25 ส.ค. 2020 เวลา 23:09 • ธุรกิจ
ตั้งเป้าหมายเหมือนกันแต่ทำไมอีกคนได้แต่อีกคนไม่ได้ตามที่ตั้งไว้?
https://www.smartsme.co.th/content/40568
ลองดูว่ามีใครเคยได้ยินชื่อนี้มาก่อนไหม แซมมวล เพียร์พอนต์ แลงลี้ย์ (Samuel Pierpont Langley) เขาเป็นนักดาราศาสตร์ที่มีชื่อเสียง ดำรงตำแหน่งเลขาธิการของสถาบันสมิธโซเนี่ยน และยังเคยทำงานในหอดูดาวของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ทั้งยังเป็นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ประจำโรงเรียนนายเรือแห่งสหรัฐอเมริกา ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19
นอกจากนี้แลงลี้ย์ ยังรู้จักมักคุ้นกันคนดังคนมีชื่อเสียงทั้งในแวดลงธุรกิจและการเมืองมากมาย อาทิ แอนดรู คาร์เนกี้ อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์
เขาได้รับทุนเป็นเงินถึง 50,000 เหรียญ (ซึ่งในขณะนั้นคือจำนวนเงินมหาศาลมาก) ในการทำให้มนุษย์สามารถบินขึ้นไปบนท้องฟ้าได้ด้วยเครื่องยนต์แบบบังคับเป็นคนแรกของโลกให้ได้ เขามีทุกอย่างที่มาสนับสนุนทั้งเงินทุน ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆที่เข้ามาช่วยเหลือ ซึ่งยากที่จะไม่สำเร็จได้เลย
แลงลี้ย์มีบุคคลหัวกะทิแห่งยุคมากมายที่เข้ามร่วมทีม อาทิเช่น ชาร์ลส์ แมนลี นักบินทดสอบที่เป็นวิศวกรเครื่องกลจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ สเตฟาน บัลเซอร์ ผู้สร้างรถยนต์คันแรกของมหานครนิวยอร์ก เขามีเงินทุนมากพอที่จะสรรหาวัสดุส่วนประกอบที่ดีที่สุดในขณะนั้น ทั้งยังมีการประชาสัมพันธ์กับสื่อต่างๆได้อย่างยอดเยี่ยม
แซมมวล เพียร์พอนต์ แลงลี้ย์ http://csicon.fm/cwj86/
แต่ทำไมวงการบินของโลกจึงไม่ได้บันทึกชื่อเขาลงไว้ในประวัติศาสตร์ และคนส่วนมากก็ไม่ได้รู้จักเขา เพราะเขามีความพร้อมแทบทุกด้านรวมถึงเขาก็ยังเป็นคนที่ครั่งไคร้ในเรื่องการบินเป็นพิเศษด้วยซ้ำไป
ปัญหาของเขาก็คือ “เป้าหมายที่ตั้งไว้” นั่นเอง
แม้ว่าเป้าหมายของเขาจะดูยิ่งใหญ่ แต่ทว่าปลายทางที่เขาต้องการไม่ชัดเจนคลุมเครือ เป็นเพียงความต้องการเป็นคนที่มีชื่อเสียง จากการเป็นคนแรกที่ทำได้สำเร็จ ที่เป็นช่องทางไปสู่การมีทรัพย์สินเงินทองมากมาย แต่จนแล้วจนรอดสิ่งที่เขาปรารถนาก็ไม่เป็นจริงทั้งที่มีองค์ประกอบครบและยังมีความพร้อมในทุกด้าน
คนทั้งโลกกลับได้รับรู้จากความสำเร็จของสองพี่น้องออร์วิลล์และวิลเบอร์ ไรท์ ที่สามารถสร้างเครื่องบินได้สำเร็จ ที่สามารถบินขึ้นได้และลงจอดได้จริง ทั้งที่ทั้งคู่ไม่มีองค์ประกอบที่เรียกว่าความสำเร็จเลยก็ว่าได้ ไม่มีเงินทุนเพียงพอ ไม่การช่วยเหลือใดๆจากรัฐบาล ไม่รู้จักคนใหญ่คนโต มีรายได้ที่มาใช้ในการทดลองจากการเป็นร้านจักรยานของตนเอง ซ้ำรายยังไม่จบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยเลย คนที่มาช่วยทั้งคู่บางคนเรียนไม่จบชั้นมัธยมด้วยซ้ำ
แม้ว่าทั้งคู่จะทำเช่นเดียวกับแลงลี้ย์และคนอื่นๆ แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปคือจุดมุ่งหมายของทั้งคู่เกิดจากแรงบันดาลใจจากความฝันของทั้งสองพี่น้องและคนในทีมที่รู้ว่าทำไมต้องสร้างเครื่องบิน จากความเชื่อที่ว่าหากทำสำเร็จโลกทั้งโลกจะเปลี่ยนไป โดยมองไปที่ประโยชน์ของคนทั้งโลก
พี่น้องออร์วิลล์และวิลเบอร์ ไรท์ https://www.takieng.com/stories/15884
สองพี่น้องคู่นี้มุ่งมั่นที่จะต้องหาทางที่ทำให้เครื่องบินสามารถทรงตัวได้ แต่แลงลี้ย์มุ่งไปที่การทำอย่างไรที่จะทำให้ตนเองมีชื่อเสียงเทียบเท่าในระดับเดียวกันกับ อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ แต่แลงลี้ย์ไม่ได้หลงไหลในการบินเฉกเช่นเดียวกันกับสองพี่น้องตระกูลไรท์ เป้าหมายของเขาคือความสำเร็จไม่ใช้ประโยชน์ที่ผู้คนจะได้รับ
สองพี่น้องตระกูลไรท์แม้ว่าจะล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ทั้งคู่ก็ไม่เคยท้อถอย ทั้งยังทำให้ผู้คนในชุมชนหันมาร่วมมือกับทั้งคู่จากแรงบันดาลจากเป้าหมายของทั้งคู่ พวกเขาพร้อเผชิญกับอุปสรรคที่ยากแสนเข็น
ในวันที่ 17 ธันวาคม 1903 ในกลางทุ่งหญ้ากว้างในเมืองคิตตี้ ฮอร์ก รัฐนอร์ทแคโรไลน่า ทั้งคู่สามารถนำสิ่งประดิษฐ์ที่ทำขึ้นมาทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าได้สำเร็จ ด้วยความเร็วเท่ากับคนวิ่งนาน 59 วินาที กับความสูง 36 เมตร และนี่คือการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของโลกใบนี้
แต่ทว่าความสำเร็จในครั้งนี้กลับไม่มีใครได้รับรู้ เพราะนักข่าวไม่ได้อยู่ในที่นั่นเลย แต่ด้วยเป้าหมายที่ต้องการสร้างประโยชน์ให้มวลมนุษยชาติทำให้สองพี่น้องตระกูลไรท์ยินดีที่จะรอ ด้วยแรงจูงใจที่มีสูงกว่าการที่ต้องการเป็นคนที่มีชื่อเสียง
ความแตกต่างของแลงลี้ย์ลี่และพี่น้องตระกูลไรท์นั่นก็คือแรงบันดาลใจนั่นเอง ฝ่ายแรกต้องการผลลัพธ์ที่จะเป็นคนมีชื่อเสียงและร่ำรวย ส่วนของสองพี่น้องใช้แรงบันดาลใจเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งเขาทั้งคู่เริ่มต้นจากคำว่าทำไมนั่นเอง
อีกส่วนประกอบของความเสร็จในครั้งนี้ก็คือ พี่น้องตระกูลไรท์รวบรวมผู้คนและทีมงานที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ที่มาจากแรงบันดาลใจที่จะให้ผลงานเป็นประโยชน์ต่อคนทำนวนมากในโลกใบนี้
ในส่วนของแลงลี้ย์สามารถรวบรวมผู้คนที่มีความสามารถเก่งกาจในแต่ละศาสตร์มารวมกันได้ แต่ไม่สามารถดึงศักยภาพที่ตนเองมีออกมาได้ เพราะเขาไม่ได้นำผู้คนที่เห็นฟ้องกันมองไปในทิศทางเดียวกันมารวมกัน ซึ่งคนเก่งที่เขารวมรวมไว้ต่างคนต่างก็ทำเพื่อสร้างผลงานให้ตนเองมากกว่าที่จะวางเป้าหมายเพื่อส่วนรวม
Credit: หนังสือทำไมต้องเริ่มต้นด้วยทำไม, Simon Sinek
ข้อมูลมุมมองการตลาดที่ทันสมัยจากประสบการณ์จริง อ่านได้ใน Blockdit ยุคใหม่การตลาดของไทย
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
โฆษณา