18 ก.ย. 2020 เวลา 10:00 • อาหาร
กว่าจะเป็นเบียร์
1
สวัสดีครับเพื่อนๆ นี่ก็คงถือว่าเป็นบทความแรกของคอเบียร์ใน Blockdit ซึ่งเป็น application ที่ส่วนตัวได้ติดตามมาสักพักหนึ่ง ซึ่งมีความน่าสนใจอย่างมากเหมาะกับการแชร์เรื่องราว ความรู้เชิงลึก ผ่านบทความ
กว่าจะเป็นเบียร์
korbeer (คอเบียร์ ) เป็นบล็อกสำหรับผู้คนที่ชอบเรื่องราวinside การ Craft และ lifestyle ที่เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่หลายๆคนมักจะมองเป็นผู้ร้าย แต่หากมองและพิจารณาให้ดีแล้วการดื่มแบบมีอารยธรรมและเพื่อสุนทรียภาพเป็นเสน่ห์ที่น่าค้นหาและหลงไหล โดยมุมมองเหล่านั้นจะถูกร้อยเรียงและเล่ากล่าวผ่านคอเบียร์
วันนี้ก็ขอเริ่มบทความเปิดหัวเรื่องที่ว่าด้วยความเป็นมาของเบียร์ในแบบฉบับ Homebrew มีกระบวนการทำอย่างไร อุปกรณ์ เราเองผู้เป็นคนธรรมดาสามารถทำได้หรือไม่
ก่อนอื่นต้องเริ่มจากคำว่า Homebrew (โฮมบรูว) เป็นคำที่หมายถึงการทำเบียร์หรือเครื่องดื่มเองภายในบ้าน ใช้อุปกรณ์บ้านๆภายในครัว วัตถุดิบและกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน
การทำ,หมัก หรือต้มเบียร์ในบ้าน (Homebrew) เป็นกิจวัตรของนักดื่มที่ถูกทำอย่างแพร่หลายมากในซีกโลกตะวันตก เมื่อมีงานสำคัญๆประจำปี ผู้คนมักจะทำเบียร์ของตนเองและมาสังสรรค์กันในงานตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบัน กรรมวิธี,วัตถุดิบ,อุปกรณ์และชนิดของเบียร์ถูกพัฒนามาอย่างก้าวกระโดด
แต่เป็นที่น่าเสียดายหากเพื่อนๆจะดื่มทำเองที่บ้าน(ในไทย) เพื่อนก็จะถูกดำเนินคดีข้อหา
1.มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ไม่มีสแตมป์เสียภาษีอากรหรือสรรพสามิตไว้ในครอบครอง
2.ไม่มีใบอนุญาตในการผลิตเบียร์หรือเพื่อนๆต้องมีขั้นต่ำ 10 ล้านบาทเป็นทุนจดทะเบียน
3.มีอุปกรณ์ผลิตไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
และอื่นๆอีกมากมายหากมีไว้เพื่อจำหน่าย
เบียร์ถูกแบ่งประเภทออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ
1.Ale Beer
2. Lager Beer
โดย Ale Beer เป็นเบียร์ที่ถูกหมักในอุณหภูมิประมาณ 16-24 องศาเซียลเซสในขณะที่ Lager Beer จะถูกหมักในอุณหภูมิที่ 7-13 องศาเซียลเซส
1
Style Beer หรือชนิดของเบียร์ถูกแยกย่อยออกมาเป็นหลายร้อยสไตล์จาก Ale หรือ Lager มีความหลากหลายมาก ซึ่งเพื่อนๆบางคนอาจจะเคยลิ้มลอง
เช่น Pilsner, Kölsch, Pale Ale, Bock, Porter, Stout, Wit, Wheat, Saison, IPA, ฯลฯ
การทำเบียร์ (Homebrew) ตามแบบชาวตะวันตกนั้นมีเพียง 4 อย่างที่ต้องเข้าใจคือ
1. วัตถุดิบ (Ingredients)
2. อุปกรณ์ (Equipments)
3. การหมัก (Fermentation)
4. การบรรจุ (Bottling/keg)
วัตถุดิบ (Ingredients)
ในโลกของเบียร์วัตถุดิบต่างๆถูกหยิบยกมาใช้มากมายหลายตัวจนพัฒนามาเป็น 4 อย่างที่ให้ความเป็นเบียร์ที่ชัดเจน (4 Element) ประกอบไปด้วย
1. Barley (Malted Grain)
2. Hops
3. Yeast
4. Water
Malted Grain (Barley,Wheat,Rye,Corn,Oat,)
เป็นเมล็ดข้าวพิเศษ (ชนิดใดก็ได้แต่ก็ไม่ใช่ทุกชนิดที่เหมาะกับการทำเบียร์) ที่ผ่านกรรมวิธี Malt เพื่อเพิ่มความเหมาะกับการทำเบียร์มากขึ้น ข้าวมีสารตั้งต้นคือแป้ง เมื่อทำการ Mashing (เปลื่ยนแป้งเป็นน้ำตาล) แป้งในข้าวจะถูกเปลื่ยนเป็นน้ำตาลซึ่งจะเหมาะแก่การหมักกับยีสต์
1
Hops (ฮอพส์)
เป็นพืชที่ให้ความขม (Bitterness) เพื่อปรับบาลานซ์กับความหวานที่ได้จาก Malt เพื่อความลงตัวและนุ่มนวล และยังมีรสชาติและกลิ่น (Flavor&Aroma) ที่จะแตกต่างตามแต่ละสายพันธุ์ แถมฮอพส์ยังมีคุณสมบัติพิเศษคือ Antibacterial หรือสารกันบูดธรรมชาติช่วยให้เบียร์เก็บได้นานขึ้นนั้นเอง
Water (น้ำ)
น้ำเป็นองค์ประกอบ 90% ของเบียร์มีความสำคัญที่จะมองข้ามไปไม่ได้ แร่ธาตุ สารเคมีในแหล่งน้ำเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อรสชาติของเบียร์ หากเพื่อนๆเคยได้ยินข่าวที่คนไทยเถียงกันว่าเบียร์จากโรงงานบุญรอดที่ผลิตในจังหวัดปทุมธานีกับขอนแก่นมีรสชาติต่างกัน โรงไหนอร่อยกว่า เหตุผลหลักๆคือแหล่งน้ำต่างกัน แร่ธาตุต่างกันนั้นเอง
Yeast (ยีสต์)
ยีสต์เป็นส่วนประกอบสำคัญเป็นสิ่งมีชีวิตที่จะผลิตแอลกอฮอล์ รสชาติและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระหว่างการหมัก โดยกินน้ำตาลที่เราสกัดจาก Malt หากเราเตรียมบ้านให้ยีสต์ดียีสต์ก็จะมีสุขภาพดีตามไปด้วย ทำให้เบียร์มีรสชาติดีขึ้น
Fermentation (การหมัก)
การหมักเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพราะหากเราทำการหมักโดยไม่ระมัดระวัง จะมีเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเจริญเติบโตแซงเจ้ายีสต์หรือพูดง่ายๆก็คือเบียร์เสียหรือบูดนั้นเอง และอุณหภูมิก็เป็นปัจจัยที่มีผลต่อยีสต์เช่นกัน หากต่ำเกินไปยีสต์จะไม่สามารถทำงานได้หากสูงเกินไปยีสต์จะตาย โดยช่วงของอุณหภูมิก็จะอยู่ตามแต่ละชนิดของยีสต์ Ale หรือ Lager
Bottling (กระบรรจุ)
คือการนำเบียร์ที่หมักได้ที่มาลงบรรจุภัณฑ์เช่น ขวด,กระป๋องหรือถัง Keg กระบวนการบรรจุหากทำด้วยความไม่ระมัดระวังอาจทำให้เบียร์เสียรสชาติได้เช่นกัน
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของกว่าจะเป็นเบียร์แต่ก็พอจะมองภาพรวมๆออก โดยบทความหน้าของ Korbeer จะเจาะลึกลงเรื่อยๆและเกร็ดสาระต่างๆ Contents ที่น่าสนใจยิ่งขึ้น
เพื่อนสามารถติดตามอีกช่องทางของเราได้ที่ www.korbeer.com หรือ Facebook Fanpage : KORBEERTHAILAND หากเพื่อนๆสนใจหรืออยากรู้เรื่องใดสามารถเข้ามาพูดคุยกันแลกเปลื่ยนประสบการณ์กันได้
1
คอเบียร์มิได้มีเจตนาเพื่อให้นำความรู้ใช้ในทางที่ผิดกฎหมายแต่เป็นเพียงการเสนอแง่มุม เรื่องราวและความมหัศจรรย์ของเครื่องดื่มเพียงเท่านั้น
โฆษณา