลาที่พอร์ตของเราติดลบไปกว่า 83 % ก็คือช่วงสิ้นปี 2018 นั่นเองครับ
เอาจริง ๆ แล้วไม่มีใครยอมรับผลขาดทุนที่ลึกแบบนี้ได้หรอกครับ เครียดกัดเล็บมือฉีกกันพอดี!! ดังนั้นสายของนักลงทุนแบบ Quantitative Investor จึงมีการเปรียบผลตอบแทนกับความเสี่ยงแบบง่าย ๆ ชื่อว่า Mar Ratio โดยผลตอบแทนต่อปี มาหารด้วย Max DD % จะมีค่าอยู่ที่ 1.16 ซึ่งเป็นค่าที่กลาง ๆ ยังไม่น่าสนใจเท่าไหร่เพราะผลตอบแทนต่อความเสี่ยงใกล้เคียงกัน
ส่วนตัวเลขด้านล่างนั้นคือผลตอบแทนราย เดือนของแต่ละเดือนว่าเป็นอย่างไรบ้าง
ข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจจากตัวนี้บอกเราได้ว่าผลตอบแทนของ Bitcoin ในช่วงเดือน Jan Mar Sep โดยเฉลี่ยติดลบ เดือน Jan ติดลบเฉลี่ย -6.49 % ,Mar -11.82 % ,Sep -4.49 % นั่นอาจทำให้เราอาจจะไปหาข้อมูลเพิ่มเติมว่าใน 3 เดือนนี้มีอะไรพิเศษรึเปล่า จะได้หลีกเลี่ยงลงทุนในช่วงนี้ เป็นต้น
2. กลยุทธ์จับจังหวะซื้อขายโดยใช้ Technical Analysis
สมมุติฐาน เงินลงทุนตั้งต้น 1 ล้านบาท
สินทรัพย์ดิจิทัลที่หยิบมาทดสอบ คือ Bitcoin
ช่วงเวลาที่ทำการทดสอบ 1/1/2020 – 1/08/2020
ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย 0.2 %
มีผลการทดสอบดังต่อไปนี้ (ตามรูปประกอบด้านล่าง)
จากเงินทุน 1 ล้านบาทขยับเพิ่มขึ้นมาเป็น 30 ล้านบาท
คิดเป็นผลตอบแทนทั้งสิ้น 2900 % หรือเป็นผลตอบแทนต่อปีที่ 84.11 % ครับ
หากมองแค่นี้ก็ถือได้ว่าพอร์ตนี้โตช้ากว่ากลยุทธ์ Buy and Hold ถึง 12 ล้านบาท
แต่มองแค่ผลตอบแทนโดยที่ไม่คำนึงถึงความเสี่ยงไม่ได้ครับ ด้วยความที่กลยุทธ์นี้มีการซื้อขายที่ชัดเจนทำให้ในหลาย ๆ ครั้งสามารถป้องกันพอร์ตเราจากความเสียหายได้ทันท่วงที ทำให้มีค่า Max drawdown % อยู่ที่ 39 % ต่างกับกลยุทธ์แรกถึงครึ่งหนึ่ง Mar Ratio จึงมีค่าที่สูงขึ้นเป็น 2.16 แปลว่าผลตอบแทนต่อความเสี่ยงดีขึ้นกว่าเดิม และกลยุทธ์ง่าย ๆ แบบนี้ให้ความแม่นยำในการซื้อขายถึง 62.5 % หรือก็คือ หากเทรด 100 ครั้ง จะได้กำไรประมาณ 62 ครั้งครับ
และจากข้อมูลในรูปประกอบของเรา ปีที่ได้ผลตอบแทนเยอะที่สุดคือปี 2017
คือบวกไปกว่า 596.51 % ปีที่ขาดทุนมีเพียงปีเดียวคือ 2018 ขาดทุนไป 15.61 %
สำหรับผลการทดสอบย้อนหลังนี้เราไม่ได้ต้องการบอกว่าอะไรดีกว่ากัน
เพราะกลยุทธ์ในการซื้อขายนั้นมีมากมายเหลือเกินครับ มันอยู่ที่ว่าคุณเป็นนักลงทุนแนวไหน เชื่อมั่นในหลักการอะไร เพราะทุกกลยุทธ์ก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป เช่น กลยุทธ์ Buy and Hold ได้กำไรเยอะกว่า แต่ช่วงเวลาที่เกิดขาดทุนก็ขาดทุนหนักกว่า ส่วนการใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคมาจับจังหวะซื้อขายอาจจะได้ผลกำไรน้อยกว่า
แต่ Max DD % ก็น้อยกว่า ความเครียดก็น้อยกว่า แต่คุณก็ต้องมีเวลาให้กับการเทรดพอสมควรและต้องมีวินัยในการทำตามระบบตลอด
อีกหนึ่งข้อเสียคือเรื่องของค่าธรรมเนียมการซื้อขาย ระบบนี้ที่ผมออกแบบมาเป็นระบบง่าย ๆ ที่ความถี่ในการซื้อขายไม่สูงมาก ไม่ใช่ซื้อเช้าขายเที่ยง ซื้อบ่ายขายเย็น จะออกแนว Short Term Trading มากกว่า
ผมก็เลยอยากจะเอาผลทดสอบอีกตัวหนึ่งมาให้ดูกันครับว่า “หากใช้กลยุทธ์การซื้อขายเดียวกัน แต่คนหนึ่งเสียค่าธรรมเนียม อีกคนหนึ่งไม่เสีย” ผลลัพธ์การลงทุนของคุณจะดีขึ้นเพียงใด ไปดูกันครับ
3. กลยุทธ์จับจังหวะซื้อขายโดยใช้ Technical Analysis (No Fee)
สมมุติฐาน เงินลงทุนตั้งต้น 1 ล้านบาท
สินทรัพย์ดิจิทัลที่หยิบมาทดสอบ คือ Bitcoin
ช่วงเวลาที่ทำการทดสอบ 1/1/2020 – 1/08/2020
ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย ไม่เสียค่าธรรมเนียมการซื้อขาย
มีผลการทดสอบดังต่อไปนี้ (ตามรูปประกอบด้านล่าง)
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ จากเงิน 1 ล้านบาท กลายเป็น 37.5 ล้านบาท !!
นั่นหมายความว่า…ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายตลอดหลายปีนั้นกว่า 7.5 ล้านบาท เลยทีเดียวครับ
หลายคนเห็นตัวเลขนี้แล้วอาจสงสัยว่าใช้รึเปล่า ผมเขียน Code ถูกหรือไม่…ถูกแล้วครับ ใครที่ลงทุนมานาน ยิ่งซื้อขายบ่อย ๆ จะทราบดีว่า ค่าธรรมเนียมที่เราเสียไประหว่างทางมากมายแค่ไหนกัน
อดีต Prop Trade หรือ Proprietary Trader ใน Futures อย่างผมการันตีได้เลยว่าการที่นักลงทุนแต่ละคนเสียค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันมีผลต่อการซื้อขายอย่างมาก ในอดีต Prop Trade จะถูกหมั่นไส้มาก ๆ เรื่องของการเสียค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่า (แต่ก็ยังเสียนะครับ) เพราะสามารถซื้อขายเข้าออกได้ที่ราคาต้นทุนเลย เช่น ซื้อไปที่ 100 บาท ถ้าดูท่าไม่ดีก็ขายออกได้เลยเพราะต้นทุนเราต่ำ
แต่นักลงทุนปกติก็ต้องรอให้เลยทุนไปหน่อย เพื่อให้หักลบกับค่าธรรมเนียมทั้งขาซื้อและขาขาย ยิ่งถ้าราคาลงก็เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัดเลยครับ
แต่ในวันนี้สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล
เราไม่จำเป็นต้องเสียค่าธรรมเนียมการซื้อขายอีกต่อไปแล้วครับ เพราะเราต้องการ มอบประสบการณ์ที่ดีในการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลให้กับทุกคน นั่นคือซื้อขายกับซิปเม็กซ์ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม เหมือนว่าคุณคือ Prop Trade ในสินทรัพย์ดิจิทัลดี ๆ นี่เอง
ในอดีตอาชีพนี้รับคนยากมาก คุณต้องมีประสบการณ์ลงทุนมานาน มีฝีมือการเทรดแบบที่เรียกว่าจัดจ้านในย่านนี้ เพื่อที่ได้รับเงินทุนและจะเสียค่าธรรมเนียมถูกกว่า
แต่ซิปเม็กซ์ของเรา…ฟรีค่าธรรมเนียมการซื้อขายเลยครับ ฉะนั้นอยากให้ทุกคนที่สนใจลองเข้ามาลงทุนซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลกับเราครับ
แล้วคุณจะรู้ว่าการไม่เสียค่าธรรมเนียมมันเทรดได้สนุกแค่ไหน
โฆษณา