25 ส.ค. 2020 เวลา 00:00 • ธุรกิจ
วิกฤติยังไม่จบ การล้มละลายยังรออยู่อีกเพียบ (รายงานพิเศษของ Bloomberg)
แม้ว่าตอนนี้ทั่วโลกจะมองว่าภาวะวิกฤติเศรษฐกิจที่เป็นผลมาจากการแพร่ระบาด
ของโควิด19 น่าจะผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว และนักลงทุนก็มีความเชื่อมั่นมากขึ้น ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกพุ่งสูงขึ้นอีกครัั้ง แม้จะมีพักบ้าง แต่แนวโน้มก็ยังคงเป็นขา
ขึ้นเรื่อย ๆ
แต่ดูเหมือนว่าสถานการณ์ต่อจากนี้ยังคงน่าเป็นห่วง เพราะนักลงทุนและนักวิเคราะห์ระดับโลกหลายคนคาดการณ์ว่าหลังจากนี้จะมีการผิดนัดชำระหนี้และล้มละลายของบริษัทอีกจำนวนมาก
โดย Bloomberg ได้ทำรายงานพิเศษเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีชื่อคลิปในยูทูปว่า Bloomberg Special Report: The Bankruptcy Breakdown เป็นสกู๊ปที่เลอค่ามาก ๆ เลย
ครับ เพราะ Bloomberg ได้สัมภาษณ์ความเห็นจากทั้งนักเศรษฐศาสตร์ นักลงทุน
นักวิเคราะห์และนายธนาคารชั้นนำของโลก ทำให้ได้ฟังจากหลายมุมมองและ
ยังเรียบเรียงเนื้อหาได้ดีมาก ถ้าเพื่อน ๆ คล่องภาษาอังกฤษและมีเวลาว่างสักนิด
ผมแนะนำให้ไปฟังจากต้นฉบับกันด้วยนะครับ
ส่วนผมขอสรุปคร่าว ๆ ตามความเข้าใจของผมแล้วกันครับ ถ้าผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยไว้ล่วงหน้าเลยนะครับ
ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันนั้นบริษัททั่วโลกที่ล้มละลายมีมูลค่ารวมกันกว่า 33,000 ล้าน
เหรียญสหรัฐ ซึ่ง Edward Altman นักเศรษฐศาสตร์ที่เชี่ยวชาญด้านการคำนวณ
โอกาสการล้มละลายของบริษัท นั้นคาดว่าจนถึงสิ้นปีตัวเลขนี้น่าจะไปถึง 65,000
ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะทำลายสถิติสูงสุดของปี 2009 ที่ทำไว้ 49,000 ล้านเหรียญ
สหรัฐอย่างแน่นอน
นอกจากนี้ยังมีปัญหาหนี้สินที่เพิ่มขึ้นมหาศาล และการผิดนัดชำระหนี้ที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ อีก แน่นอนว่าหนี้เหล่านั้นเกิดจากการที่ธุรกิจต่าง ๆ กู้มาเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้
ธุรกิจยังคงไม่ล้มในระหว่างที่รายได้หายไปในช่วงการปิดเมือง เพราะธุรกิจไม่ได้ล้มเพราะขาดทุน แต่ล้มเพราะขาดสภาพคล่อง
ทีนี้ปัญหาคือวิกฤตครั้งนี้มันกระทบไปทั่วทุกหย่อมหญ้า ทำให้ปัญหาของธุรกิจแต่ละประเภทนั้นมีความเฉพาะตัวมาก ๆ และบางธุรกิจยังต้องเจอกับการถูก disrupt อีก
เช่น ธุรกิจน้ำมัน และสถาบันการเงิน เป็นต้น ซึ่งเป็นโจทย์ที่ยากมากๆ สำหรับ
รัฐบาลและธนาคารกลางที่จะออกนโยบายมาให้ตอบโจทย์กับความหลากหลายของปัญหานี้ได้ สุดท้ายจึงทำได้แค่การอัดฉีดเงินเพื่ออุ้มทุกธุรกิจไว้ให้อยู่รอด
ประเด็นคือการอัดฉีดเงินนี้แม้จะสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนได้ แต่มันไม่ได้ทำ
ให้ปัญหานั้นหมดไป แถมอาจเป็นต้นเหตุของปัญหาในอนาคตอีกด้วย เพราะมันเป็นการเพิ่มภาระหนี้ในอนาคตให้กับแต่ละบริษัท นั่นหมายความว่าในระยะยาวบริษัทที่ไม่สามารถกลับมาทำกำไรได้ก็จะต้องล้มละลายอยู่ดี ส่วนบริษัทที่จะรอดได้นั้นต้อง
ฟื้นตัวขึ้นมาให้ได้อย่างรวดเร็ว (เป็น V-Shaped) เพื่อจะสามารถใช้ประโยชน์จาก
เงินกู้นั้นมาสร้างกำไรให้บริษัทเติบโตแบบก้าวกระโดดและสามารถใช้หนี้ได้อย่าง
ไม่มีปัญหา
Matt King นักกลยุทธ์จาก CITIGROUP ได้เปรียบเทียบสถานการณ์ตอนนี้ได้เจ็บ
แสบมากครับ คือเขาบอกว่าตอนนี้เหมือนคุณทำบ้านเช่าแล้วลูกบ้านคุณไม่มีเงินมา
จ่ายค่าเช่า แทนที่คุณจะไล่เขาออก คุณกลับบอกว่าไม่เป็นไรติดหนี้ไว้ก่อนได้ ซึ่งคุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเขาจะมีเงินมาจ่ายคืนคุณในอนาคต แล้วถ้าเป็นแบบนี้ต่อไป
เรื่อย ๆ มันก็จะสร้างปัญหาต่อมาถึงคุณและคนอื่น ๆ อีกด้วย
เขายังกล่าวต่ออีกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้มันเรียกว่า Zombification (การสร้างซอมบี้) โดยเปรียบบริษัทต่าง ๆ ที่ถ้ารัฐไม่อุ้มไว้คงล้มไปแล้วนั้นเหมือนซอมบี้ คือความจริง
มันได้ตายไปแล้วไม่สามารถทำประโยชน์ได้ แต่ถูกเลี้ยงให้ยังเดินแบบไร้วิญญาณ
ได้ด้วยหนี้
สุดท้ายแล้วเมื่อบริษัทที่เป็นซอมบี้นี้มีหนี้สูงขึ้นจนท่วมหัว แม้ว่าจะฟื้นตัวจนมีรายได้
จะกลับมาเหมือนเดิม แต่ก็ไม่สามารถชำระหนี้ได้ไหวอยู่ดี ทำให้การขอล้มละลาย
และฟื้นฟูกิจการจึงเป็นทางออกสุดท้าย เพราะฉะนั้นการอัดฉีดเงินตอนนี้นั้นไม่
สามารถแก้ปัญหาการล้มละลายของบริษัทได้ทั้งหมด แต่เป็นแค่การเลื่อนเวลาการ
ล้มละลายไปเท่านั้นเอง
ดูเหมือนว่าต่อจากนี้เราอาจจะต้องเหนื่อยกันต่อ อยากให้เพื่อน ๆ ให้กำลังใจกันและกันนะครับ เราจะผ่านมันไปด้วยกัน
แล้วเพื่อน ๆ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร คอมเมนท์มาเลยครับ
.
/แอดปุง
โฆษณา