8 ก.ย. 2020 เวลา 07:14 • ไลฟ์สไตล์
แต่ก่อนพยายามเก็บเงินแทบได้ แต่หมดไม่มีเหลือเพราะเรื่องจำเป็น เพราะคนที่บ้านตลอด สุดท้ายไอ้พวกสลากออมสินต้องถอนก่อนแล้วโดนหักดอก ฝากประจำก็ล่ม ถ้าลงกองทุนตามกระแสก็กลัวดอย
บางทีก็ผิดที่เราแหละ ที่ยังไม่พร้อม ..เลยศึกษาเพิ่มจนได้เงินก้อนสมใจ แล้วเขียนบทความมาแชร์ให้ทุกคนได้อ่านค่ะ
1.ไม่จดบันทึกรายรับรายจ่าย
การไม่จดบันทึกรายรับรายจ่าย ผลของมันคือ อาจใช้เพลินจนไม่เหลือเก็บ ไม่รู้ว่าเงินหายไปกับเรื่องอะไร ไม่รู้ว่าจะลดค่าใช้จ่ายส่วนไหนได้บ้าง วางแผนการเงินไม่ชัดเจน ทำให้เป้าหมายเราไม่ชัดเจนไปด้วย เพราะไม่เห็นภาพของค่าใช้จ่ายและความสามารถในการหาเงินนั่นเอง
.
2.ไม่มีวินัย
การมีวินัยและทำเป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้ชินเป็นนิสัย การไม่มีวินัยทำให้เราใช้เงินตามใจชอบ ไม่มีขอบเขต หากคุณตั้งใจออมเงินเดือนละ 3,000 บาท หรือคิดจะ DCA ในกองทุน ก็ต้องทำสม่ำเสมอ เพื่อการวางแผนในอนาคตได้อย่างชัดเจน อีกทั้งการ DCA เป็นประจำยังเป็นการลดความเสี่ยงแบบหนึ่งด้วย ไม่ต้องคิดถึงเรื่องตกรถ หรือติดดอยใดๆ ทั้งสิ้น ตราบใดที่หุ้นนั้นยังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
.
3.เรื่องเงินเรื่องเล็ก เดี๋ยวหาใหม่
มั่นใจว่ายังไงเงินก็เข้ามาอีกอยู่แล้ว ถ้ามีเงินแล้วไม่ใช่จะเก็บไว้ทำไม ทำให้ไม่คิดมากเรื่องการใช้จ่าย หมดไปกับสิ่งของฟุ่มเฟือย ใช้เงินไม่ยั้งมือ ผลคือทำให้ไม่คิดจะออมเงิน ไม่คิดถึงอนาคต วันหนึ่งอาจมีเหตุที่ทำให้ขาดรายได้ เหมือนวิกฤตโควิด-19 ที่เป็นบทเรียนแก่ใครหลายๆ คนก็ได้
.
4.ไม่มีเงินฉุกเฉิน
มีคำกล่าวไว้ว่า “เงินที่ใช้ในการลงทุนควรเป็นเงินเย็น” นั้นหมายความว่าเมื่อไหร่ที่เกิดวิกฤตทางการเงินแล้วไม่มีเงินสำรอง คุณก็ต้องถอนเงินลงทุนนั้นมาใช้จ่าย ทำให้เสียเปอร์เซ็นต์ ขาดทุน หรือเสียโอกาสในการทำกำไรต่อ ยิ่งหากทรัพย์สินที่มีขาดสภาพคล่อง (ถอนยาก) เช่น ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ รถ คงอีกนานถ้ามีใครจะซื้อต่อ ถ้าเร่งขายก็ต้องกดราคาให้ถูกลง ขาดทุนซ้ำซ้อนจริงๆ
.
5.โลภ
การลงทุนที่ทำให้รวยเร็วในเวลาสั้นๆ ไม่มีอยู่จริง แถมคนที่หวังรวยเร็วติดจรวจก็เสี่ยงถูกหลอกอีกต่างหาก
ความโลภทำให้ขาดสติ ทำให้วู่วามโดยไม่คิดให้ถี่ถ้วน ลืมหาข้อมูล ลืมคิดถึงความเสี่ยงที่จะตามมา นักลงทุนที่ดีต้องคิดถึงความเสี่ยงก่อน ไม่ใช่ว่าเห็นเขาว่าดี เห็นเขามีกำไรเราถึงทำตามเขา บางทีมันยังมีปัจจัยแห่งความสำเร็จมากกว่านั้น
.
6.ไม่มีความรู้เรื่องที่กำลังจะลงทุน
ถ้าคุณคิดว่า ไม่รู้ ไม่เป็นไร เดี๋ยวซื้อตามคนที่รวยๆ เขาทำกัน ไม่ใช่ความคิดที่ฉลาด คุณอาจตกเป็นเหยื่อแห่ตามฝูงชน ไม่ก็อารมณ์ของคุณเอง ที่สำคัญสุดคือ คนเรารับความเสี่ยงได้ต่างกัน ก่อนอื่นให้เริ่มศึกษาทำความเข้าใจก่อน เพื่อวางแผนการลงทุน จัดสรรเงินลงทุนให้เหมาะสมตามความเสี่ยงที่คุณรับได้ โดยสามารถทำแบบประเมินความเสี่ยงได้ที่นี่
จำให้ขึ้นใจว่าผลตอบแทนมาก ความเสี่ยงก็ยิ่งมาก หากแก้ทางความเสี่ยงไม่ได้เลี่ยงไปดีซะกว่า
อย่าคิดว่าเราขี้แพ้หรือไม่แน่จริง เพราะการคิดอย่างรอบคอบว่ายังไม่ใช่เวลาที่ควรลงทุนนั้น ก็คือการลงทุนแบบหนึ่งเหมือนกัน อย่างน้อยเงินก็คงอยู่เท่าเดิม แต่ถ้าเราลงทุนแบบไร้สติ เราอาจติดลบจนสูญเงินทั้งก้อน
โฆษณา