ความหมายของผ้าซิ่น
ผ้าซิ่น คือ ผ้าที่เย็บเป็นถุงสำหรับผู้หญิงความหมายของผ้าซิ่นล้านนา
นุ่ง โดยจะมีขนาดสั้นยาว และกว้างแคบต่างๆกันไปขึ้นอยู่กับรูปร่างของผู้นุ่งและวิธีการนุ่ง นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับโอกาส เวลาและสถานที่ ตลอดจนอาจจะเปลี่ยน
แปลงตามความนิยมในแต่ละยุคสมัย ผ้าซิ่นมีความสำคัญเพราะเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงสถานภาพและแหล่งกำเนิดของกลุ่มชน ซึ่งดูได้จากโครงสร้าง ลวดลายที่ปรากฏบนผืนผ้า ซึ่งแตกต่างจากผ้าประเภทอื่นๆที่มักจะไม่มีลักษณะบ่งชี้ที่มีรายละเอียดเท่าผ้าซิ่น
โครงสร้างของซิ่นล้านนาหรือไทยวน โดยทั่วไปประกอบด้วย ๓ ส่วน คือ ส่วนหัวซิ่น ส่วนตัวซิ่นและส่วนตีนซิ่น โดยส่วนหัวซิ่นนั้นโดยปกติมักเป็นแถบผ้าฝ้ายสีดำหรือสีแดง บางครั้งก็ใช้วิธีการต่อผ้าสองสี
คือ สีแดงหรือดำเข้ากับผ้าสีขาว ส่วนตัวซิ่นนิยมผ้าริ้วลายขวางลำตัวเป็นจังหวะที่สม่ำเสมอหรือที่เรียกว่าลาย “ต๋า” นิยมสีเหลือง ชมพู เขียว เป็นต้น ตีนซิ่นหากเป็นซิ่นที่ใช้ในชีวิตประจำวัน นิยมต่อตีนด้วยผ้าสีดำหรือสีแดง แต่หากเป็นใช้ในโอกาสพิเศษหรือของเจ้านาย จะใช้ผ้าที่ทอเป็นลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวล้านนา
เรียกว่า “ตีนจก” โดยอาจใช้เส้นไหมทอสอดแทรกด้วยเส้นไหมเงินไหมคำก็ได้ ในกรณีที่เป็นเจ้านายชั้นสูงหรือผู้มีฐานะดี เรียกซิ่นที่ต่อเชิงแบบพิเศษนี้ว่า “ซิ่นตีนจก”
ซิ่นตีนจกของชาวล้านนาในแต่ละพื้นที่นั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามรสนิยมของกลุ่มคนในแหล่งนั้นๆ อย่างไรก็ตามเข้าใจว่าซิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยวนนี้ คงมีแหล่งต้นกำเนิดร่วมกันมาจากชาวไทยวนดั้งเดิม ซึ่งมีแหล่งกำเนิดและแหล่งอาศัยขนาดใหญ่อยู่บริเวณเมืองเชียงแสนในปัจจุบัน
ซิ่นน้ำถ้วม(น้ำท่วม) เป็นชื่อเรียกผ้าถุงของชาวไทยวนแถบตอนใต้เมืองเชียงใหม่กลุ่มหนึ่งบริเวณอำเภอฮอด และอำเภอดอยเต่า เหตุที่เรียกว่าซิ่นน้ำถ้วมก็เนื่องมาจากราวพ.ศ.๒๕00 ได้มีโครงการก่อสร้างเขื่อนภูมิพลขวางกั้นแม่น้ำปิงในเขตจังหวัดตาก และเมื่อสร้างเขื่อนเสร็จเรียบร้อยจะมีการกักเก็บน้ำไว้ ซึ่งจะทำให้พื้นที่สองฝากฝั่งแม่น้ำปิงตั้งอำเภอบ้านนา จังหวัดตากเป็นต้นมาจนกระทั่งถึงเขตอำเภอฮอดน้ำท่วมทั้งหมด ทางการจึงสั่งอพยพผู้คนแถบนั้นออกไปอยู่ที่อื่น ดังนั้นผ้าซิ่นของชาวฮอดและดอยเต่าจึงอพยพออกไปจากพื้นที่ดั้งเดิมของตนด้วย เป็นเหตุให้ซิ่นน้ำถ้วมนั้นเป็นของเก่าแก่ที่หายากมาก เพราะนอกจากจะไม่มีการผลิตขึ้นมาใหม่ เช่น ซิ่นเมืองลองและแม่แจ่มแล้ว ยังไม่สามารถระบุแหล่งพื้นที่อยู่ใหม่ที่ชาวฮอดได้อย่างชัดเจนอีกด้วย เท่าที่ทราบขณะนี้พบว่ามีชาวน้ำถ้วมบางส่วนอาศัยอยู่ในเขตอำเภอจอมทอง สันป่าตอง และไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
ลักษณะของซิ่นน้ำถ้วมนั้น มีลักษณะโครงสร้างเช่นเดียวกับซิ่นแบบมาตรฐานของเชียงใหม่ แต่สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะนั้น น่าจะได้แก่ลวดลายตีนจกซึ่งนักภูษิตาภรณ์พิลาสหลายท่านสรุปว่า ลวดลายใกล้เคียงกับซิ่นตีนจกในราชสำนักเมืองเชียงใหม่มาก คือ ลายจกค่อนห่างทิ้งให้เห็นพื้นที่ท้องจกสีดำมาก มีหางสะเปาเป็นสีดำล้วนและขนาดไม่ยาวมาก อย่างไรก็ตามลวดลายของซิ่นน้ำถ้วม ค่อนข้างมีความหลากหลายและบางครั้งก็มิได้ดำเนินไปตามแบบอย่างมาตรฐานเช่น จกเป็นลายโคมขนาดใหญ่ไม่ปรากฏห้องนกขนาบที่ด้านบนและด้านล่าง เรียกว่า “ลายโคมหลวง” หรือทำเป็นลายรูปนกขนาดเล็กเรียงกันเป็นแถวรอบๆโคม ซึ่งถือว่าเป็นลูกเล่นของช่างทอที่ค้นคิดประดิษฐ์เองตามความพอใจ
โฆษณา