11 ก.ย. 2020 เวลา 12:01 • ข่าว
รายละเอียดข้อมูลล่าสุดครบถ้วน จากการแถลงข่าวกรณีนักฟุตบอลติดเชื้อโควิด-19
1)การแข่งขันฟุตบอลไทยลีกจะเริ่มนัดแรก 12 กันยายน 2563
2)จึงเริ่มทำการตรวจเชื้อ 28 ทีม ทั้งลีกหนึ่งและสองจำนวนผู้เกี่ยวข้องทั้งสิ้น 1115 คน ครอบคลุมทั้งนักฟุตบอล ผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่
3)ตั้งใจจะตรวจผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดก่อนเปิดแข่งและหลังปิดฤดูกาล นอกจากนั้นระหว่างทาง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะเข้าตรวจตามความจำเป็น
4)การตรวจนั้นเป็นมาตรฐานสากล ใช้น้ำยาสองชนิดสองแลป ของ rtPCR
5)จากจำนวนทั้งสิ้น 1115 คน ผลเป็นลบ 1114 คนและตรวจเป็นบวก 1 คน
6)กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แจ้งกรมควบคุมโรค ตามพรบ.โรคติดต่อ
7)ทีมสอบสวนของกรมควบคุมโรคได้ร่วมมือกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อที่จะสอบสวน
8)จากการสอบสวนนักฟุตบอลที่ตรวจพบเชื้อไวรัสเป็น นักฟุตบอลชายอายุ29 ปี จาก
อุซเบกิสถาน โดยตรวจเชื้อก่อนเดินทางเป็นลบและไม่มีอาการ เมื่อ 11 สิงหาคม 2563
9)เดินทางถึงประเทศไทยเช้าตรู่ 13 สิงหาคม 2563 ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ตรวจคัดกรองผลเป็นลบ
10)เข้าอยู่ใน ASQ 14 วัน ช่วง 13-27 สิงหาคม ปกติดี แล้วจึงมีรถบัสจากสโมสรบุรีรัมย์ยูไนเต็ดรับตัวไปที่บุรีรัมย์ ระหว่างทางใส่หน้ากากตลอด และไม่ได้แวะระหว่างทาง
11) ที่สโมสรบุรีรัมย์ฯ ในช่วง 28 สค-9กย. ช่วงเช้าตื่นสายไม่ได้ทานอาหารเช้า กลางวันทานอาหารกับเพื่อนนักฟุตบอลต่างชาติสามคน ตอนบ่ายอยู่ในห้องฝึกซ้อม 30 นาทีไม่ได้ใส่หน้ากาก แล้วทำการฝึกซ้อม 1 ชั่วโมง
12)ผู้ที่เกี่ยวข้อง
วันที่ 30 สค. มีการฝึกซ้อมกับสโมสรราชบุรี
วันที่ 5 กย.มีการฝึกซ้อมกับสโมสรขอนแก่น ที่สนามช้างอารีน่า
วันที่ 10 กย. เดินทางโดยสายการบินแอร์เอเชีย FD 3521 ลงที่สนามบินดอนเมือง
13)การตรวจวันที่ 8 กันยายน ผลเป็นลบจะรายงานทันที ส่วนผลบวกจะต้องรอยืนยัน จึงทราบผลเมื่อวานนี้
14) จำนวนคนที่ถูกกักของสโมสรบุรีรัมย์ยูไนเต็ดมีทั้งสิ้น 43 คน เป็นนักฟุตบอล 22 คน สตาฟ 16 คนและอื่นๆห้าคน ส่วนผู้ที่ติดเชื้อนั้นแยกไปรับการกักตัวดูแลในโรงพยาบาลแล้ว
15) ตกลงนักฟุตบอลรายนี้ติดเชื้อมาจาก
อุซเบกิสถานหรือมาติดเชื้อในประเทศไทย ต้องไปดูจากข้อมูลทางวิชาการดังนี้
ระยะฟักตัวโดยทั่วไปหลังจากรับเชื้อแล้วประมาณ 2-7 วัน และไม่เกิน 14 วันเป็นร้อยละ 95 ส่วนที่เกิน 14 วันนั้นมีน้อยกว่าร้อยละ 5 และถ้าเกิน 21 วันจะมีไม่ถึงร้อยละ 1
16)นักฟุตบอลรายนี้มีโอกาสเป็นไปได้ที่จะติดจากต้นทาง อย่างไรก็ตามคนที่ไม่มีอาการจำนวนไวรัสจะน้อยและเผยแพร่เชื้อได้น้อย รายนี้เป็นการตรวจเชิงรุก ไม่มีอาการ โอกาสแพร่เชื้อก็จะต่ำ
17) ส่วนคำถามที่ว่าควรจะขยายระยะเวลากักตัวให้มากกว่า 14 วันหรือไม่ ในเบื้องต้นคิดว่า 14 วันป้องกันได้ 95% แต่ถ้ามีความจำเป็นก็อาจจะเพิ่มเป็น 21 วัน แต่ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มมากขึ้น จึงอาจจะใช้หลักกักตัว 14 วันแล้วให้ไปกักที่บ้านอีก 14 วัน
18)การตรวจหาพันธุกรรมไวรัสจะมีความไวสูง
ในกรณีของนักฟุตบอลรายนี้ ตรวจพบเชื้อเป็นบวกไม่สามารถบอกว่าไวรัสนั้นมีชีวิตที่จะติดต่อได้หรือตายไปแล้ว
19) วิธีพิสูจน์คือต้องเอาไปเพาะเชื้อ ถ้าสามารถมีเชื้อเติบโตขึ้นมาก็เรียกว่ามีชีวิต หรือถ้าไปตรวจพบคนที่ใกล้ชิดมีติดเชื้อขึ้นมาเป็นสายพันธุ์เดียวกันก็แปลว่าเชื้อเริ่มต้นนั้นมีชีวิต
20)คำตอบสุดท้ายตรงนี้คือ การที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะถอดรหัสพันธุกรรมให้ครบถ้วนสำหรับไวรัสในนักฟุตบอลรายนี้ แล้วนำไปเปรียบเทียบกับรหัสพันธุกรรมไวรัสทั่วโลก ที่ถอนรหัสไปแล้วกว่า 100,000 ตัวอย่าง โดยเฉพาะเทียบกับของอุซเบกิสถาน ถ้าตรงกันก็แปลว่าติดเชื้อมาจาก
อุซเบกิสถาน ถ้าไม่ตรงกันและรหัสพันธุกรรมไวรัสตัวนี้ตรงกับตัวอย่างสารพันธุกรรมในประเทศไทย ก็แปลว่าติดเชื้อไวรัสในประเทศไทยครับ
โฆษณา