6 ก.ย. 2020 เวลา 23:21 • ท่องเที่ยว
พระรามราชนิเวศน์ (พระราชวังบ้านปืน) เพชรบุรี
พระรามราชนิเวศน์ หรือ พระราชวังบ้านปืน ตั้งอยู่ที่เขตบ้านปืน ริมแม่น้ำเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระราชวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเสด็จประพาสจังหวัดเพชรบุรี
นายคาร์ล ดอห์ริง สถาปนิกชาวเยอรมนีเป็นผู้เขียนแบบ, ดร.ไบเยอร์ ชาวเยอรมนี เป็นนายช่างก่อสร้าง, พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ (ต่อมา คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ทรงควบคุมการก่อสร้าง, และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต (ต่อมา คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ) ทรงควบคุมด้านการไฟฟ้า
พระรามราชนิเวศน์เป็นที่ตั้งของ พระที่นั่งศรเพ็ชรปราสาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2453
ประวัติการก่อสร้าง พระรามราชนิเวศน์
ด้วยเหตุที่พระบาทสมเด็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ที่จะมีพระราชวังนอกพระนครเพื่อประทับค้างแรมได้โดยสะดวก จังหวัดเพชรบุรีที่พระองค์ทรงมีพระประสงค์จะให้เป็นพระราชวังที่ใช้ประทับยามหน้าฝน
พระองค์จึงมีพระราชโองการ ให้ซื้อที่ดินจากชาวบ้านที่เขตบ้านปืน ริมแม่น้ำเพชรบุรี โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นแม่งานควบคุมการก่อสร้าง และมีพระบัญชาให้ คาร์ล ซีกฟรีด เดอห์ริง (Karl Siegfried Dohring) ผู้เคยออกแบบ วังบางขุนพรหม วังวรดิศ และวังพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐมาแล้ว เป็นสถาปนิกออกแบบ
นายดอห์ริงได้เลือกผู้ร่วมงานทั้งสถาปนิก วิศวกร และมัณฑนากรเป็นชาวเยอรมันทั้งสิ้น เพื่อการทำงานให้มีศิลปะเป็นแบบเดียวกัน
พระที่นั่งองค์นี้จึงมีรูปแบบศิลปะตะวันตกอย่างเต็มตัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ที่ต้องการพระตำหนักแบบโมเดิร์นสไตล์ สถาปนิกจึงได้ออกแบบมาในลักษณะสถาปัตยกรรมแบบเยอรมัน โดยได้แบบแผนมาจากตำหนักในพระราชวัง ของพระเจ้าไกเซอร์ แห่งเยอรมันที่ทรงเคยประทับ
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระรามราชนิเวศน์
พระตำหนักได้ใช้ลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบบาโรค (Baroque) และแบบอาร์ต นูโว (Art Nouveau) หรือที่เยอรมันเรียกว่าจุงเกนสติล(Jugendstil)ตัวพระตำหนักจะเน้นความทันสมัยโดยจะไม่มีลายปูนปั้นวิจิตรพิศดารเหมือนอาคารในสมัยเดียวกัน
บริเวณด้านหน้าพระราชวัง มีพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุบจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเราได้มากราบไหว้ ก่อนจะเดินต่อไป
ก่อนจะเข้าไปชมตัวอาคารพระราชวัง เราเดินผ่านลานไทรย้อย ซึ่งกว้างขวาง ร่มรื่น ด้วยต้นไทรที่มีรากย้อยเป็นซุ้มโค้งสวยงาม และมีม้านั่งยาวให้ผู้คนได้พักผ่อน
แผนผังของตัวอาคารสร้างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อมสวนหย่อม มีสระน้ำพุตั้งอยู่ตรงกลาง
ปัจจุบันไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพภายในพระราชวัง ภาพที่นำมาให้ดูในบทความนี้ เป็นภาพที่พี่สุกดชัตเตอร์เก็บภาพเอาไว้เมื่อไปเยือนพระราชวังแห่วนี้ เมื่อหลายปีก่อนที่ยังอนุญาตให้ถ่ายภาพได้
สิ่งที่น่าชมของพระราชวังแห่งนี้ คือ การตกแต่งภายในแต่ละห้องให้มีรูปลักษณ์แตกต่าง กันไปทั้งสีสันและวัสดุที่ใช้ เช่น บริเวณโถงบันไดใช้โทนสีเขียว ... ภาพด้านบน คือ ห้องด้านขวาที่ติดกับโถงทางเข้าด้านหน้า หลังจากผ่านประตูทางเข้า
รูปปั้นเทพเจ้าโพซีดอน เทพอห่งท่องทะเล ตั้งอยู่ตรงด้านหน้าห้องเสวย
ห้องเสวย ... ใช้โทนสีเหลือง ตกแต่งช่องประตูด้วยเหล็กดัดแบบอาร์ต นูโว และประดับผนังด้วยแผ่นกระเบื้องเคลือบสีเหลืองสด ตัดกรอบด้วยกระเบื้องเขียวเป็นช่อง ๆ ตามแนวยืน โดยกระเบื้องประดับผนังมีลวด ลายนูนเป็นรูปสัตว์และพรรณพืชต่าง ๆ แทรกอยู่เป็นระยะ ๆ .. ชอบโคมระย้าสีน้ำเงินมากมาย
อุทยาน หรือสวนขนาดเล็กภายในพระตำหนัก ... ภาพเมื่อมองออกไป
จากห้องเสวย
ด้านในสุดเป็นโถงบันไดที่สวยงามมาก .. โถงสูงมีบันไดโค้งขึ้นสู่ชั้นสอง เป็นจุดเด่นของพระราชวังแห่งนี้ ที่มีความงดงามประทับใจจริงๆ
เสาเหล่านี้แล่นตลอดจากพื้นจดเพดานชั้นสองและประดับด้วยกระเบื้องเขียวเข้ากันกับบริเวณโดยรอบโถงบันได
เสาที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบและตกแต่งด้วยโลหะ ขัดเงาที่หัวเสาตาม ราวบันไดโค้งมีตุ๊กตากระเบื้องรูปเด็กในอิริยาบถต่าง ๆ ประดับไว้
รอบบริเวณโถงบันไดชั้นบนยังมีกรอบลูกไม้กระเบื้องเคลือบประดับตามช่องโดยรอบอีกด้วย
ภาพบริเวณโถงบันได ณ ชั้นสองของพระตำหนัก
พระตำหนักหลังนี้จะเน้นในเรื่องของความสูงของหน้าต่าง ความสูงของเพดานซึ่งกว้างเป็นพิเศษ ทำให้พระตำหนักดูใหญ่โต โอ่อ่า สง่างาม และตระการตา
ด้านขวาของชั้นที่สอง เป็นห้องบรรทมของพระราชินี ซึ่งไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพ ... แต่มองเห็นอุทยาน ซึ่งมีน่ำพุตั้งอยู่ตรงกลางสวน
ด้านซ้ายเป็นห้องทรวพระอักษร
ห้องพระบรรทมใช้โทนสีทอง โดยตกแต่งเสาในห้องด้วยแผ่นโลหะสีทองขัดเงาดุนลาย หัวเสาเป็นภาพเขียนแจกันดอกไม้หลากสี บนพื้นครึ่งวงกลมสีทอง ดูสง่างามและมลังเมลือง (ไมีอนุญาตให้ถ่ายภาพ ... ภาพด้านบน คือ โถงทางเดินเข้าสู่ห้องบรรทม)
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังแห่งนี้ต่อจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2469 และโปรดฯให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงดำเนินการ หล่อรูปปั้นพระนารายณ์ทรงปืนเพื่อนำมาประดิษฐานไว้ยังหน้าพระที่นั่ง (ปัจจุบันรูปปั้นนี้ย้ายมาไว้ยังหน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ)
จากนั้นจึงทรงพระราชทานนามของพระตำหนักที่ทรงใช้ประทับก่อนว่า "พระที่นั่งศรเพ็ชรปราสาท" และพระราชทานนามวังฤดูฝนนี้ว่า "พระรามราชนิเวศน์" ตามพระรูปที่ประดิษฐานอยู่ แต่คนทั่วไปจะเรียกติดปากว่าพระราชวังบ้านปืนตาม ชื่อเดิมของถิ่นที่อยู่นั่นเอง
แม้ว่าพระรามราชนิเวศน์จะสร้างเสร็จในรัชกาลที่ 6 แต่พระองค์ก็มิได้ เสด็จประพาสมายังพระราชวังนี้บ่อยนัก จะเสด็จมาประทับเพื่อทอดพระเนตรการ ซ้อมเสือป่าบ้าง แต่ก็น้อยครั้งมาก
วังนี้จึงเริ่มทรุดโทรมลงเรื่อยๆ ครั้นมาถึงรัชกาล ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงโปรดฯ ให้ปรับพระราชวัง นี้เป็นสถานศึกษาของเหล่าครูในแขนงวิชาชีพต่างๆ มาจนกระทั่งวิชาชีพเหล่านี้ แข็งแกรงขึ้นจนย้ายออกไปตั้งอยู่ที่อื่นได้ วังนี้จึงถูกปล่อยให้ทรุดโทรมลงอีกครั้ง
จนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระราชวังแห่งนี้เป็นโรงเรียนวังพระรามราชนิเวศน์ โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรม โรงเรียนฝึกหัดครูผู้กำกับลูกเสือ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และโรงเรียนประถมวิสามัญหญิง จนกระทั่งโรงเรียนเหล่านี้ย้ายออกไป พระราชวังบ้านปืนจึงถูกทิ้งให้รกร้างอีก
มาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล ซึ่งเป็นช่วง ที่เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้นพอดี พระราชวังนี้จึงได้ใช้เป็นกองบัญชาการทหาร และใช้เป็นกิจการของกองทัพมาจนถึงทุกวันนี้
โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงโปรดฯ พระราชทานพระราชวังบ้านปืนนี้ให้เป็นที่ตั้งของหน่วยบัญชาการของ จังหวัดทหารบกเพชรบุรี และได้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์-ศิลปะของจังหวัดเพชรบุรีด้วย
ขอบคุณ … ข้อมูลบางส่วนจาก Wikipedia และผู้จัดการออนไลน์
*******************
เที่ยวทั่วไทย ไปกับ พี่สุ
ท่องเที่ยวทั่วโลก กับพี่สุ
ซีรีย์เที่ยวเจาะลึก ประเทศนอร์เวย์
Iceland ดินแดนแห่งน้ำแข็งและเปลวไฟ
Lifestyle & อาหารการกิน แบบพี่สุ
สถานีความสุข by Supawan
โฆษณา