20 ส.ค. 2020 เวลา 12:54 • ประวัติศาสตร์
บทความนี้ขออุทิศให้กับผู้ที่ต่อสู้ต่อเพื่ออิสรภาพ
“กุหลาบขาว”
เหล่านักศึกษาที่ถูกฆ่าเพียงเพราะคำว่าเห็นต่าง
ในปีค.ศ.1942
กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยมิวนิค ประเทศเยอรมนี
ได้จัดตั้งกลุ่มต่อต้านที่ไม่ใช้ความรุนแรงที่เรียกว่า
“กุหลาบขาว” (White Rose)
นำโดยนักศึกษาแพทย์ 5 คน ได้แก่
Willi Graf
Christoph Probst
Alex Schmorell
Hans Scholl
Sophie Scholl
และ Kurt Huber
ศาสตราจารย์ด้านปรัชญาในมหาวิทยาลัยของพวกเขา
Hans Scholl เคยเป็นสมาชิกยุวชนฮิตเลอร์มาก่อน
เขาเคยหลงไหลในตัวฮิตเลอร์ แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป อุดมการณ์ของนาซีที่เคยมีมันหายไป
มันเปิดเผยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงอันเลวร้ายออกมา
กุหลาบขาวเปิดตัวครั้งแรกด้วยการแจกแผ่นพับต่อต้านนาซี พวกเขาต้องการแจ้งให้ประชาชนชาวเยอรมันทราบถึงความโหดร้ายของนาซี
และกระตุ้นให้ประชาชนต่อต้านระบอบการปกครอง
แผ่นพับจำนวน 4 หน้า
ซึ่งเปิดเผยและประณามการสังหารโหดของนาซีและ SS รวมถึงการกวาดล้างชาวยิวและชนชั้นสูงของโปแลนด์
กุหลาบขาวเขียนแผ่นพับด้วยมือและทำสำเนาโดยใช้เครื่องทำสำเนาแบบมือหมุน
แผ่นพับชุดแรกทั้งหมดถูกส่งไปยังนักศึกษาและอาจารย์คนอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยทั่วเยอรมนี
แต่ชัยชนะใช่ว่าจะตกอยู่กับความยุติธรรมเสมอไป
เมื่อการวิพากษ์วิจารณ์ฮิตเลอร์หรือนาซีสามารถเป็นเหตุให้เกสตาโป(ตำรวจลับของเยอรมนี) สามารถใช้อำนาจในการจับกุมผู้ที่แสดงความเห็นต่างและผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ได้
โดยพวกเขาถูกหาว่า
“เป็นบุคคลเบี่ยงเบนความจงรักภักดีต่อรัฐ”
18 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1943
โซฟีและฮันส์ออกใบปลิวระบุข้อความว่า
“วันแห่งการพิจารณามาถึงแล้ว...
พวกเราชาวเยาวชนเยอรมันยอมทนถูกการกดขี่ข่มเหงที่น่ารังเกียจที่สุดมาตลอด
ในนามของคนเยอรมันทั้งหมด
ขอเรียกร้องให้รัฐ และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์
คืนอิสรภาพของเรา
อิสรภาพที่เป็นสมบัติล้ำค่าที่สุดของชาวเยอรมัน
ที่พวกคุณคดโกงและขโมยจากพวกเรามาอย่างมีเล่ห์เหลี่ยม”
ฮันส์ (ซ้าย) และโซฟี (กลาง)
ภารโรงที่มหาวิทยาลัยมิวนิคเห็นทั้งสองคนติดใบปลิวนี้
จึงได้แจ้งแก่เกสตาโป(ตำรวจลับของเยอรมนี)
ทั้งสองคนถูกควบคุมตัวทันทีในวันนั้น
และถูกทรมานทรกรรม
เค้นความลับจนสามารถจับแกนนำได้ทั้งห้าคน
5 วันต่อมา
ทั้งหมดถูกสอบสวนและประหารชีวิต
ด้วยการตัดหัว
การประหารชีวิตด้วยการตัดหัว
เป็นการลงโทษที่สงวนไว้สำหรับผู้ที่ถูกข้อหา
“ผู้ทรยศต่อรัฐ” เท่านั้น
ก่อนการประหาร ฮานส์ได้ตะโกนขึ้นมา
“ขอให้เสรีภาพจงยืนยาว”
โฆษณา