17 ก.ย. 2020 เวลา 13:39 • ธุรกิจ
อัพเดท “การบินไทย”
หลังศาลไฟเขียวแผนฟื้นฟู มาเฝ้าดูว่าจะอยู่หรือไป ?
หลังจากเมื่อ 17 สิงหาคม 63 ที่ทางศาลล้มละลายกลางได้เริ่มไต่สวนและพิจารณาคำร้องขอฟื้นฟูจาก “การบินไทย” ไปในครั้งนั้น หากนับมาจนถึงตอนนี้ก็เป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนเต็มๆได้แล้ว
ในช่วงที่ผ่านมาหากใครเฝ้าติดตามสถานะการณ์ของสายการบินไทยหรือ THAI อยู่ก็คงจะเห็นว่ามีเรื่องราวต่างๆเกิดขึ้นมามากมาย
แต่เมื่อวันที่ 14 กันยายน 63 ศาลล้มละลายกลาง ก็ได้ “มีคำสั่ง” ให้ การบินไทย เข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการไปเรียบร้อย ถือเป็นการรอคอยที่นานอยู่เหมือนกันครับเพราะทางการบินไทยได้ยื่นคำร้องไปตั้งแต่ 26 พฤษภาคม 63 แล้วนั่นเอง
เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นมากมาย เพราะหลังจากวันที่ 17 สิงหาคม ทางศาลก็ได้ทำการนัดไปไต่สวนเพิ่มกันอีกถึงสองรอบในวันที่ 21 และ 25 สิงหาคม 63 เนื่องจากว่ามี “เจ้าหนี้” บางส่วนของสายการบินไทยขอคัดค้านแผนฟื้นฟูนี้
1
โดยประเด็นที่ทาง ศาลล้มละลายกลาง ได้วินิจฉัยก่อนอนุมัติให้ สายการบินไทย เข้าสู่แผนฟื้นฟูก็จะมีอยู่ทั้งหมด 4 ข้อด้วยกันคือ
ศาลฯพิจารณาแล้วว่า สายการบินไทย มีหนี้สินล้นพ้นตัว
จากข้อมูลทางการเงินเมื่อสิ้นเดือนมีนาคมและเดือนมิถุนายน 63 แสดงให้เห็นว่า สายการบินไทย มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน, ส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ รวมถึงการไม่สามารถจ่ายหนี้สินตามกำหนดชำระได้
ศาลฯพิจารณาแล้วว่า สายการบินไทย ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 และมีความสมควรที่จะเข้าฟื้นฟูกิจการ
ศาลล้มละลายกลางได้เล็งเห็นว่า สายการบินไทย มีโครงสร้างธุรกิจที่น่าจะสามารถกลับมาสร้างรายได้และกำไรได้ในอนาคต เนื่องจากว่า สายการบินไทย มีทั้งประสบการณ์, บุคลากร และชื่อเสียงในการเป็นสายการบินระดับชาติ แต่ปัญหาในครั้งนี้เกิดจากการแข่งขันในอุตสาหกรรม, การชะลอตัวของเศรษฐกิจ และแน่นอนว่าการแพร่ระบาดของCovid-19
ศาลฯพิจารณาแล้วว่า สายการบินไทย ยื่นคำรองโดยสุจริต
ซึ่งศาลก็พบว่า สายการบินไทย มีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่สามารถชำระหนี้ได้จริง ดังนั้นทางบริษัทก็จะถือว่ามีสิทธิยื่นคำร้องได้ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย
ศาลฯพิจารณาแล้วว่าบุคคลที่ สายการบินไทย เสนอมีคุณสมบัติในการเป็นผู้ทำแผนฟื้นฟู
เนื่องจากว่าก่อนหน้านี้มีเจ้าหนี้รายย่อยจำนวน 15 รายหรือคิดเป็นเพียง 1 - 2% ของมูลหนี้ เข้าคัดค้านว่าบจ. อีวายคอร์ปอเรท แอดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส(EY) ไม่มีความน่าเชื่อถือในการเข้าร่วมแผนฟื้นฟู แต่ทางการบินไทยก็ยืนยันว่าEY เป็น 1 ใน 4 ผู้ให้บริการด้านการตรวจสอบบัญชีและการเงินรายใหญ่ระดับโลก และศาลฯก็เห็นว่า EY ไม่ได้ผิดคุณสมบัติอะไร
ทีนี้เมื่อศาลฯรับคำร้องฟื้นฟูกิจการไปแล้ว การบินไทยจะได้รับการคุ้มครองเรื่องหนี้สินเช่น ไม่ต้องชำระหนี้ เจ้าหนี้ไม่สามารถยึดทรัพย์สินไปขายเป็นเงินได้ ไปอีกสักระยะ
และสำหรับรายชื่อของผู้จัดทำแผนฟื้นฟูทั้งหมด 6 ท่านในรอบนี้ก็คือพล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน นายจักรกฤศฏิ์พาราพันธกุล นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค นายบุญทักษ์ หวังเจริญ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ และนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร
โดยหลังจากนี้ราวๆ 1 เดือน สายการบินไทย ก็จะเปิดให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้และก็จะสามารถรู้ได้ว่าเจ้าหนี้คือใครบ้าง จากนั้นก็จะต้องไปเจรจากับเจ้าหนี้และยื่นรายละเอียดการดำเนินการให้กับศาลฯ อีกครั้งนึง
ซึ่งขั้นตอนสุดท้าย สายการบินไทย ก็คาดว่าจะสามารถเจรจาและรวบรวมรายละเอียดการดำเนินการเพื่อยื่นให้กับศาลฯได้ภายในไตรมาส 4 ปีพ.ศ. 2563 หรือปลายปีนี้
ระยะเวลาทั้งหมดรวม 7 ปี (เริ่มต้น 5 ปีขยายได้อีก 2 ครั้ง ครั้งไม่เกิน 1 ปี) จะทำให้ “สายการบินไทย” รักษาบาดแผลและปรับโครงสร้างเพื่อ “ขึ้นบิน” อย่างสวยงามบนน่านฟ้าได้อีกครั้งหรือไม่ ??
เรื่องนี้ก็คงจะเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่ต้องมาเอาใจช่วยและติดตามกันต่อไปอย่างใกล้ชิด
สวัสดีครับ...
ติดตามบทความดีๆของพวกเราได้ทาง WEBSITE
หรือ BLOCKDIT
และช่องทางใหม่ YouTube ‼️
- - - -
ผู้สนับสนุน
สนใจเปิดพอร์ท หุ้น TFEX SBL BLOCKTRADE กับโบรคเกอร์ KTBST
ค่าธรรมเนียมเรทพิเศษ
พร้อมรับสิทธิพิเศษมากมาย
- ทีมงานมืออาชีพคอยให้บริการ
- โปรแกรม EFIN//ASPEN
- โปรแกรม SUPPORT อื่นๆเช่น MT4//MODEL TRADE//KTBST SMART และอื่นอีกมากมาย
กรอกรายละเอียดได้เลย 👇
โฆษณา