27 ส.ค. 2020 เวลา 04:47 • การศึกษา
“Submersible pump” หรือเป็นที่รู้จักในนามว่า “ปั้มจุ่ม”
เป็นปั้มที่สามารถนำไปแช่ไว้ใต้น้ำ และส่งของเหลวจากก้นบ่อไปยังสถานที่ต้องการได้เลยครับ
โดยส่วนประกอบด้านในของปั้มจุ่มจะประกอบด้วย (ไล่จากด้านบนลงไปนะครับ)
1. ชุดมอเตอร์ไฟฟ้า (Motor) โดยชุด rotor ไฟฟ้าจะเป็นแบบ incouple ต่อตรงมาถึงใบพัด โดยมอเตอร์ไฟฟ้าจะทำหน้าที่ในการเป็นตัวขับต้นกำลัง เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้กลายเป็นกำลังกล โดยเราต้องลากสายไฟฟ้าไปต่อที่ด้านบนนะครับ
2. ชุดลูกปืน (Bearing) ทำหน้าที่ประคอง รับภาระ และแรงเหวี่ยงต่างๆ ที่เกิดจากการใช้งาน
3. แม็คแคนิคอลซีล (Mechanical seal) ตำแหน่งสีแดงหลังใบพัด ทำหน้าที่กันของเหลวจากห้อง Volute ปั้มขึ้นมาหาชุดมอเตอร์ครับ (หากชุดนี้เกิดการเสียหาย หรือรั่ว น้ำตากฝั่งปั้มจะวิ่งมาหาฝั่งมอเตอร์และช็อต และซื้อใหม่ได้เลยครับ)
4. ใบพัด และโวรูด (Impeller & Volute) ทำหน้าที่ในการสร้างความดัน และอัตราการไหลของ ของไหลที่จะทำการส่งไป
5. ช่องขาดูด และท่อขาส่ง (suction channel & discharge flange) ทำหน้าที่ในการรับของไหลเข้ามา และทำการส่งออกไปยังท่อที่มาต่อรับอีกที
ซึ่งการใช้งานจะอยู่ใต้น้ำตลอดเวลา ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่ปั้มชนิดนี้กลัวมากที่สุดคือ “การช็อตของชุดมอเตอร์ไฟฟ้า เมื่อเวลามีน้ำรั่วเข้าไป” ดังนั้นการดูแลรักษาจึงเป็นสิ่งสำคัญของปั้มชนิดนี้เลยนะครับ
โดยปั้มจุ่มเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากๆ ซึ่งอาจจะใช้ในการเป็นแบบพกพาในการวิดน้ำออกจากบ่อ หรือในงานอุตสาหกรรมในการส่งของเหลวจากในบาออกไปอีกที่หนึ่ง
นอกจากนั้นปั้มตัวนี้ยังพกพาง่าย ติดตั้งง่าย ราคาไม่แพง แถมปริมาณอัตราการไหลสามารถทำได้สูงเลยทีเดียวครับ
แล้วพบกับสาระดีๆทางด้าน งานช่าง งานวิศวกรรม และงานอุตสาหกรรม แบบนี้ได้ในเพจนายช่างมาแชร์นะครับ
#นายช่างมาแชร์ #ปั้มจุ่ม #submersiblepump
โฆษณา