17 ก.ย. 2020 เวลา 11:31 • การศึกษา
จงระวัง !! ข้อมูลหลอกลวงชวนเชื่อตามสื่อโซเชียล
ทุกวันนี้ด้วยนวัตกรรมความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีทำให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสามารถทำได้แทบจะทุกที่ในทั่วทุกมุมโลก ซึ่งประโยชน์ของมันช่วยสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับสังคมในปัจจุบันและเป็นพื้นฐานใช้อ้างอิงในการตัดสินใจ
แต่ทั้งนี้ข้อมูลที่ถูกตีแผ่ในสื่อโซเชียลรูปแบบต่าง ๆ ก็มีไม่น้อยที่เป็นข้อมูลลวงทำให้เกิดความไขว้เขวกระตุ้นการรับรู้ให้เข้าใจแบบผิด ๆ
โดยแบ่งประเภทได้ดังต่อไปนี้
1.ข้อความลวง เป็นข้อมูลลวงหลอกที่มักใช้การเขียนเชิงวิชาการเพื่อทำให้ดูน่าเชื่อถือแต่ความจริงนั้นไม่มีหลักฐานใดสามารถนำมาพิสูจน์ได้ว่าเป็นเรื่องจริง ยกตัวอย่างเรื่องโรคระบาดต่าง ๆ ที่สาธยายวิธีป้องกันแบบแปลก ๆ ซึ่งรับประกันว่าเห็นผลจริง กันได้ 100 %
2.ภาพลวง ภาพที่เกิดจากการตัดต่อที่ถ้าไม่ใช้ผู้เชี่ยวชาญคร่ำหวอดในวงการตัดแต่งรูปก็ยากมากที่จะจำแนกว่าภาพที่เห็นคือของจริงหรือของปลอม โดยสมัยนี้ยิ่งมีโปรแกรมแบบใหม่ที่ช่วยให้การตัดต่อทำได้ง่ายขึ้นและเนียนยิ่งขึ้น
3.เสียงลวง ข้อมูลที่ทำได้ยากแต่เมื่อทำได้ก็ชวนเชื่อไปแล้ว 90 % แม้การตัดต่อจะทำไม่ยากแต่สิ่งที่ยากคือการรอจังหวะเหมาะสมในการอัดเสียงเพื่อนำมาใช้ดัดแปลงให้คนเข้าใจผิดต่างหาก
ไม่ว่าจะยุคสมัยใดข้อมูลถือเป็นทรัพยากรอันมีค่าที่ทุกคนต่างกระหายใคร่ครอง ทว่าการที่ข้อมูลมีค่ามันจึงมีการปะปนเพื่อทำให้ความจริงผิดเพี้ยนไป การที่คนบางกลุ่มลุ่มหลงความเชื่อที่มีข้อมูลผิด ๆ เราไม่สามารถชี้แนะได้ว่านั้นไม่ใช่ความจริง เพราะความจริงที่คนเราต่างเชื่อมีข้อมูลการรับรู้ที่ต่างกัน
โฆษณา