20 ส.ค. 2020 เวลา 14:42 • สุขภาพ
เคลียร์ชัดๆ
2เคสโควิดรามาฯ
เริ่มเรื่องจากมีบุคคลท่าหนึ่งโพสต์ข้อมูลลงเฟซบุ๊คเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2563 ว่า "รามา มีรายงาน detectable" ซึ่งแปลว่า "ตรวจพบเชื้อโรคโควิด"
ทำให้ในช่วงค่ำวันดังกล่าว ผู้บริหารรพ.รามาฯและกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ต้องแถลงข่าวด่วน หลังมีการตรวจสอบแน่ชัด
ปรากฎว่า รายดังกล่าว เพศหญิง อายุ 34 ปี เดินทางกลัยจากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เข้ารับการกักตัวครบ 14 วันได้รับอนุญาตให้กลับภูมิลำเนา จ.ชัยภูมิ ก่อนกลับมาตรวจเพราะจะเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ผลออกมาวันที่ 18 ส.ค. พบสารพันธุกรรมในปริมาณน้อย จึงมีการเจาะเลือดตรวจพบมีภูมิคุ้มกัน จึงเป็นผู้ติดเชื้อรายเดิม ที่มีการตรวจพบซากเชื้อ ไม่มีความสามารถในการแพร่โรค
ทว่า ในการแถลงข่าวมีการรายงานเพิ่มเติมอีก 1 ราย เป็นหญิงวัย 35 ปี เดินทางกลับจากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เข้ารับการกักตัวในสถานที่ที่รัฐจัดให้จนครบ 14 วัน เมื่อเข้ารับการตรวจก่อนเดินทางไปต่างประเทศอีกครั้ง ผลตรวจเจอสารพันธุกรรมไวรัสปริมาณน้อย และต้องส่งตัวอย่างตรวจยืนยันเชื้อซ้ำว่าติดโรคโควิดหรือไม่
กระทั่งเย็นของวันที่ 20 สิงหาคม 2 หน่วยงานมีการแถลงร่วมกันอีกครั้ง
สรุปว่า การตรวจซ้ำ 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 18 และ 20 ส.ค.ไม่พบสารพันธุกรรมไวรัส และ ตรงกับผลการตรวจของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นอกจากนี้ มีการตรวจเลือดเพื่อดูภูมิคุ้มกัน พบว่าเป็นบวก หมายความ บุคคลนี้เคยติดเชื้อจริง แต่ในเชิงวิชาการ โอกาสเป็นไปได้ของการติดเชื้อขณะอยู่ที่ยูเออีจนถึงปัจจุบัน
เท่ากับรายนี้ "ไม่ใช่ผู้ป่วยโควิด" เป็นแค่คนเคยติดเชื้อมาแล้ว ซี่งเป็นไปได้สูงที่จะติดตอนอยู่ในต่างประเทศ และทีมที่ดูแลรักษาค่อนข้างมั่นใจว่าเป็นส่วนของไวรัสที่ไม่ทำให้เกิดการติดต่อขึ้น !!!!
แต่เพื่อสร้างความมั่นใจและลดความตื่นตระหนกของคนไทยเกี่ยวกับกรณีนี้ลง รพ.รามาฯจึงให้อยู่ในรพ.ต่อไป และตรวจเพิ่มยืนยันอีก 2 อย่าง
1.นำสารพันธุกรรมไวรัสที่ตรวจเจอมาเพาะเชื้อว่าขึ้นหรือไม่ หากไม่ขึ้นก็แสดงว่า ไม่มีชีวิตแล้ว และไม่สามารถแพร่เชื้อต่อได้ อยู่ระหว่างรอผล
และ2.ผลออกแล้วพบว่าเป็นเพียงชิ้นส่วนไวรัสที่ไม่สมบูรณ์เหมือนเศษซากแล้ว
"รายนี้ไม่ถือเป็นผู้ป่วยโรคโควิด
เพราะตรวจหาเชื้อ 2 ครั้งเป็นลบ แต่ที่บวกหนึ่งครั้ง และมีภูมิคุ้มกัน แสดงว่าเคยติดเชื้อ แต่เป็นการติดในอดีตที่ผ่านมาคงอยู่ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ไม่น่าจะติดเชื้อเร็วๆ นี้ อาจจะติดมาตั้งแต่ที่อยู่ที่ดูไบ หรืออยู่ใน จ.เลย แต่ไม่น่าอยู่ในกทม. แต่ด้วยข้อมูลระบาดวิทยาที่ผ่านมา ประเทศไทย ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศ และมีการตรวจคนไข้เข้าข่ายสอบสวนโรคแต่ก็ไม่พบการติดโรคโควิด จึงมั่นใจว่าโอกาสติดเชื้อในประเทศน้อยมาก แต่ยังต้องรอผลการสอบสวนโรคเพื่อความมั่นใจ" ผศ.นพ.ชนเมธ เตชะแสนศิริ รองผอ.รพ.รามาธิบดี กล่าว
อย่างไรก็ตาม การจะสามารถพูดได้ 100 % ว่ารายนี้ "ไม่ได้ติดเชื้อภายในประเทศไทยแน่ๆ" จะต้องรอผลการตรวจหาเชื้อในผู้สัมผัสใกล้ชิดทั้งในพื้นที่จ.เลยและกทม.รวม 24 คน
หากผลออกมาว่า "ไม่มีใครติดเชื้อ" ก็จะชัดเจนว่า รายนี้เคยติดเชื้อแล้วตอนที่อยู่ในต่างประเทศ
สรุป 2 รายนี้ รายแรกเป็นผู้ป่วยเคยยืนยันติดเชื้อและตรวจเจอซ้ำเป็นซากไวรัส ที่ไม่แพร่ต่อ และรายที่2 ไม่ใช่ผู้ป่วยโควิดในไทย แต่เป็นผู้เคยติดเชื้อแล้ว ซึ่งโอกาสสูงที่จะติดตอนอยู่ต่างประเทศ
โฆษณา