16 ก.ย. 2020 เวลา 05:28 • สุขภาพ
เรื่องเล่าเม้าท์ไปเรื่อย..... ตอน วัคซีนโควิด-19 ไปถึงไหนแล้ว ภาค 2
2
เรามาติดตามความคืบหน้าของการผลิตวัคซีนกันต่อครับ ว่าไปถึงตรงไหนแล้ว อย่างไรบ้าง หากท่านใดยังไม่เคยติดตามข้อมูลมาก่อน สามารถกลับไปอ่านข้อมูล วัคซีนโควิด-19 ไปถึงไหนแล้ว ภาค 1 ได้ที่ https://www.blockdit.com/articles/5f474bbf5232680bbb7ee740
1
6. มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และ บริษัทยา AstraZeneca ได้รับการยอมรับว่าน่าจะประสบความสำเร็จที่สุดตัวหนึ่งในบรรดาวัคซีนหลายสิบตัวที่กำลังถูกคิดค้นทดลองอยู่ทั่วโลก และประสบความสำเร็จในการทดลองในขั้นที่ 1 และ 2 ซึ่งเคยเล่าไปแล้วใน วัคซีนโควิด-19 ไปถึงไหนแล้ว ภาค 1 แต่ที่ต้องมาอัพเดทข้อมูลเพิ่มเติม เนื่องจากช่วงต้นเดือนกันยายน เกิดปัญหาขึ้นระหว่างการทดลองเนื่องจากพบผู้ได้รับวัคซีนรายหนึ่งเกิดป่วยแบบไม่ทราบสาเหตุ
ผู้ป่วยรายนั้นป่วยเป็นโรคหายากที่มีชื่อว่า Transverse myelitis โรคนี้ทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อประสาทของไขสันหลัง ทำให้การส่งทอดกระแสประสาทผิดปกติ อาจส่งผลให้ขาทั้งสองข้าง หรือทั้งแขนและขาทั้งสองข้างเป็นอัมพาตอย่างฉับพลัน
1
นั่นทำให้บริษัท Astrazeneca ต้องมาประกาศระงับการทดลองวัคซีนไว้ก่อนและทบทวนความปลอดภัยของวัคซีนอีกครั้ง
อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 12 ก.ย. คณะกรรมการกำกับดูแลอังกฤษได้ให้ไฟเขียวทดลองต่อได้ เช่นเดียวกับที่บราซิล ที่จะดำเนินการต่อในวันที่ 14 ก.ย.นี้
7. วัคซีน Sputnik V ของสถาบัน Gamaleya ของรัสเซีย วัคซีนนี้ได้รับการจดสิทธิบัตรและได้ใช้ฉีดกับประชาชนชาวรัสเซียเรียบร้อย
ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ The Lancet เมื่อต้นเดือนกันยายน ระบุว่า ผลการทดสอบขั้นต้นกับมนุษย์ 2 ครั้ง ในระยะ 42 วัน เมื่อช่วงเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมที่ผ่านมา และมีผู้เข้าร่วมทดสอบวัคซีนในโครงการ “Sputnik V” ของรัสเซีย 76 คน พบว่า 100% ของผู้ทดสอบวัคซีน มีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อโควิด-19 ทั้ง Neutralizing antibody และ T cell รวมถึงมีผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยมากจากการใช้วัคซีนชนิดนี้
วัคซีนโควิดชนิดนี้ พัฒนาโดยสถาบันกามาเลยา (Gamaleya Institute) ที่กรุงมอสโก เป็นรูปแบบการฉีดวัคซีน 2 ขนานในการต้านโควิด-19 ได้แก่ ไวรัสอาดิโน Ad5 รวมกับไวรัสอาดิโนอีกตัว Ad26 ซึ่งทางสถาบันกามาเลยา คาดว่า การใช้วัคซีนที่มีไวรัสอาดิโนทั้ง 2 ชนิด จะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในมนุษย์ขึ้นมาได้
รัสเซียเพิ่งเริ่มต้นการทดสอบกับประชากร 40,000 คนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คาดว่าจะมีผลการทดสอบออกมาในเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายนนี้ และตั้งเป้าผลิตวัคซีนโควิดให้ได้ราว 1.5-2 ล้านโดสต่อเดือนภายในสิ้นปีนี้ และจะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 6 ล้านโดสต่อเดือนได้
8. บริษัท Johnson & Johnson (J&J)'s Janssen Pharmaceutical กำลังเตรียมเข้าทดสอบในระยะที่ 3 เช่นกัน
บริษัทได้ผลิตวัคซีนชื่อ Ad26.COV2-S ผลการทดลองในเฟส 1 พบว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพดีและสามารกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ยาวนาน ซึ่งพบผลข้างเคียงในระบบทางเดินหายใจเพียงเล็กน้อย
หลังจากนี้จะเริ่มทำการศึกษาในเฟส 3 ในประเทศสหรัฐอเมริกาและเบลเยียม ในอาสาสมัครกว่า 11,045 คน
บริษัทวางแผนที่จะเริ่มดำเนินการผลิตวัคซีนต้นปี 2021 ตั้งเป้าผลิตไว้ 600 - 900 ล้านโดส
9. Murdoch Children’s Research Institute สถาบันเด็ก สัญชาติออสเตรเลีย ได้ทำการศึกษาวัคซีน BCG มาใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่
วัคซีน BCG เดิมเป็นที่รู้จักกันในการฉีดเพื่อป้องกันโรควัณโรค ได้ถูกพูดถึงในประเทศออสเตรเลีย เมื่อพบว่าผู้ที่เคยมีประวัติการฉีดวัคซีน BCG ติดเชื้อโควิดน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน BCG
แม้ว่าช่วงเดือนเมษายน WHO จะเคยออกมาเตือนว่าวัคซีนไม่ได้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด-19ก็ตาม แต่สถาบันเด็ก Murdoch ยังคงเดินทางทำการศึกษาในเฟส 3 ต่อไป ตั้งเป้าว่าจะศึกษาในอาสาสมัครกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ในออสเตรเลียให้ได้อย่างน้อย 10,000 คน
1
อย่างไรก็ตามผลการทดลองเป็นที่สงสัยพอสมควร คงต้องรอดูผลต่อไป
เรื่องเล่าเม้าท์ไปเรื่อย.....
หากต้องการให้กำลังใจ กรุณาช่วยกดไลค์ กดแชร์ กระทู้ต่อไปนี้หน่อยนะครับ
ขอบคุณครับ
โฆษณา