11 ก.ย. 2020 เวลา 11:42 • สุขภาพ
สรุป นักบอลไทยลีก ที่ติดเชื้อ
เป็นนักบอลทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
1
เป็นชาวอูเบกิซถาน
เดินทางจาก อูเบ --> ไทย วันที่ 11 สค.
ตรวจที่อูเบกิซถาน negative
ตรวจเชื้อครั้งแรกในไทย วันที่ 11ผล negative
เข้า ASQ ครบ 14 วัน ตรวจเชิ้อ negative หมดทุกครั้ง
กักตัวครบ ก็ไปฝึกที่บุรีรัมย์ (ไม่แน่ใจว่าไปรถ หรือไปเครื่องบิน)
สามารถซ้อมได้ปกติ วันไม่มีไข้ ไม่มีอาการป่วย
วันที่ 30 สค. ลงแข่งนัดอุ่นเครื่องได้ตามปกติ (กับทีมราชบุรี)
และเนื่องจากสมาคมฟุตบอลไทย บอกให้ตรวจเชื่อซ้ำ ตาม MOU ก็ตรวจวันที่ 8 กย.
(แต่อันนี้ไม่ทราบกฏของสมาคมฟุตบอลไทยเหมือนกัน ว่าตรวจกรณีไหน อย่างไรบ้าง)
ผลออกวันที่ 10 กย. "Positive"
นักฟุตบอลคนอื่นๆในทีมที่ตรวจด้วยกัน ผล Negative หมด
เมื่อวานนักบอลคนนี้เดินทางด้วยเครื่องบินแอร์เอเชีย flight FD3521 แต่เจ้าตัวและทุกคนบนเครื่องบินใส่หน้ากากตลอด
เนื่องจากเป็นต่างชาติเข้ามา
ก็จะคล้ายกรณีสาวไทย ที่ตรวจเจอตอนจะออกนอกประเทศ คือ มาเถียงกันว่า เป็นการติดเชื้อในประเทศ หรือเป็นซากเชื้อ
ซึ่งอจ. ยง ได้ให้ความเห็นว่า อจ.คาดว่า น่าจะเป็นเคสที่ติดมาจากต้นทางคืออุซเบกิซถาน แต่เป็นกลุ่มที่ระยะฟักตัวช้า ก็เลยเพิ่งเจอ
ซึ่งตอนนี้หลายประเทศ ก็ขยายระยะเวลากักตัวเป็น 28 วันก็มี เพราะเหตุผลระยะฟักตัวช้าเนี่ยแหละ
ทันทีที่มีข่าวนี้ เพื่อนก็โทรมาถามเรื่อง sec0nd wave รึยัง
เลยจะเสริมประเดินการจะเกิด second wave เป็นคนละเริ่องกับการมีผู้ติดเชื้อในประเทศ
(ซึ่งจริงๆก็ไม่รู้ว่าคราวนี้จะติดในประเทศ หรือติดมาจากนู่นแล้วฟักตัวนาน หรือ ซาก)
แต่การจะเกิด second wave นั่น คือ การทีผู้ติดเชื้อ ที่ไปอยู้ในสังคม ซึ่งสังคมนั้นแออัด ชากหารป้องกัน เกิดการกระจายเชิ้อหลายคน
แต่ถ้าผู้ติดเชื้อนั้น ไม่ไปที่ชุมชน สถานที่ปิด ผับ บาร์ ปาร์ตี้ หรือ คนในสถานที่นั้นๆ ป้องกันตัวเองได้ดีๆ ใส่หน้ากาก ล้างมือ ไม่จับหน้า
การกระจายของโรคก็จะไม่มาก เราก็จะไม่เจอถึง second Wave
โดยสรุป
1. ตรวจไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศ ไม่ได้แปลว่าไม่มีผู้ติดชื้อในประเทศ
2. ตรวจพบผู้ติดเชื้อในประเทศ ไม่ได้แปลว่ามี second wave
ตอนนี้ที่ห่วงสุด คือฝั่งพม่า ที่ลักลอบเข้ามา ที่สุดแล้ว เพราะเค้าจะมาพร้อมความไม่ป้องกัน ความอยู่อาศัยที่แออัด ส่งผลให้เกิดการกระจายเชื้อสงกว้างได้ (หรือที่เรียกว่า super spreader)
โฆษณา