28 ส.ค. 2020 เวลา 23:30 • หนังสือ
สรุปหนังสือ ทิ้งนิสัยไม่ดีแล้วจะมีความสุข
Update Version
มาเรียนรู้วิธีทิ้งนิสัยไม่ดีเพื่อให้เราเป็น
คนที่ดีขึ้นกันครับ
#สรุปให้
#SenseiPae
แทบจะเป็นธรรมเนียมไปแล้วว่า
หนังสือเล่มไหนในญี่ปุ่นที่มียอดขาย
เข้าข่ายเป็น Best Seller
มักจะต้องมีสำนักพิมพ์ดีๆ
เอาเข้ามาแปลให้คนไทยได้อ่านกัน
รอบนี้ก็เป็นคิวของ Amarin How to
อีกสำนักพิมพ์ที่ดีมากๆ สำหรับคน
ที่รักการอ่านและการพัฒนาตัวเอง
เอามาแปลให้อ่านกัน
1
(2) ใครคือ Tokio Godo
เขาคือนักเขียนชื่อดังอีกหนึ่งคน
เป็นผู้เขียนหนังสือ Best Seller
หลายๆเล่ม อย่าง เลิกเป็นคนดีแล้วจะมีความสุข
「いい人」をやめれば人生はうまくいく
ส่วนเล่มที่ผมอยากอ่านนอกจากเล่มนี้คือ
“วิธีที่ผมใช้สร้างสินทรัพย์ได้ 300 ล้านเยน
ตอนอายุ 33 ปี”
“33歳で資産3億円をつくった私の方法 ”
1
(ซึ่งดูเหมือนว่าจะไม่มีใครแปลทำไงดี 555)
และที่เขาเป็นนักเขียน Best Seller สร้างสินทรัพย์
(จะให้ตัวเองหรือบริษัทก็ตาม)
ก็มาจากความขยันทุ่มเทในการทำงาน
หนังสือเล่มนี้เขียนไว้ว่าสมัยหนุ่มๆเขา
ทำงานเป็น 20 ชั่วโมงต่อวันเป็นเรื่องปกติ
คนประสบความสำเร็จทุกคน
เก่งมาก เก่งน้อยไม่เท่ากัน
แต่เรื่องหนึ่งที่ผมมั่นใจสุดๆคือ
พวกเขา ขยัน โคตรๆ
ขยันในระดับที่คนธรรมดาน่าจะเข้าไม่ถึง
แต่ก็นั่นแหละ เพราะขยันไง
ถึงได้ประสบความสำเร็จ
พร้อมจะสำเร็จด้วยการอ่านที่เหลือหรือยังครับ 555
(3) 40 นิสัยควรทิ้ง มีอะไรบ้าง
หนังสือเล่มนี้แบ่งนิสัยออกเป็น 6 หมวด
1. คำพูด / 言葉
2. ความสัมพันธ์ /人間関係
3. เงินกับเวลา /モノと金
4. เทคนิคทำงาน / 仕事術
5. วิธีทำงาน / 働き方
6. จิตใจที่อ่อนแอ / 弱い心
หัวข้อมากบ้างน้อยบ้าง
รวมๆแล้ว 40 นิสัยพอดิบพอดี
ผมเชื่อว่าเราน่าจะหาได้น้อยมากสำหรับคนที่
ไม่มี นิสัยไม่ดีเลยสักข้อ
แต่จะรีวิวยังไงให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับ
ทุกท่านที่ติดตาม เซนเซเล็กกับเซนเซแป๊ะหละ
ผมก็เลยโพสต์คำถามลงไป ทั้ง Facebook
Line Ads Line Group ที่มี Followers
รวมๆกว่า 30,000 คน
รวมคำตอบของคนที่ตอบกลับมา
จัดอันดับเป็นหัวข้อ
“นิสัยที่คนไทยโหวตว่า มาทิ้งกัน”
นิสัยไม่ดีนี้อาจจะเป็นนิสัยที่เราไม่ชอบ
ทั้งจากการทำงานร่วมกับคนอื่น
หรือเป็นนิสัยของเราเองก็ได้
ได้ข้อสรุปดังนี้ครับ
อันดับ 9. ชอบนินทา
อันดับ 8. ไม่เปิดใจเรียนรู้
อันดับ 7. ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย
อันดับ 6. ชอบแก้ตัว
อันดับ 5. ชอบพูดแต่คำลบ
อันดับ 4. มองโลกในแง่ร้าย
อันดับ 3. เรียนเยอะแต่ไม่ลงมือทำ
อันดับ 2. เป็นคนดี (เกินไป)
และ อันดับ 1. ติด Comfort Zone
ตรงใจกันบ้างไหมฮะ
ส่วนตัวแล้วประหลาดใจกับคำตอบอันดับ 1 มากๆครับ
ไม่คิดว่าคนไทยจะมองว่า เราไม่ค่อยก้าวข้ามความสบายกัน
ทิ้งได้จะได้อะไร ทิ้งยังไง ไปเรียนรู้กันครับ
อันดับ 9 ชอบนินทา
นินทา
รู้สึกยังไงกับคำนี้ครับ
สมัยทำงานที่ญี่ปุ่นใหม่ๆ
มีรุ่นพี่คนหนึ่งที่ในเวลางาน
เธอดูเป็นคนใจดี ยิ้มเก่งและร่าเริงมาก
แม้ผมจะพูดญี่ปุ่น ไม่ค่อยคล่องแต่เธอ
ก็พยายามสื่อสารกับผมด้วย ภาษาอังกฤษบ้าง
ญี่ปุ่นแบบเปิด Dictionary ไปคุยไป
เรียกว่าทุกอย่างโอเคหมดเลย
แต่มีวันหนึ่งที่ผมติดรถพี่เลี้ยงไป
เที่ยวเขาตอนกลางคืนเพื่อดูใบไม้แดง
เผอิญว่า รุ่นพี่ท่านนี้ก็นั่งไปด้วย
แม้ผมจะฟังออกบ้างไม่ออกบ้าง
แต่ก็พอเดาได้ว่าเธอ กำลังพูดถึงหัวหน้าตัวเอง
ด้วยอารมณ์ไม่เป็นมิตร
ผ่านน้ำเสียงที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน
ผมเลยได้เรียนรู้ว่านินทานี่
มีกันทุกประเทศนี่หว่า 555
คุณ Godo บอกว่า
คนที่ปล่อยให้นิสัย นินทาอยู่กับตัวนานๆ
จะจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ
(เราบ่นสิ่งที่เราไม่ชอบ แสดงว่าเราเอา
แต่คิดถึงมันตอนที่เราบ่น ไม่งงเนอะ)
คงไม่มีใครมีความสุขตอนบ่น
สมองก็เช่นกัน การบ่นทำลายความคิดสร้างสรรค์
ทำให้เรา ทำงานแย่ลง ไม่ก้าวหน้า
1
แต่ถ้า จะเลิกบ่นได้
ก็ต้องฝึกควบคุมอารมณ์
เมื่อคุมอารมณ์ได้ดี
ย่อมทำงานได้ดี ชีวิตก็ดีขึ้นทุกด้าน
หนังสือยังให้เหตุผลด้วยว่าทำไม
การนินทาเป็นนิสัยที่ควรทิ้ง เช่น
คนชอบนินทาคือคนที่ไม่มีเหตุผล
คนชอบนินทาคือคนที่เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง
คนชอบนินทาคือคนที่ไม่มีความสามารถในการตัดสินใจ
นินทาคือการใช้เวลาอย่างสูญเปล่า (โฟกัสความไม่พอใจ ผลลัพธ์ไม่เปลี่ยน)
แล้วจะทิ้งมันได้อย่างไร
คุณ Godo บอกว่าเราอาจจะเริ่มจากการ
หามุมมองดีๆ เกี่ยวกับเรื่องที่เราไม่ชอบ
เปลี่ยนตัวเอง ดีกว่าไปโฟกัสหรือเปลี่ยนสิ่งที่เราไม่ชอบ
น่าจะง่ายกว่า
เห็นด้วยไหมครับ
อันดับ 8 ไม่เปิดใจเรียนรู้
ช่วงนี้ผมพาลูกๆไปทำกิจกรรมนอกบ้านบ่อย
เพราะว่าเป็นปิดเทอมครับ เด็กๆก็สนุกสนานมาก
ผมเองเป็นเด็กต่างจังหวัด
ไม่ค่อยชอบปิดเทอมเท่าไหร
เพราะมันไม่ค่อยมีอะไรให้ทำ
วันหนึ่งของปิดเทอมที่ผมชอบมากๆ
คือวันที่แม่พาไปซื้อหนังสือเรียนชั้นเรียนใหม่
เพราะผมจะได้หนังสือใหม่ๆมาอ่าน
ใช้เวลาอยู่กับหนังสือเรียนเล่มที่ชอบ
อ่านจนจบ เพื่อจะได้ไปโม้กับเพื่อนเนิร์ดด้วยกันว่า
ฉันอ่านจบแล้วนะ แกล่ะ 555
แล้วก็ระลึกได้ว่า เฮ้ย
ครั้งสุดท้ายที่ผมสนุกกับการเรียนรู้ขนาดนั้น
มันเมื่อไหร่กันนะ
1
===================
เลิกคิดว่า ปริญญาบัตรคือกระดาษ
ที่บอกว่าฉันไม่ต้องเรียนรู้อะไรอีกแล้ว
===================
พอทราบกันไหมว่า มหาวิทยาลัย
เกิดจากความต้องการของเศรษฐียุคทุนนิยม
สมัยก่อนที่อยากให้มีใครสักคน พัฒนาคนให้เขา
ได้นำเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมที่เขาสร้างขึ้นแบบไร้รอยต่อ
จะเรียกว่า การศึกษาในปัจจุบัน คือ ระบบผลิตแรงงาน
มากกว่าจะเป็น ระบบผลิตผู้ประกอบการก็ไม่ผิดนัก
(หนังสือเล่มนี้ก็มองว่า ญี่ปุ่นก็มีลักษณะแบบเดียวกัน)
ปริญญาบัตรในบางทีก็กลายเป็นสิ่งที่
ทำให้เราเข้าใจผิดว่า ชีวิตนี้ไม่ต้องเรียนรู้
อะไรอีกแล้ว
เรียนจบ คือ จบการเรียนรู้
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว งานวิจัย
ที่ผมอ่านมาจากหนังสือ Super Productive
ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า พนักงานต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
โดยเฉลี่ยถึง 101 วัน (40-45% ของวันทำงานในแต่ละปี)
ไม่เรียนรู้อะไรใหม่ๆ นอกจากจะเป็นคน
ที่คนอื่นมองว่า เรื่อยเปื่อย
ยิ่งถ้าไม่เปิดใจเรียนรู้
เวลาบริษัทให้ไปอบรมอะไรสัก 1-2 วัน (1% ของเวลางาน)
นับเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าเอาเสียเลย
แต่ถ้าเรียนได้แบบสนุกเหมือนวัยเด็ก
ผมว่าอะไรมันก็น่าจะดี 1 วันในห้องอบรม
ก็น่าจะเต็มไปด้วยสิ่งดีๆที่จะทำให้ชีวิตก้าวหน้า
เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆทุกวันกันนะครับ
อันดับ 7 ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย
“ของมันต้องมี”
ประโยคคุ้นหูในยุคนี้
ถ้าคนที่คิดประโยคนี้
คือ คนที่กระตุ้นให้ ลูกค้าอยากซื้อ
ผมคิดว่า เขาทำได้ดี
แต่ถ้าคนที่ใช้ประโยคนี้
สร้างความชอบธรรมให้ตัวเอง
ในการซื้อของที่ลึกๆแล้ว
ไม่ต้องรีบก็ได้
เขาอาจจะกำลังทำให้ตัวเอง
ลำบากในอนาคต
หนังสือเล่มนี้ไม่ได้ห้ามให้ใช้จ่ายเงิน
แต่ให้พิจารณาการใช้เงินบนหลักการง่ายๆ
1. จ่ายแล้วชีวิตดีขึ้นหรือแย่ลง (ปฏิวัติตัวเองได้ไหม)
ถ้าเสื้อผ้าที่กำลังซื้อจะทำให้ขอสาวแต่งงานได้สำเร็จ
ได้งานจากลูกค้าเพิ่ม ซื้อได้เลย
แต่ถ้าไม่ก็ ลองคิดดูก่อนว่า มันคุ้มไหมที่จะเสียเงิน
2. มีหลักในการใช้จ่าย
เช่น ถ้าเป็นเสื้อใส่ทำงาน ซื้อให้ดีๆ แต่ถ้าเป็นเสื้อผ้าอยู่บ้าน
เอาที่แค่ดูดี ราคาย่อมเยาว์ ทนใช้ได้นาน เป็นต้น
ด้วยวิธีคิดที่ถูกต้องจะทำให้เรามีเงินเก็บเยอะขึ้น
===========
เก็บเงินไปทำไม
===========
ข้อมูลสถิติจากธนาคารแห่งประเทศไทย
คนทั่วไปเมื่อถึงวัยเกษียณ สถิติพบว่า
1%. = ร่ำรวย เป็นเศรษฐี
4%. = มีเงินใช้สุขสบาย
7%. = พอช่วยเหลือตัวเองได้
40% = ต้องพึ่งพาลูกหลาน สถานสงเคราะห์
48% = ยังคงต้องดิ้นรน ทำงานหนักแม้จะแก่แล้ว
คิดเร็วๆคือ มีถึง 88% ของคนไทยที่เข้าวัยเกษียณ
ไม่สามารถหยุดทำงานได้ หรือ ยังคงต้องพึ่งพา
แรงตัวเอง หรือ ลูกหลาน
อยากเป็นคนแบบไหนตอนเกษียณ
ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้จ่ายอย่างไรตอนก่อนเกษียณ
ถ้าตอนที่ยังทำงานได้ไม่เก็บออมดีๆ ให้มีเหลือเก็บ
ตอนที่ทำงานไม่ไหว อาจจะต้องมานั่งเสียใจทีหลังก็ได้นะ
เปลี่ยน #ของมันต้องมี
เป็น #เงินมันต้องออม
กันดีกว่านะครับ ^^
อันดับ 6 ชอบแก้ตัว
1
เร็วๆนี้พวกเราคงได้ยินข่าวที่ว่า รัฐมนตรีการค้า
ของประเทศญี่ปุ่น คุณ อิสซู ซางาวาระ
ประกาศลาออก พร้อมทั้งกล่าวขอโทษ
ประชาชนที่ต้อง ทำอย่างนี้ทั้งๆที่ยังมีภาระงาน
ที่ต้องทำเยอะมากรออยู่
สาเหตุเพราะเขาถูกกล่าวหาว่า
ละเมิดกฎหมาย จากการที่เลขาเขา
ส่งเงินช่วยเหลือ งานศพของประชาชน
ที่อยู่ในพื้นที่หาเสียงของเขาเอง
ไม่แก้ตัว อ้างโน่นอ้างนี้ รับผิดชอบเลย
นี่คือนิสัยที่ผมชื่นชมชาวญี่ปุ่นมากๆ
หนังสือเล่มนี้บอกไว้ว่า
คนที่ชอบแก้ตัว เหมือนกับการบอกคนอื่นๆ
ว่าฉันไม่ใช่คนผิด และจะต้องมีใครสักคนที่ไม่ใช่ฉัน
รับผิดชอบเรื่องนี้
ถ้าคิดแบบนี้ อาจไม่มีใครอยากร่วมงานด้วย
ส่วนคนที่ไม่แก้ตัวรับผิดชอบนั้นจะประสบความสำเร็จ
ได้รับความน่าเชื่อถือ
คุณ Godo เล่าถึงเพื่อนของเขาว่า
ประกอบธุรกิจล้มเหลว ติดหนี้เยอะ
แต่เขาไม่หนีหนี้ เขาไปรายงานสถานการณ์การเงิน
ให้เจ้าหนี้ฟังสม่ำเสมอ
1
เมื่อเศรษฐกิจฟื้น เขากลับมาตั้งบริษัทอีกครั้ง
เจ้าหนี้หลายๆคนก็วางใจให้เขาดำเนินธุรกิจต่อ
จนสามารถสร้างยอดขายได้ถึง 3,000 ล้านเยน
ในเวลาเพียง 3 ปี
“ส่งไปแล้ว ทางโน่นยังไม่ตอบกลับ”
“หัวหน้ายังไม่ได้สั่ง”
เปลี่ยนคำเหล่านี้ เป็น
“เดี๋ยวจะรีบตามและนำข้อมูลกลับมาให้เร็วที่สุด”
“ผมจะไปถามหัวหน้าและหาข้อสรุปเดี๋ยวนี้เลยครับ”
กันครับ เพื่อความน่าเชื่อของพวกเรา ^^
1
อันดับ 5 ชอบพูดแต่คำลบ
ไม่มีใครอยากช่วยเหลือ หรือให้คำแนะนำ
กับคนที่เอาแต่พูดว่า “ฉันทำไม่ได้ เสี่ยงเกินไป” หรอก
1
เห็นด้วยไหมครับ
“ไม่ได้เรียนจบสูง คงสู้เขาไม่ได้”
เคยได้ยินประโยคประมาณนี้กันบ้างไหมครับ
คิดว่าผลลัพธ์ของคนที่ใช้ประโยคนี้ทั้งชีวิต
จะเป็นยังไง
ผมเคยเจอผู้ประกอบการณ์สองท่านที่อายุ 60 กว่า
ทั้งสองท่าน ไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือสูงๆ แต่ท่านสร้างตัว
มีเงินทองหลายร้อยล้าน
เพราะท่านไม่ได้พูดแบบนี้
คนแรกพูดว่า “ยิ่งเรียนไม่สูง ยิ่งต้องขยันขวนขวาย”
ส่วนอีกคนพูดว่า “ถึงแม่จะเรียนไม่สูง แต่แม่เป็นคนใฝ่รู้”
1
อ่านประโยคเหล่านี้แล้วรู้สึกยังไงครับ
คิดว่าอะไรที่แตกต่างฮะ
คำตอบคือ ความเชื่อที่สะท้อนออกมาผ่านคำพูด
ทุกครั้งที่เราพูดอะไร ให้ใครได้ยิน
คนแรกที่ได้ยินเสมอ คือ ตัวเอง
4
“ไม่ได้เรียนจบสูง คงสู้เขาไม่ได้”
ถ้าภาษาของ Coach จะเรียกว่า
Unsupportive Belief
โค้ช Nut PCC เพื่อนผมเขาเรียกว่า
ความเชื่อฉุดรั้ง
ส่วนประโยคกลุ่มหลังเราเรียกว่า
Supportive Belief
คำพูดที่ทำให้ตัวเอง มี Self Esteem
หรือความเคารพในตัวเอง
กลายเป็นคนคิดบวก
ทำอะไรก็สำเร็จ
ลองสังเกตตัวเองกันนะครับว่า
เราใช้พูดประโยคแบบไหนให้ตัวเองได้ยิน
เลี่ยงการฟังข่าวเช้าอันแสนน่าหดหู่
เปลี่ยนมาฟัง Podcast หรือรายการทีวีดีๆ
กันนะครับ ช่วยได้
(Leanovative Thinking Podcast ก็เข้าข่ายนะ ^^)
อันดับ 4 มองโลกในแง่ร้าย
คุณ Godo บอกว่าตอนนี้ เรากำลังอยู่ในโลกที่ดีงามอยู่นะ
ซึ่งอาจจะขัดใจกับหลายๆคนที่กำลังคิดว่า
“โลกสมัยนี้อยู่ยากขึ้นทุกวัน”
จริงๆส่วนตัวผมคิดว่าถูกทั้งคู่ขึ้นกับว่าเรามองอะไร
ถ้าเราเลือกจะมองว่า ฆาตกรรมเยอะขึ้น คนใจแคบเยอะขึ้น
รายได้หาไม่ง่ายยิ่งเทียบกับค่าใช้จ่าย
ก็ถูก
แต่ถ้าเราเลือกมองว่า
ทุกวันนี้ เราสามารถได้ยินเสียง เห็นหน้าคนที่เรารัก
แม้จะอยู่ห่างกันหลายพันกิโลเมตร
เราสามารถเดินทางด้วยรถยนต์โดยสารระยะทาง
100 กิโลเมตรในเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง
ขณะที่พระราชาผู้มั่งคั่งในยุค 1000 ปีก่อนนั่งเกี้ยวนั่งเกวียน
และใช้เวลาเดินทางหลายวัน
หนังสือ Factfullness จริงๆแล้วโลกดีขึ้นทุกวัน
โดยคุณ แอนนา รอสลิง รอนนลันด์ (AMARIN HOW TO)
หนังสือที่คุณ Bill Gates ซื้อแจกนักศึกษาจบใหม่ทุกคนในอเมริกา
นำตัวเลขความมั่งคั่งโดยรวมของทุกประเทศมาเล่าสู่กันฟัง
เราจะพบว่า ชาวโลกมีอายุขัยเฉลี่ยสูงขึ้น รายได้ต่อหัวต่อคนต่อปีสูงขึ้น
คาดการณ์กันว่าในปี 203x เรามีสิทธิยกระดับรายได้ตัวเอง
ไปสู่ ระดับที่เรียกได้ว่า ประเทศพัฒนาแล้ว
ผมได้พิสูจน์กับตัวเองว่า ถ้าเราเชื่อว่าทุกอย่างมันดี
ชีวิตของเราก็เห็นแต่สิ่งดีๆ และเมื่อเห็นแต่สิ่งดีๆ
ก็จะมีแต่สิ่งดีๆ วิ่งเข้าหา (งาน เพื่อน รายได้)
ไม่ต้องเชื่อผมนะ อยากให้พวกเราลองเอง ^^
อันดับ 3 เรียนเยอะ ไม่ลงมือทำ
คอร์สเรียนมูลค่า 200,000 บาท
กับหนังสือมูลค่า 200 บาท
ถ้าผมถามว่าอันไหน
ถูกหรือแพง อาจจะตอบไม่ง่าย
เหตุผลก็เพราะมันตอบได้ทั้งถูกและแพง
ถ้าจ่าย 200,000 แล้วได้ผลลัพธ์เปลี่ยนชีวิต
สร้างรายได้หลักแสนได้หลังเรียน
200,000 ก็ถือว่าถูกมาก
แต่ถ้าจ่าย 200 อ่านจนจบ
แต่ไม่เกิดอะไรกับชีวิตเลย
200 นี้ก็ถือว่าแพงมากก็ได้
หนังสือเล่มนี้พยายามบอกเราว่า
ให้ทิ้งนิสัย เรียนแล้วไม่ลงมือทำไปเสีย
เพราะการเรียนรู้เสียทั้ง เวลา พลังสมอง และ ค่าใช้จ่าย
การเรียนรู้จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดก็ต่อเมื่อ
เปลี่ยนมันให้เป็นผลลัพธ์
และผลลัพธ์เกิดได้จากการลงมือทำ
ผมชอบและเห็นด้วยกับหนังสือเล่มนี้มากว่า
ยิ่งเราลงมือทำมากเท่าไหร
เราจะยิ่งเจอหนังสือที่ใช่และเปลี่ยนชีวิตเรามากขึ้น
แต่ ผมไม่บอกพวกเราหรอกว่าทำไม
เพราะผมอยากให้พวกเราเจอคำตอบด้วยตัวเอง
จากการลงมือทำ ^^
อันดับ 2 เป็นคนดี (เกินไป)
บ้าป่ะเนี่ย
คิดเหมือนผมไหมหลังอ่านหัวเรื่องเสร็จ
หนังสือเล่มนี้ให้เหตุผลว่า
ทำไมเราถึงควรทิ้งการเป็นคนดี(เกินไป)เสีย
คำตอบเพราะ คนดี(เกินไป)กลัวจะขัดแย้งกับผู้อื่น
ไม่ยืนกรานในสิ่งที่ตนเชื่อ ไม่นำเสนอไอเดียที่แตกต่าง
มีใครค้าน หมอบทันที
ฟังอย่างนี้ก็พอจะเข้าใจคุณ Godo ได้อยู่
คนดีในมุมมองของหนังสือเล่มนี้คือ
คนที่ใช้ชีวิตตามความพอใจของคนอื่น
คนดีก็คือ คนที่คนอื่นมองว่า “ทำตัวดี”
คนประเภทนี้ ไม่มีจุดยืนของตัวเอง
คนที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
ต้องเป็นคนที่กล้าเสนอเพื่อให้เกิดประเด็นถกเถียงกันได้
ผมชอบคำนี้นะ
ถ้าเห็นเหมือนกันไปหมด
เราก็คงไม่ได้อะไรแปลกใหม่
โลกเราบริษัทเราก็คงไม่ดีขึ้น
แอบเห็นด้วยนะ
นอกจากนี้เหตุผลอีกอย่างที่คนดี มักจะไม่มีใครจดจำ
คือ เขาทะเลาะกับใครไม่เป็น (เห็นด้วยสุดๆ)
1
ทะเลาะในที่นี้ไม่ใช่การ ชกต่อยทางร่างกายนะ
แต่มันคือการ วิวาทกันทางความคิด
2
แค่เห็นต่างไม่เห็นต้องเกลียดกัน
คนดีมักจะระมัดระวังเกินเหตุ
มีอะไรก็เก็บไว้ในใจ ไม่ระบายออกมา
สุดท้ายก็พ่ายแพ้ ใจอ่อนยอม
เลยต้องเดินตามหลังคนอื่นไปตลอด
แต่ถ้าเรายึดมั่น ในความคิดตัวเอง(ในเรื่องที่ถูกนะ)
เราอาจจะสร้างอะไรที่แปลกใหม่ที่ยิ่งใหญ่
ในแบบของเราก็เป็นได้
คนดี ดีครับ
แต่คนดี (เกินไป) ไม่น่าดี
ทิ้งสิ่งที่เกินไป ทำให้พอดีกันนะครับ
อันดับ 1. ติด Comfort Zone
หนังสือเล่มนี้ให้เทคนิคไว้สำหรับก้าวข้าม Comfort Zone
ใช้จุดด้อยให้เป็นจุดเด่น
มีนักเล่นหมากรุกหญิงท่านหนึ่งในญี่ปุ่น
เมื่อก่อนเป็นสุภาพสตรีที่น่ารัก เลยคิดว่า
จะสมัครเป็นดารา
แต่เธอพบว่าถ้าไปจุดนั้น ความน่ารักของเธอ
จะกลายเป็นธรรมดาไปเลย เพราะมีคนน่ารักๆเยอะมาก
เธอเลยมองหาว่า จะใช้ความน่ารักของเธอได้ที่ไหนบ้าง
แล้วเธอก็ค้นพบว่า เธอสามารถเล่นหมากรุกได้ดี
ถ้าเธอเป็นนักเล่นหมากรุกหญิงที่เก่ง และน่ารัก
น่าจะเป็นที่รู้จักมากกว่า นักแสดงเก่งและน่ารัก
(เหมือนคนอื่น)
แล้วเธอก็คิดถูก วงการหมากรุกไม่ค่อยสุภาพสตรี
เท่าไหร เธอจึงกลายเป็นจุดสนใจของสื่อและเพื่อนๆในวงการ
ผมเองเข้าบริษัทใหม่ๆ เนี่ยภาษาญี่ปุ่นห่วยมากได้คะแนน
เกือบบ๊วยของห้อง
แต่ผมก็พัฒนาตัวเองจนสามารถสอบผ่าน
ระดับ N1 (สูงสุดของการวัดระดับได้)
และเปลี่ยนตัวเองให้เป็นผู้จัดการอายุน้อยได้
จุดด้อยช่วยให้เราไปสร้างพื้นที่ใหม่ๆได้
อีกวิธีคือ ลดจุดเด่นตัวเองไปบ้าง
เนื่องจากผมพูดญี่ปุ่นได้คล่องกว่าอังกฤษเยอะ
เลยมีสิ่งหนึ่งที่ผมเลี่ยงมาตลอด
คือ บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ ทั้งวัน
ไม่ใช่ทำไม่ได้
แต่รู้สึกว่าถ้าต้องพูดทั้งวัน
ต้องเหนื่อยและคุม Class ไม่อยู่แน่
บรรยายภาษาไทยนี้แหละง่ายๆ
รายได้ก็ไม่ต่างกันมาก
1
ใครเคยติดกับดัก Comfort Zone
เหมือนผมบ้างครับ
หลังผมเลยพยายามบอกตัวเองว่า
ทำอะไรที่แปลกๆใหม่ๆบ้างนะ
จะได้เก่งขึ้น
สรุปสองปีหลังนี้เลยบรรยาย
ทั้งภาษาอังกฤษ ให้คนไทย
ภาษาอังกฤษ ให้คนต่างชาติ
ผมพบว่า มัน
เหนื่อยมาก 555
แต่ก็ทำให้ได้รู้ว่า
เออ ถ้าคิดจะทำก็ทำได้นี้หว่า
ถ้ามัวแต่ตั้งธงว่า ถ้าไม่ภาษาไทย
ก็ภาษาญี่ปุ่น ผมคงไม่สามารถ
ฝึกทักษะพูดอังกฤษได้
ยิ่งเราขยายวง Comfort ได้ไกลเท่าไหร
เราก็ยิ่งสบายตัวมากขึ้น
ขอยกประโยคหนึ่งที่ พี่บอย
วิสูตร แสงอรุณเลิศพูดไว้
“อะไรที่ไม่ทำให้เราตาย
มันจะทำให้เราโต”
มาข้ามเส้น ไปยังดินแดนที่ทำให้เรา
ได้รู้ว่าตัวเอง มีศักยภาพกว่าที่เราคิดกันครับ
ครบแล้ว 9 นิสัยใครมีเยอะก็รีบทิ้งมันไปนะครับ
เพื่อชีวิตที่ดีกว่าเดิม ดูน้อยลง
โฆษณา