14 ก.ย. 2020 เวลา 11:00 • ปรัชญา
วันหนึ่ง ผมเคยนั่งกินโรตี ร้านดังอยู่แถวเพชรบุรี ซอย 7 ใกล้ๆ กับ BTS ราชเทวี
ระหว่างที่ผมกำลังนั่งกินอยู่ มีคุณลุงคนหนึ่งอายุราวๆ 60 ท่าทางเหมือนกำลังหาที่นั่ง แต่หาไม่ได้ เพราะที่นั่งทุกโต๊ะเต็มหมด
ผมจึงเรียกคุณลุงแล้วบอกว่า “คุณลุงครับ มานั่งกับผมตรงนี้ก็ได้ ผมมากินคนเดียว”
คุณลุงกล่าว "ขอบคุณ" แล้วก็เข้ามานั่งร่วมโต๊ะกับผม
ระหว่างกินโรตี ผมก็ถามคุณลุงว่าคุณลุงอยู่แถวนี้หรอครับ ?
คุณลุงตอบว่า ไม่ได้อยู่แถวนี้หรอก ผมมาหาเพื่อน
หลังจากที่คุยไปคุยมา ก็เริ่มพูดถึงเรื่อง ปรัชญา ธุรกิจ การตลาด การเมือง เศรษฐกิจ ไปจนถึงเรื่องเทคโนโลยี Data และ AI
ระหว่างที่คุยนั้นผมสังเกตได้ว่า คุณลุงใช้คำศัพท์ที่ทันสมัยมาก มีคำภาษาอังกฤษ และ คำใหม่ๆ ที่ใช้เรียกในสมัยใหม่ทั้งหมด
ผมเลยถามคุณลุงว่า ทำไมคุณลุงถึงดูเป็นคนทันสมัยจัง วิธีคิดของลุงมันเหมือนความคิดของคนรุ่นใหม่เลยนะ เพราะส่วนใหญ่คนอายุประมาณนี้จะไม่รู้เรื่องพวกนี้เลย
คุณลุงตอบมาว่า “ผมเป็นคนชอบเรียนรู้ตลอดเวลา โดยเฉพาะจากการอ่านหนังสือ หนังสือนี่แหละที่ทำให้ผมทันโลก”
จริงๆ แล้ว ความ “แก่” มันไม่ได้วัดกันที่ “อายุ” หรอกนะ แต่วัดกันที่การ “เรียนรู้” ต่างหาก
คนที่หยุดเรียนรู้ ต่อให้ยังอายุ 20 ก็ไม่ต่างอะไรจากคนแก่ที่อายุ 80 เพราะเป็นคนล้าหลัง
แต่คนที่เรียนรู้ตลอดเวลา ต่อให้อายุจะ 80 แล้ว แต่ก็ยังดูเหมือนคนอายุ 20
อย่างคำกล่าวของเฮนรี ฟอร์ต ที่ว่า “ใครก็ตามที่ยังคงเรียนรู้ทุกอย่างอยู่ตลอด คนๆ นั้นจะไม่มีวันแก่”
ดังนั้น ถ้าวันนี้คุณยังเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา คุณจะสามารถพูดออกมาได้อย่างเต็มปาก ว่าตอนนี้ “ผมยังหนุ่มครับ/ฉันยังสาวค่ะ”
“เปลี่ยนตัวเองเป็นคนที่ดีขึ้น
ด้วยการอ่านหนังสือดีๆ สักเล่ม”
แต่ถ้าไม่รู้ว่าตัวเองควรอ่านเล่มไหน
ทักมาปรึกษาสมองไหลได้เลย
สั่งซื้อหนังสือออนไลน์ง่ายๆ ส่งตรงถึงหน้าบ้านคุณ
ได้ที่ Inbox เพจ #สมองไหล
โฆษณา