24 ส.ค. 2020 เวลา 02:20 • ปรัชญา
อำนาจ!คือ... อะไร?
เครดิตภาพ: http://www.lokwannee.com
คำว่า “ อำนาจ ” ในปรัชญาของนิชเช่ (Friedrich Nietzsche)นั้น มีความหมายไม่เหมือนกับของคนอื่นๆ เขากล่าวว่า “ คนที่มีกิเลสแก่กล้า และรู้จักใช้พลังกิเลสของตนเองให้แสดงออกมาในทางสร้างสรรค์ ” เช่น สร้างงานศีลปะ ดนตรี ประดิษฐ์กรรมทางวิทยาศาสตร์ ความคิด ทฤษฏีปรัชญา ฯลฯ เหล่านี้คือ
"อำนาจ" เป็นอำนาจในทางบวก
ซึ่งตรงกันข้ามกับอำนาจในทางกดขี่ผู้อื่น หรือบังคับคนอื่นให้อยู่ใต้อำนาจของตน
การที่มนุษย์มีจะกิเลสนั้นเป็นเรื่องธรรมดา เป็นสิ่งธรรมชาติ แต่กับคนที่มีกิเลสแก่กล้าและสามารถข่มกิเลสของตนเองได้ และแปรสภาพจากกิเลสให้เป็นพลังในการสร้างสรรค์ คนเช่นนั้นแหละ เรียกว่า “ ผู้มีอำนาจ ” หรือ “ อภิมนุษย์” (Superman/Overman)
เครดิตภาพ: http://www.korbooks.com
นิชเช่มีความเชื่อว่า ในสังคมมนุษย์และโลกแห่งความเป็นจริงมีลักษณะของ “ ปลาใหญ่กินปลาเล็ก ” อยู่ในทุกที่ทุกหนแห่ง
ซึ่งผู้ที่สมบูรณ์และแข็งแรงกว่าเท่านั้นที่จะอยู่รอดและสมควรจะได้รับโอกาสที่ดีกว่าผู้ที่อ่อนแอ อ่อนด้อยในสังคม
1
ฟรีดิช นิชเช่ (Friedrich Wilhelm Nietzsche)
เพราะพื้นฐานของมนุษย์โดยทั่วไปนั้น มักเป็นผู้ที่แสวงหาอำนาจที่เหนือกว่าผู้อื่นอยู่แล้วโดยธรรมชาติ
ซึ่งเขาเรียกสิ่งนี้ว่า “ เจตจำนงที่จะมีอำนาจ ”( Will to Power ) หรือความต้องการที่จะมีอำนาจนั่นเอง...
ในหนังสือ Thus spoke zarathusra นิชเช่กล่าวไว้ว่า “ เจตจำนงที่จะมีอำนาจ อยู่เบื้องหลังของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย และวัตถุทุกอย่างในธรรมชาติ ” กล่าวคือ อันติมะหรือความจริงอันสูงสุด ก็คือ เจตจำนงที่จะมีอำนาจ ( Will to Power ) ซึ่งเป็นที่มาหรือบ่อเกิดของทุกสรรพสิ่ง
เจตจำนงคือสิ่งที่สร้างสรรค์สิ่งทั้งหลายขึ้น แม้กระทั้งวัตถุทางธรรมชาติก็มีเจตจำนงนี้แทรกอยู่
และเป็นพลังที่ผลักดันทุกสิ่งทุกอย่างให้เคลื่อนไหว ให้มีชีวิตไปตามแรงผลัดดันนี้ ทุกสิ่งจึงเกิดขึ้นจากเจตจำนงที่จะมีอำนาจ
แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะสามารถไขว่คว้าและมีอำนาจได้ตามที่ใจปรารถนา
และในอีกด้านหนึ่งของอำนาจ นิชเช่ก็เชื่อว่า...
อำนาจคือแรงขับที่ทำให้มนุษย์ต้องห้ำหั่นกัน เข่นฆ่ากันอย่างไรความปราณี เพื่อต้องการที่จะมีอำนาจเหนือผู้อื่นด้วย
เครดิตภาพ: http://freedom-thing.blogspot.com
นิชเช่จึงกล่าวว่า “ศีลธรรม” และ “ความเมตตา” เป็นเพียงสิ่งจอมปลอมที่มนุษย์อุปโลกน์ขึ้น เพื่อปลอบประโลมความอ่อนแอแห่งจิตใจของตนเองเท่านั้น!...
ด้วยเหตุนี้ นิชเช่จึงแบ่งมนุษย์ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ "ผู้มีอำนาจ"และ "ผู้ที่ต้องอยู่ใต้อำนาจ"
ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้จะมีสิทธิเข้าถึงโอกาสในสังคมได้แตกต่างกัน เพราะผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าย่อมต้องมีสิทธิและมีโอกาสมากกว่าผู้ที่อ่อนแอในสังคมอยู่เสมอ
และความจริงนี้ก็เป็นสิ่งที่ฝังรากลึกลงในสังคมมาอย่างเนิ่นนานแล้ว
นิชเช่ก็เป็นพวกทุนิยม (Pessimism)
เหมือนกับโชเปนเฮาเออร์ (Arthur Schopenhauer) คือ ที่มองว่าชีวิตเป็นทุกข์ และชอบมองโลกในแง่ร้าย แต่เขาก็มีความคิดที่แตกต่างจากโชเปนฮาเออร์ ค่อนข้างมาก
อาร์เทอร์ โชเปนเฮาเออร์ (Arthur Schopenhauer)
นิทซ์เช่มีความคิดเห็นว่า มนุษย์ควรมีความกล้าที่จะต่อสู้กับปัญหาต่างๆ ดังที่เขากล่าวไว้ว่า “ มนุษย์ต้องหันหน้าเผชิญกับชีวิตจริง ยอมรับกับความจริงของชีวิต.... และขบคิดหาทางแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเรื่อยไป” และการวิ่งหนีปัญหาคือการกระทำที่ผิดพลาดที่สุดของมนุษย์
เขายังกล่าวอีกว่า “ ศาสนาต่างๆรวมทั้งโชเปนเฮาเออร์ผิดพลาดที่ชักชวนมนุษย์ให้หนีปัญหาและชีวิต
ทำให้มนุษย์ไม่อาจดำรงชีพได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ” ดังนั้น นิชเช่จึงดูหมิ่นศาสนาต่างๆ ทั้งคริสต์ ฮินดู เชน ฯลฯ และแม้แต่พุทธศาสนาเองก็ตาม ว่าเป็นหนทางของผู้อ่อนแอเท่านั้น!
นิชเช่มีความเชื่อว่า “ความจริง”(Truth) ที่จริงแท้นั้น ไม่มีจริง!...
ไม่มีความจริงในโลกนี้ และเราก็ไม่สามารถบอกได้ว่า สิ่งใดคือความจริงหรือสิ่งใดเป็นความเท็จ
1
เหตุผลเพราะ ความจริงกับความเท็จนั้นไม่ใช่สิ่งที่ยั่งยืน คงที่ แน่นอนหรือตายตัว
2
เพราะความจริงสามารถพลิกผันเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไปได้เสมอ
กล่าวคือ ในวันนี้กับสิ่งใดๆที่เราเข้าใจว่าเป็นจริง สิ่งนั้นอาจเป็นความจริงแค่ในชั่วเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่ในวันข้างหน้าอาจมีเหตุผลใหม่ ข้อมูลใหม่ มีความเชื่อใหม่และคำตอบที่สมเหตุสมผลกว่า ที่สามารถเปลี่ยนแปลงความจริงของวันนี้ให้กลับกลายเป็นความเท็จไปได้
ตัวอย่างเช่น ในสมัยโบราณมนุษย์มีความเชื่อว่าโลกใบนี้แบน จนเมื่อนักวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์ให้เห็นข้อเท็จจริงใหม่ว่า...โลกที่เราอาศัยอยู่นี้ มีลักษณะกลมและหมุนรอบตัวเองเป็นต้น...
นิชเช่ ในวัยหนุ่ม
ดังนั้น นิชเช่จึงเขียนหนังสือ Thus spoke zarathusra ขึ้น ซึ่งคล้ายกับคัมภีร์แห่งศาสนาใหม่ เพื่ออธิบายหลักการแห่งความผันแปรของสรรพสิ่งต่างๆ ผ่านทาง “ ซาราธุสตรา ” หรือ “ โซโลอัสเตอร์ ” Zoroaster (เป็นศาสดาในศาสนาของชาวเปอร์เซียโบราณ) โดยเขาสมมุติให้ตัวเขาเองเป็นซาราธุสตราเป็นองค์ศาสดาของยุคสมัยใหม่
เขาได้เขียนหลักคำสอนในเรื่องต่างๆด้วย เช่น ชีวิต โลก จักวาล ความดีและความชั่ว และรวมทั้งแนวคิดสำคัญในเรื่อง เจตจำนงที่จะมีอำนาจ (Will to Power) อันเป็นหลักการใหม่ ตามความเชื่อและทฤษฏีทางปรัชญาที่เขาค้นพบด้วยตนเอง
นิชเช่มีความเชื่อว่าหากศาสดาซาราธุสตรา มาเกิดในยุคสมัยเดียวกับเขา พระองค์ก็จะมีความรู้ความเข้าใจในแบบยุคสมัยใหม่นี้ และพระองค์อาจต้องเปลี่ยนแปลงคำสอนใหม่ และก็คงต้องสอนสั่งออกมาในแบบเดียวกับที่เขาเขียนไว้ในหนังสือ!
แต่สิ่งที่นิชเช่ไม่อาจคาดคิดถึง (เพราะเขาเสียชีวิตก่อน) ซึ่งเป็นผลอันเกิดจากปรัชญาของเขา...
แนวคิดเรื่อง “ ปลาใหญ่กินปลาเล็ก ” และทฤษฏี “ เจตจำนงที่จะมีอำนาจ ” (Will to Power)
เครดิตภาพ: https://sites.google.com/site
ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อความคิดของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ผู้นำพรรคนาซี (Nazi Party) และอาจเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เกิด “ ลัทธิฟาสซิสต์ ” (Fascism) อันเหี้ยมโหดขึ้น และนำพาโลกให้เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ( World War 2 ) ค.ศ. 1939 – 1945 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 50 ล้านคน
ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) จ้องมองรูปปั้นหัวของนิชเช่
และเมื่อสงครามจบสิ้นลง นักประวัติศาสตร์และกลุ่มผู้ต่อต้านแนวคิดของนิชเช่จำนวนมาก ที่เคียดแค้น เกียจชัง ที่ไม่เข้าใจและไม่อาจเข้าถึงปรัชญาของนิชเช่
ต่างก็พากันออกมากล่าวประณามว่า...เขาเป็นคนเสียสติ เป็นคนวิกลจริต และเป็นต้นเหตุของสงครามเข่นฆ่ามนุษยชาติ
แต่ถึงอย่างไร แนวคิดและทฤษฏีของนิชเช่นั้น ยังคงเป็นรากฐานของปรัชญา “ โพสต์ โมเดิร์น ” (Post Modernism) สมัยใหม่ ที่ยังมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อแนวคิดของคนมากมายในยุคปัจจุบัน
โดยเฉพาะหลักการในเรื่อง “ ไม่มีสิ่งใดที่จริงแท้ ” แน่นอน และยั่งยืนตลอดไป ซึ่งคล้ายคลึงกับแนวคิดทางพุทธปรัชญา
เพราะเราทุกคนอาจค้นพบคำตอบที่สมเหตุสมผลกว่าและดีกว่าได้เสมอ และรวมถึงการไม่มีความจริงแท้ในเหตุผลด้วย
ทุกวันนี้ เราจึงเห็นนักคิดหรือคนอีกมากมายในแวดวงต่างๆ ทั้งในวงการปรัชญา จิตวิทยา การเมืองและวงการวิทยาศาสตร์ ฯลฯ สามารถมีแนวคิดใหม่ๆและโต้เถียงกันได้ทุกเรื่อง โดยไม่เคยยอมลงให้แก่กันและกันเลย
เครดิตภาพ: https://www.bbc.com/thai
เพราะทุกคนเชื่อว่าเหตุผลในทุกๆเหตุผลสามารถหักล้างกันได้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับว่าใครจะเป็นฝ่ายมีชัยที่สามารถหักล้างเหตุผลของใครให้จนมุมได้ก่อนเท่านั้นเอง...
แหล่งอ้างอิง
1.Thus spoke zarathusra
2.The will to power
3.กีรติ บุญเจือ : วิถีแห่งอภิมนุษย์
4.ปิยะฤทธิ์ พลายมณี : ในทัศนะหนึ่ง.
-วิรุฬหก-

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา