29 ส.ค. 2020 เวลา 01:02 • ปรัชญา
“อยากจับแต่แกล้งปล่อย” กลอุบายทดสอบใจคน
หลังจากที่เพจใจดีได้ ห่างหายจากการเขียนบทความเกี่ยวกับกลอุบาย ไปนาน วันนี้จึงนำกลอุบายที่ยอดฮิตอีกวิธีหนึ่งมาเขียนให้อ่านกันนะครับ
จุดประสงค์ของกลอุบายนี้คือการ ทำให้ฝ่ายตรงข้ามประมาท โดยไม่บีบรัดฝ่ายตรงข้ามมากเกินไป จนทำให้เกิดความไม่ระวังตัว พอเห็นเขาอ่อนกำลังหรือ เพลี่ยงพล้ำ จึงเข้าจู่โจมหรือจับกุม
หรือ ถ้าในยุคปัจจุบันก็มีการนำมาทดสอบพนักงานในบริษัท เพื่อทดสอบนิสัย โดยการแกล้งให้เงินเดือนเกินบ้าง เพื่อทดสอบความซื่อสัตย์ การพูดคุยแบบไม่ถือเนื้อถือตัวบ้าง เพื่อลวงข้อมูลที่อยากได้
หรือ จะนำไปปรับใช้ในเรื่องความรักก็ได้นะ แบบหญิงสาวบางคน แม้จะพึงพอใจในตัวชายหนุ่มคนหนึ่งมาก แต่กลับทำเป็นไม่สนใจ ทั้งยังสร้างสถานการณ์บอกให้เขารู้ว่ามีผู้หมายปองตนอยู่หลายคน เพื่อจะส่งสัญญาณให้ชายหนุ่มที่ตัวเองสนใจ รู้สึกต้องรีบและพยายามมาจีบหญิงสาวให้มากหน่อย
แต่กลอุบายนี้ ก็มีข้อเสียคือ ถ้าเราไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ การแกล้ง “ปล่อย” ของเราจึงอาจจะเป็นการปล่อยจริงๆก็ได้
กลอุบายนี้เคยถูกใช้ ทดลองใจในสมัย สามก๊กอยู่บ่อยครั้ง และการใช้กลอุบายนี้ที่เคยใช้ในสามก๊ก และที่คิดว่าพวกเราก็น่าจะรู้จักคือ ตอนที่เล่าปี่เดินทางไปเชิญ ขงเบ้งถึงสามครั้ง ขงเบ้งแกล้งบอกให้เด็กรับใช้หลอกว่าตัวเองไม่อยู่ถึงสามครั้ง เพื่อทดสอบเล่าปี่ว่าต้องการตนไปร่วมงานด้วยจริงๆหรือป่าว และก็อยากทดสอบความอดทนของเล่าปี่ด้วย
เพื่อนๆ ก็คงจะคิดว่า กลอุบายนี้ใช้เพียงแต่การหลอกทดสอบใจคนเพียงอย่างเดียว แท้ที่จริงแล้ว ไม่ใช่เพียงใช้ทดสอบใจคน แต่ยังสามารถใช้เพื่อข่มขู่ได้อีกด้วย
วิธี”ปล่อยเพื่อจับ” นี้ไม่ใช่มีแต่ขงเบ้งที่ใช้ทดสอบเล่าปี่แต่เพียงฝ่ายเดียว เล่าปี่ก็เคยใช้ทดสอบขงเบ้งเช่นกัน แต่ไม่ใช่แต่การทดสอบความซื่อสัตย์เพียงอย่างเดียวนะ แต่แอบแฝงไปด้วยคำข่มขู่อีกด้วย ไปดูกันว่าเล่าปี่ใช้วิธีอะไรข่มขงเบ้งกัน
ครั้งเมื่อคราวเล่าปี่ใกล้ตาย เนื่องจากเดินทางยกพลไปตีแคว้นกันตั๋นของซุนกวน เพื่อแก้แค้นให้น้องร่วมสาบานอย่างเช่น กวนอู แต่ตัวเองแทนที่จะได้แก้แค้น กับพ่ายแพ้ยับเยิน หลังจากพ่ายแพ้ก็ตรอมใจ จนเกิดอาการป่วยหนัก
เล่าปี่รู้ว่าการป่วยครั้งนี้ไม่อาจรักษาชีวิตได้แล้ว ก็จึงให้คนไปตามขงเบ้งมาเข้าเฝ้า เพื่อจะให้ขงเบ้งพิจารณาว่ามงกุฎราชกุมารเล่าเสี้ยนนั้น พอจะปกครองบ้านเมืองต่อจากตัวเขาได้หรือไม่
“ถ้าไม่ได้ก็ให้ขงเบ้งตั้งตนเป็นกษัตริย์เสียเอง เพราะความรู้ความสามารถนั้นมีมากกว่าโจผีเป็นสิบเท่า ต้องชนะและรวมแผ่นดินได้แน่นอน”
เพื่อนๆฟัง ประโยคข้างบนนี้ก็คงคิดว่าสมเหตุ สมผล เพราะขงเบ้งเป็นคนเก่ง ถ้าได้เป็นใหญ่ต้องร่วมรวมแผ่นดินได้อย่างแน่นอน
แต่ความคิดนี้ใช้กับขงเบ้งไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะประโยคที่เล่าปี่พูดออกมาไม่กี่คำ แต่แฝงไว้ทั้งบททดสอบ และ คำขู่ อย่าลืมนะครับ เสือป่วยก็ยังอันตรายกว่าสุนัขอยู่ดี
พอขงเบ้งได้ยินแบบนั้นก็ต้องตกใจจนตัวสั่น และกล่าวกับเล่าปี่ว่า “โปรดอย่าได้คิดว่าให้ข้าพเจ้าขึ้นเป็นใหญ่ (ขงเบ้งใช้คำว่าเป็นใหญ่ แทนคำว่าเป็นกษัตริย์ ฉากได้สวยมาก)
แทนมกุฎราชกุมารเล่าเสี้ยนเลย ข้าพเจ้าพร้อมใจรับใช้กษัตริย์ใหม่สุดความสามารถ ตราบจนชีวิตจะหาไม่ (จะเห็นได้ว่าขงเบ้งใช้คำว่ากษัตริย์แทนคำว่าเป็นใหญ่เพื่อแสดงถึงความห่างชั้นระหว่างตนกับเล่าเสี้ยน)
เล่าปี่ได้ยินเช่นนั้นก็สบายใจ จึงสั่งให้ลูกชายทั้งสอง ให้เชื่อฟังขงเบ้ง ถือเสมือนว่าเป็นพ่อของตน พอพูดจบเล่าปี่ก็สิ้นใจตาย
ในการนี้ เล่าปี่ใช้วิธี “อยากจับแต่แกล้งปล่อย” กับขงเบ้ง หากตอนนนั้นขงเบ้งไม่ได้แสดงความจงรักภักดี หรือ แสดงออกว่าตนเองอยากเป็น กษัตริย์แทนเล่าเสี้ยน ก็มีความเป็นไปได้ว่าเขาจะต้องตายก่อนเล่าปี่แน่นอน..
กลอุบายนี้ ก็ถือว่าเป็นกลอุบายที่ยอดฮิตเลยที่เดียว น่าจะเป็นกลอุบายที่ถูกใช้บ่อยที่สุดในเรื่องสามก๊ก หวังว่าเพื่อนๆ อ่านแล้วพอจะเข้าใจ แล้วสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้นะครับ ขอบคุณที่สนับสนุนเพจใจดีนะครับ ขอบคุณครับ🙏💕
สามารถติดตามใจดี ได้อีกช่องทางที่ App :facebook blockdit และ instagram
#ถ้าใจเราดี.อะไรๆก็ดีไปหมด
โฆษณา