2 ก.ย. 2020 เวลา 06:21 • ปรัชญา
ความเพรียบพร้อมไม่มีจริงในโลกนี้
เครดิตรูป :ชรัดดา
ประสบการณ์ส่วนตัว :เมื่อเริ่มงานที่ใหม่ในโรงงานผลิตวัสดุกึ่งสำเร็จรูปของเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน สนง. และโรงแรม ได้เห็นกระดาษติดพระบรมราโชวาทนี้ที่กระจกออฟฟิตโรงงาน สร้างความงุนงงสงสัยพอประมาณ 🙄
พอทำงานไปสักพัก ก็ได้เจอความขาดแคลนทั้ง วัตถุดิบ อุปกรณ์ต่างๆ วัสดุสำหรับสนับสนุนการผลิต อันเนื่องมาจาก การขาดการวางแผนที่ดีพอ หรือ อุปกรณ์เสียหายระหว่างการผลิต เป็นต้น ก็ดูการแก้ไขจากรุ่นพี่ที่อยู่ก่อน และเห็นว่าแก้ไขไม่ยาก
จากนั้นก็มา ก็เจอความขาดแคลนเรื่องแรงงานมีทักษะ อันเนื่องมาจากบ.ลูกแห่งนี้พึ่งสร้างมา 3-4 ปี ยังไม่อยู่ที่เท่าไหร่ และมีการจ้างงานแบบรายวัน สิ่งที่ต้องทำคือรับคนใหม่ที่มีวุฒิปวช. -ปวส.เข้่ามาซึ่งต้องไปสัมภาษณ์เอง (ไม่เคยสัมภาษณ์ใครมาก่อน มีแต่โดนสัมภาษณ์😁) ประเมินเองจากใบวุฒิและกิจกรรมที่ทำระหว่างเรียน ยิ่งทำกิจกรรมเยอะยิ่งน่าสนใจ แต่ผลการเรียนต้องไม่ต่ำกว่า 2.0 เมื่อถูกใจก็รับและแจ้งทั้งผู้ถูกสัมภาษณ์และฝ่ายบุคคล ผจก. โดยสิ่งที่บอกกับคนถูกสัมภาษณ์คือไปตกลงเงินเดือนกับฝ่ายบุคคลเอง เอาที่เขายอมรับได้ และมีเยอะเหมือนกันสัมภาษณ์ผ่าน แต่ไม่มาเซ็นสัญญาเพราะไปทำที่อื่น
เนื่องจากแถวนั้นมีโรงงานเยอะ เลยทำให้เกิดการแย่งคนในวุฒิปวช. -ปวส.กันมาก ที่อื่นให้เงินเดือนค่อนข้างสูง และสวัสดิการดี ส่วนที่ที่เราอยู่เงินเดือนพอประมาณแต่ใช้งานคุ้ม สวัสดิการก็มีแค่ตามที่ประกันสังคมกำหนด ดังนั้นพอทำงานไปสักพักเขาเห็นที่อื่นดีกว่าก็ออก
ความขาดแคลนอันถัดมาคือช่างซ่อมบำรุง ทั้งเครื่องกลและไฟฟ้า มีช่างอยู่แผนกละคน เนื่องจากเป็นรง.ผลิตแบบ mass production, made to order 80 %, ที่เหลือผลิตเป็นสต๊อกในสินค้าที่ขายประจำ ซึ่งจำเป็นต้องเดินเครื่อง 24 ชั่วโมง /6 วัน ค่อยหยุดเปลี่ยนกะอีก 1วัน ถ้ากรณีเครื่องมีปัญหาตอนกลางคืน ถ้าแก้ไขเองได้ ก็แก้ไขเอง ถ้านอกเหนือความรู้หรือประสบการณ์ของพนักงาน ก็โทรตามช่าง แต่ที่โทรตามได้ก็มีแต่ช่างไฟฟ้า (วิศวกรไฟฟ้า) ส่วนเครื่องกล(วิศวกร) เป็นช่างที่ใช้ร่วมกับบ.แม่ ตามได้เฉพาะกลางวันที่แก้ยาก ส่วนงานซ่อมเล็กๆ น้อยๆ ก็ทำกันเอง
ความขาดแคลนอีกอย่างคือฝ่ายวางแผนการผลิตที่เปลี่ยนบ่อย หรือปัญหาหน้างานไม่สามารถทำตามแผนได้ในช่วงเวลากลางคืน หรือทำโอที วันหยุด วิธีแก้คือต้องไปดูแผนที่ผจก. หรือฝ่ายวางแผนทำไว้ล่วงหน้า ในวันอื่นๆ ดึงมาผลิตก่อน ก็แก้ปัญหาไปได้ไม่มึผลกระทบอะไรมาก
ตอนนี้ ความขาดแคลนทั้งหมดก็เหมือนจะรู้วิธีแก้ปัญหาชั่วคราวแล้ว แต่เหมือนว่าเราต้องโดนทดสอบเยอะขึ้นไปอีก เมื่อเกิดการลาออกของวิศวกรไฟฟ้า และเครื่องกล ในเวลาที่แตกต่างกัน
ในช่วงสูญญากาศที่ระหว่างรอคนใหม่ รวมทั้งรอให้คนใหม่ทำงานเป็น นี้คือบททดสอบที่สำคัญ สินค้าก็มีวันกำหนดส่งที่เข้มงวด โดยเฉพาะสินค้าที่ส่งไปตปท.ผ่านรถเทลเลอร์ และตู้คอนเทรนเนอร์ ที่ขนส่งทางเรือ เมื่อเครื่องมีปัญหา ไม่สามารถหาคนมาช่วยซ่อมได้ในเวลากลางคืน ก็ต้องรอกลางวัน เพื่อเรียกช่างจากบ.แม่ มาช่วยซ่อม พอเป็นบ่อยๆ เราก็ต้องเรียนรู้เพื่อหาสาเหตุที่เกิดขึ้น ทั้งปัญหาทางไฟฟ้า และเครื่องกล
ทางเครื่องกลนั้น ไม่ค่อยมีปัญหามาก เรียนรู้ได้ไม่ยาก แต่ทางไฟฟ้านั้น ค่อนข้างหนัก ไม่มีพื้นฐานอะไรเลย นอกจากสูตร V=IR
ต้องมาเรียนรู้ sequence การทำงานของอุปกรณ์แต่ละกลุ่ม การควบคุมผ่านPLC ตรวจเช็คว่าสาเหตุเกิดจากอุปกรณ์ หรือจากPLC โดยที่สามารถดูผ่านPLC ว่ามีคำสั่งส่งไปยังอุปกรณ์นั้นๆ ได้ไหม แล้วทำไมอุปกรณ์นั้นไม่ส่งสัญญาณต่อไป
จะแก้ปัญหาด้วยการเปลี่ยนเซ็นเซอร์ มอเตอร์ หรือเช็คสายไฟ เป็นต้น ซึ่งการเปลี่ยน หรือแก้ไขนี้ ก็มีลูกน้องในไลน์การผลิตเป็นลูกมือ หรือเปลี่ยนให้ตามคำแนะนำที่เราบอก บางครั้งก็ต้องแก้ผ่านPLC ในกรณีที่เกิดการค้างของคำสั่ง หรือการปิดตาขี้นตอนบางอย่างเพื่อให้เครื่องทำงานได้ (มีคนบอกว่าแก้ชั่วคราว ใช้ชั่วโคตร 😂)
ถามว่าทำไมทำได้ทั้ง 2 อย่าง(แบบช่างพักลักจำ)
1.ถามผู้รู้ ไม่ว่าจะเป็นช่างจากบ.แม่หรือช่างคนก่อนบ่อยๆ เวลามีปัญหา และให้วิศวกรไฟฟ้า สอนดูโปรแกรม PLC เบื้องต้นในช่วง 1 เดือนก่อนออก
2.เครื่องจักรส่วนใหญ่เป็นของเยอรมัน ที่ผลิตขายในอุตสาหกรรมนี้ ทั่วโลก มีคู่มือที่บอกรายละเอียดทุกอย่างของเครื่อง ตั้งแต่ขั้นตอนการทำงาน ชนิดอุปกรณ์ และอุปกรณ์จากซัพพลายเออร์ เจ้าอื่นที่ติดมากับเครื่อง ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ BMW ก็จะบอกว่าใช้แบตยี่ห้อไหน กี่ Ah, V, ใช้ฟิวส์ อะไรบ้าง ใช้หม้อน้ำยี่ห้อไหน อัตราการไหลเวียน เป็นยังไง ....
ที่สำคัญคือ มีรายละเอียดเกี่ยวกับอะไหล่แต่ละอย่างในส่วนประกอบเครื่อง, drawing เครื่องทั้งทางเครื่องกลและไฟฟ้า, การบำรุงรักษา
3.ภาษาอังกฤษก็สำคัญ การดูหนังผ่านUBC (thai sub) บ่อยๆ ทำให้เราเข้าใจภาษาไปด้วย โดยไม่รู้ตัว ทำให้อ่านคู่มือรู้เรื่อง
4.ผจก. โรงงานและเจ้าของบริษัท ไม่ได้มาล้วงลูกมากนัก และปล่อยให้เราทำงานเต็มที่ แม้ว่าบางครั้งต้องเลื่อนตู้ หรือรถเทรลเลอร์ ออกไป
5.เวลาเป็นเพื่อนที่ดีของการพัฒนาและเรียนรู้ ชาย 9 คน ไม่สามารถทำให้เด็กเกิดใน 1 เดือน ฉันได การเรียนรู้และพัฒนาก็ต้องอาศัยเวลาฉันนั้น
6.การเรียนในมหาลัยก็มีส่วนที่ทำให้มีการคิดแบบมีตรรกะ ความน่าจะเป็น มีการใช้หลักการทดลองทางวิทยาศาสตร์มาเกี่ยวข้อง ในการแก้ปัญหา แม้ว่าจะลองผิด มากกว่าถูก แต่อย่างน้อยเราจะไม่ลองผิดเหมือนเดิมเสมอ 😂
Note : จบ วทบ. มา
ข้อดีของการรู้ทุกอย่างคือ ทำให้ไม่ต้องพึ่งพิงคนอื่นมาก สามารถแก้ปัญหาได้รวดเร็ว ไม่กลัวที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ รู้จักการวางแผนล่วงหน้า ทำตามแผนที่วางไว้ ติดตามความคืบหน้าได้ถูกจุด
ข้อเสียคือ บางครั้งติดอีโก้ว่ากูเก่ง พอคนใหม่เข้ามาทำให้มีอคติต่อเขาว่าทำไม่ได้อย่างเรา หรือคาดหวังกับเขาในเวลาที่เร็วเกินไป มีความรู้ในมุมมองที่จำกัดเพียง 2-3 ด้าน จนทำให้เกิดความเสียหายได้ เช่นการไม่รู้จัก PM หรือการตัดวงจรเซฟตี้ออก เพื่อให้เครื่องทำงานได้ จนทำให้เกิดความเสียหายต่อเครื่อจักร และร่างกายพนักงาน หรือแม้แต่ตัวเอง และที่สำคัญคือการดัดแปลงอุปกรณ์หรือเครื่องจักรไปจากเดิม หรือไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ที่ออกแบบมาทำให้เครื่องจักร เกิดการทรุดโทรม หรือประสิทธิภาพลดลงในระยะยาว
สุดท้ายคือ เมื่อทำคนเดียวได้ อาจขาดทักษะในการทำงานเป็นทีมได้
สรุปแล้วจากพระบรมราโชวาทนี้ ทำให้..
1.การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอ อย่ากลัวมากจนวิตก
2.ถ้าเราพึ่งตนเองได้แล้วไม่ว่าเรื่องใด ก็ไม่ต้องกังวล เราสามารถเอาความรู้ที่มีไปช่วยเหลือคนอื่นได้ตามโอกาส
3.อย่าหยุดเรียนรู้ ในสิ่งที่สนใจและมีประโยชน์สำหรับเรา สิ่งที่เรียนรู้วันนี้ อีกเดือนหนึ่งองค์ความรู้นี้ อาจเปลี่ยนไป
4.ลดข้ออ้างลงมาให้เหลือน้อยๆ
5.เมื่อมีเหตุที่ดี ย่อมมีผลที่ดีและมีปริมาณตามเหตุที่ทำเสมอ (เพราะเหตุนี้มีืื สิ่งนี้จึงมี)
สุดท้าย ขอขอบคุณที่ทีวีสมัยก่อนนำ ซีรี่ส์ แม็คกายเวอร์ (McGuyver) มาให้ดู ทำให้เป็นแรงบันดาลใจสำหรับการทำงานแบบ DIY
นึกไม่ออกเลยว่าถ้าไม่เจอพระบรมราโชวาทนี้ ตอนนี้ชีวิตจะเป็นยังไง 😄😁
โฆษณา