14 ก.ย. 2020 เวลา 13:27 • ประวัติศาสตร์
🍄สุดสัปดาห์พาเที่ยวไทย🍄 ตอนที่ 4
“พระอาทิตย์อัสดง ที่วัดพระยาแมน อยุธยา”
ท้องฟ้ายามเย็น สะท้อนแสงสุดท้ายลงบนคูน้ำ
เดินในที่โล่งๆ กว้างขวางมีเมฆเทาอมชมพูเป็นฉากหลัง มีวิหารกับเจดีย์เป็นฉากหน้าบรรยากาศแบบนี้ หาไม่ได้ง่ายๆนะคะ 😀
แสงสุดท้ายสะท้อนน้ำในคู
ลงจากตุ๊กตุ๊กที่พาเราทัวร์ มาจอดหน้า กำแพงอิฐยาวกั้นเป็นแนวบริเวณวัดที่มีคูน้ำใหญ่ล้อมรอบ
“ค่อยๆเดินเข้าไปทางประตูด้านข้างนะคะ “ พี่อ้อยบอก
“ทำไมล่ะคะ?”
กำแพงเตี้ยๆรอบอาณาเขต วัดพระยาแมน ภาพจาก http://lumplee.go.th/public/travel/data/detail/travel_id/2/menu/203
“วัดนี้เป็นวัดที่พระเพทราชาทรงโปรดเกล้าให้บูรณะขึ้นมา เพราะพระองค์เคยบวชเรียนอยู่ที่วัดนี้ เป็นวัดหลวง ประตูกลางก็เป็นทางเสด็จ”
แอบถามว่า เคยมีคนเดินขึ้นประตูกลางแล้วเป็นอย่างไรหรือคะ...พี่อ้อยยิ้มๆแล้วตอบทำนองว่า..ก็มีคนตามไปถึงโรงแรม...บรื๊ววว์..ไม่กล้าถามต่อเลยค่ะ ...เดินอย่างสงบเสงี่ยม..ระมัดระวัง (กลัวล้ม😀😀😀)
“🌺วัดพระยาแมน”🌺 ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองอยุธยา ทางทิศเหนือ บริเวณทุ่งขวัญ
กวาดสายตาไปโดยรอบ บริเวณข้างๆวัด กว้างใหญ่ขนาดตั้งโกเล่นฟุตบอลได้เลยค่ะ ...และเราก็ได้เห็นเด็กวัยรุ่น มาเตะฟุตบอลกันจริงๆ
และยังมีผู้ใหญ่จูงเด็กเล็กๆมาเดินเล่น นั่งเล่นรับลมด้วยค่ะ เรียกว่า เป็นที่สาธารณะที่ชุมชนรอบๆวัดได้มาใช้ร่วมกัน ...วัดดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาทันทีเลยค่ะ😊...ถึงแม้จะเป็นวัดร้าง!
ด้านหน้าพระอุโบสถ หันไปทางทิศตะวันออก
พระอุโบสถใหญ่ มีรูปซุ้มประตูปราสาท เป็น
กรอบประตูทางเข้า 3 ประตู ดูโอ่อ่า โดดเด่นมาก มโนนึกภาพวัดนี้ในสมัยอยุธยา คงจะอลังการงานสร้างทีเดียวเชียว😀
เราเดินขึ้นไปทางประตูข้างขวาค่ะ 😀เข้าไปภายในพระอุโบสถ เป็นอาคารขนาดใหญ่มากโดยไม่มีเสากลางอาคารเพื่อรับน้ำหนัก
ลักษณะการก่อสร้างแบบนี้ ไม่ใช่แบบอยุธยายุคต้น หรือยุคกลาง แต่ได้รับอิทธิพลจากฝรั่งหรือเปอร์เซีย ในยุคอยุธยาตอนปลาย คือ สมัยพระนารายณ์ต่อกับสมัยพระเพทราชา
ฐานชุกชี แท่นกลางอุโบสถ เพื่อวางพระพุทธรูป
พระอุโบสถ กว้างใหญ่
มองออกไปทางช่องประตู
ที่กำแพงเจาะเป็นช่องเล็กๆ ไว้จุดประทีปตอนกลางคืน
ช่องประตูด้านหลังพระอุโบสถ มองเห็นเจดีย์คู่
ด้านหลังพระอุโบสถ มีช่องประตู 2 ช่อง
เจดีย์คู่ที่ตั้งอยู่ชิดกันมาก
พระอาทิตย์อัสดง
หอระฆัง อยู่บนพื้นที่กว้างจนตั้งสนามฟุตบอลได้
มองเข้าไปจากด้านหลังพระอุโบสถ คูน้ำใหญ่ล้อมรอบ
หลังจากวัดพระยาแมน เราก็แวะที่วัดส้ม ก่อนจะกลับไปรับประทานอาหารเย็นที่โรงแรม
วัดนี้อยู่กลางเมืองอยุธยาเลยก็ว่าได้ เพราะอยู่ด้านหลังโรงพยาบาลอยุธยา ไม่ไกลจากโรงแรม i u Dia ที่เราจะไปพักค่ะ
ปรางค์ประธานของวัดส้ม ถือว่าเป็นปรางค์ยุคแรกๆของอยุธยา ที่นำแบบอย่างมาจากขอม โดยยังไม่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง
มองแว่บแรกนึกถึงว่าคล้ายกับปรางค์แถบโคราช หรือบุรีรัมย์ ต่างกันที่วัสดุที่ใช้ ทางขอมใช้หิน แต่ทางอยุธยาใช้อิฐ
พระปรางค์วัดส้ม อยุธยา
ลายสลักปูนปั้นของเก่า ปรางค์วัดส้ม by เขียนตามใจ
ทับหลังปรางค์ประธานวัดส้ม
เหลืออยู่เพียงทางทิศเหนือ ประดับอยู่ส่วนบนของซุ้ม
ด้านบนสุด ประดับลายดอกและใบผักบุ้ง
ส่วนกลางของทับหลัง คล้ายศิลปะบายนของเขมร ใบไม้ม้วน 4 วง ตรงกลางเป็นคนฟ้อนรำ
ล่างสุดเป็นลายกรวยเชิง
ของจริงเหลือแต่ลายใบไม้ขดตรงกลางของทับหลังเท่านั้นค่ะ
ทับหลัง ที่ซุ้มทิศเหนือ ปรางค์วัดส้ม อยุธยา by เขียนตามใจ
ลายปูนปั้นที่ยังสมบูรณ์ สวยงาม by เขียนตามใจ
ปรางค์ประธาน วัดส้ม by เขียนตามใจ
🚗ตุ๊กตุ๊กทัวร์ เที่ยวคลองสระบัว ก็ได้พา ชมวัดทั้งหมด 4 แห่งไปแล้วนะคะ คือ วัดหน้าพระเมรุ วัดเชิงท่า วัดพระยาแมน และวัดส้ม🚗
ใครที่ยังจำได้จะบอกว่า ไหนบอกว่าจะไปวัด 5 แห่ง ใช่ค่ะ ยังเหลืออีกวัดหนึ่ง ซึ่งที่จริงเราแวะไปก่อนไปวัดพระยาแมน คือ วัดตะไกร ค่ะ
ซึ่งเป็น”วัดที่ปลงศพนางวันทอง ในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน “ จากประโยคนี้ประโยคเดียวทำให้ต้องกลับไปอ่าน ว่า นางวันทองคือใคร? ทำไมจึงถูกประหารชีวิต ? นางวันทองสองใจจริงหรือ?
จะต้องไปรื้อวรรณคดีมาอ่านใหม่เลย ค่ะ เพราะห่างหายมานานมาก เดี๋ยวอ่านจบ จะมาสรุปให้ฟัง พร้อมรูปวัดตะไกรค่ะ🥰
🌸ถ้าใครยัง”อิน” กับยุคอยุธยา พรุ่งนี้จะลงตอนต่อบุพเพสันนิวาส (ภาคพิเศษ ) ตอนที่ 4 ติดตามแม่การะเกด ตอนท้อง และเตรียมคลอดกันค่ะ อ่านย้อนตอนที่ 3 ที่ลิ้งค์นี้ค่ะ🌸
อ้างอิง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา