25 ส.ค. 2020 เวลา 08:15 • การเมือง
- เฟซบุ๊กเตรียมตอบโต้รัฐบาลไทย หลังถูกกดดันให้บล็อกข้อความทางการเมือง -
เฟซบุ๊กระบุว่า รัฐบาลไทยกดดันให้ต้องปิดกั้นข้อความทางการเมือง ที่รัฐบาลมองว่าเป็นการหมิ่นสถาบัน ไม่เช่นนั้น เฟซบุ๊กประเทศไทยต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย พรบ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีโทษปรับสูงสุด 200,000 บาท และเพิ่มอีกวันละ 5,000 บาทจนกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งศาล
- ขัดแย้งกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากล -
โฆษกเฟซบุ๊กระบุว่า “คำขอร้องอย่างนี้ร้ายแรง ขัดแย้งกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากล และมีผลกระทบต่อความสามารถในการแสดงออกของประชาชน”
เฟซบุ๊กย้ำว่า องค์กรทำงานเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทุกคน และกำลังเตรียมตอบโต้คำร้องของรัฐบาลไทยตามกฎหมาย
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ระบุว่าเฟซบุ๊กไม่ปฏิบัติตามคำร้องขอของรัฐบาลไทยให้เข้มงวดกับคอนเทนต์ ที่รวมถึงการหมิ่นสถาบัน และให้เวลาเฟซบุ๊ก 15 วันให้ทำตามคำสั่งศาล
วานนี้ กระทรวงดิจิทัลฯ ระบุว่าเฟซบุ๊กได้ให้ความร่วมมือก่อนที่จะครบ 15 วัน เพราะเฟซบุ๊กมีความเข้าใจบริบทสังคมไทย
อย่างไรก็ตาม พุทธิพงษ์ ไม่ได้ให้ความเห็นกับสำนักข่าวต่างประเทศ กับประเด็นว่าเฟซบุ๊กกำลังเตรียมตอบโต้เรื่องนี้
- เครื่องมือทางการเมือง -
ด้านสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ได้รายงานถึงกฎหมายอาญามาตรา 112 ว่าถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะทั้งพลเรือนและรัฐบาล ก็สามารถยื่นคำร้องได้
1
“รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส” ก่อตั้งโดย ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ปวินถูกสำนักข่าวต่างประเทศบางสำนักระบุว่าเขาเป้นนักวิชาการที่กำลังลี้ภัยทางการเมืองในญี่ปุ่น
เช้าวันนี้ ตัวแทน “คณะบุคคลเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” พานสุวรรณ ณ แก้ว และประกอบกิจ อินทร์ทอง ได้เข้ายื่นหนังสือเรียกร้องต่อสถานทูตญี่ปุ่น ขอให้มีมาตรการจัดการกับปวิน “กรณีจาบจ้วง ยุยงปลุกปั่นด้วยคำที่หยาบคาย อาฆาตมาดร้าย ต่อสถาบันกษัตริย์ และก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม”
- เฟซบุ๊กและการเมืองนานาประเทศ -
นี่ไม่ใช่กรณีแรกที่เฟซบุ๊กมีความคัดแย้งกับรับบาลประเทศต่างๆ เฟซบุ๊กกำลังเผชิญการตรวจสอบในอินเดีย หลังสำนักข่าว วอลล์สตรีทเจอร์นอล รายงานว่านักการเมืองคนหนึ่งยังคงสามารถใช้งานเฟซบุ๊กได้ แม้ว่ามีการเผยแพร่ข้อความที่เข้าข่ายละเมิดกฎของเฟซบุ๊กว่าด้วยเรื่องข้อความที่ยุยงและสร้างเกลียดชัง
นอกจากนี้ ในสหรัฐฯ เฟซบุ๊กยังเคยระบุให้โพสต์ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ บางข้อความเป็นคอนเทนต์ที่สร้างความขัดแย้ง (controversial content)
และนี่ก็อาจจะเป็นเหตุผลที่รัฐบาลจีนยังคงแบนเฟซบุ๊ก หรือะเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2009 นอกจากจีนแล้ว ก็ยังมี อิหร่าน ซีเรีย และเกาหลีเหนือ (แน่นอน) ที่ยังคงเป็นพื้นที่ที่เฟซบุ๊กเข้าไม่ถึง
โฆษณา