18 ก.ย. 2020 เวลา 10:48 • ธุรกิจ
มาดูรูปแบบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจใน 4+1 รูปแบบกัน
from https://www.visualcapitalist.com/
การฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจเค้าจะมีแบบแผน หรือ pattern อยู่เหมือนกันนะ
โดยการฟื้นตัวตรงนี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่เกิดวิกฤติ เช่นล่าสุดก็คือ โควิด และดูเหมือนว่า จะมีระลอก 2 ตามมาอีกเช่นกัน
ที่ชื่อของหัวข้อของเราใช้รูปแบบ 4 + 1 ก็คือ จริงๆแล้ว รูปแบบหลักๆที่สามารถคาดการณ์ก็จะมี L,U,W,V shape เนอะ
แต่ว่าหลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจโควิดขึ้นเนี่ย ก็ได้มีการคาดการณ์การฟื้นตัวในรูปแบบใหม่นั้นคือ K-Shape นั้นเอง
ก่อนอื่น การฟื้นตัวทางระบบเศรษฐกิจ (Economic Recovery) คืออะไรเอ่ย ?
- เพื่อนๆคงจะได้ยินบ่อยๆเกี่ยวกับคำว่า "rebounds" หรือการหมุนสะท้อนกลับขึ้นมาเนอะ และสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีสภาวะ "recession" หรือ ภาวะถดถอยนั้นเอง เลยไม่แปลกที่เพื่อนๆน่าจะเห็นคำศัพท์ 2 คำนี้มักะมาคู่กันบ่อยๆ
- การฟื้นตัวทางระบบเศรษฐกิจ อธิบายแบบง่ายๆเลยก็คือ
>> ผู้คนที่ตกงาน ก็จะกลับมามีงานทำ
>> เพื่อนๆมีกำลังทรัพย์ที่อยากจะช้อปปิ้งมากขึ้น (แบบไม่ใช่แนวถังแตก)
>> บริษัทต่างๆเริ่มกลับมาขยายธุรกิจได้อีกครั้ง หรืออย่างน้อยที่สุดกลับมาดำเนินการได้สมบูรณ์อีกครั้ง
>> อาจจะทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ไปเลย ตามความคิดของเราคือ การที่อุตสาหกรรมธุรกิจใหม่ๆมีโอกาสมีความโด่งดังมากขึ้น (ตัวอย่างเช่น ธุรกิจการให้บริการทำความสะอาดผ่านแอพมีความโด่งดังขึ้นมาก หรือ ธุรกิจที่ให้บริการในรูปแบบเฉพาะกับผู้ป่วย Covid หรือพวก State quarantine กลายเป็นที่ต้องการอย่างมากแทน)
>> บริษัทนายทุนต่างๆกล้ากลับมาลงทุนกันมากขึ้น
มันก็เหมือนกับว่าเราหกล้มแล้วเป็นแผลน่ะเพื่อนๆ ร่างกายของเราก็จะมีการรักษาเยียวยาของมันเองเนอะ
เศรษฐกิจ และความอยู่รอดของคนเราก็ไม่ต่างกัน แต่จะเร็วจะช้า หรือกลับไปแย่อีก ก็คงคล้ายๆกับว่า ถ้าเราหกล้มเป็นแผลที่เข่า แล้วไม่กินยา หรือยังคงกลับไปวิ่งในรูปแบบเดิม เราก็อาจจะหกล้มใหม่อีก แผลที่เป็นอยู่ก็กลับเปิดขึ้นมาอีก
งั้นมาเริ่มดูกันเลยดีกว่า
เราขอแปะรูป info-graphic จากเว็ป visualcapitalist ซึ่งทำสรุปออกมาได้ดีมากเลย
https://www.visualcapitalist.com/shapes-of-recovery-when-will-the-global-economy-bounce-back/
- ซึ่งจากรูปนี้ เค้าได้มีการอธิบายถึงรูปแบบของการฟื้นตัวในแต่ละประเทศใหญ่ๆด้วยนะ
1. การฟื้นตัวแบบ L Shape หรือการฟื้นตัวที่ขยับได้ช้ามากที่สุด
forbes.com
- อาจเรียกได้ว่า การฟื้นตัวในรูปแบบนี้คือการฟื้นตัวแบบแย่ที่สุดเลยละ
- นั้นอาจเป็นเพราะว่ามีการควบคุมในวิกฤตินั้นๆไม่ได้นั้นเอง
- เพื่อนๆจะเห็นจากรูปแบบของกราฟได้ว่า มันดูถดถอยลงไป (จากที่มันเคยขึ้นอยู่ในร่องรอย)
- การถดถอยของกราฟ และลักษณะของการฟื้นฟูที่มีความเร็วต่ำมากๆ
- มีความเป็นไปได้ของการฟื้นตัวในระยะเวลามากว่า 2 ปี หรืออาจถึง 5 ปีเลยละ
- นั้นหมายความว่าประเทศที่มีการฟื้นตัวแบบนี้ เราจะเห็นผู้คนที่ตกงานมากขึ้น หรือ อาจจะไม่มีงานทำขั้นต่ำเนี่ย 1 ปีเลยละ
- ในกรณีแบบนี้ อาจจะลากยาวไปได้ถึงระบบและสภาพคล่องทางการเงินของรัฐบาลในประเทศนั้นได้เลยละ
อันนี้ลองเปรียบเทียบกับรูปแบบอื่นๆ forbes.com
การฟื้นตัวในรูปแบบของ L-Shape พบได้จากวิกฤติไหนบ้าง ?
- The Great Depression ในปี 1932 ของทางฝั่งสหรัฐอเมริกา
- วิกฤติเศรษฐกิจที่หายไปในญี่ปุ่นหรือ The Lost Decade ในปี 1989
- หรือการฟื้นตัวจากวิกฤติโควิดในตอนนี้ของประเทศญี่ปุ่น
เพื่อนๆจะเห็นเลยว่าตั้งแต่ปี 1989 กราฟก็ล่วงลงมา แล้วค่อยๆพัฒนาขึ้นอย่างช้าๆ
2. การฟื้นตัวแบบ U Shape การฟื้นตัวแบบอาศัยเทรนด์ของความมั่นคงและความเชื่อใจ
ถึงแม้จะขยับช้าก็จริง แต่มีโอกาสที่จะพัฒนาขึ้นมาได้เร็วกว่า "L Shape"
- ก็คือเจ้า U Shape เนี่ย มีลักษณะโดยเริ่มต้นเหมือน L Shape ตรงที่ มีอัตราการถดถอยที่ดิ่งลงมาพอๆกัน เพียงแต่ความเสียหายตรงนี้อาจฟื้นกลับมาอยู่ที่จุดเริ่มต้น และตั้งตัวได้เร็วกว่า มีระยะเวลาที่แน่นอน
- ให้เห็นภาพง่ายๆก็คือ ยกตัวอย่างในเรื่องของการท่องเที่ยว
เช่นต้องใช้ระยะเวลากว่า 6 เดือน ถึงจะกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศไทยได้
หรือ อาจะต้องใช้เวลา มากกว่า 1 ปี ที่จะเริ่มกระตุ้นการเปิดการท่องเที่ยวจากต่างประเทศ
- ทั้งนี้ ถ้าการฟื้นตัวที่อาจะเห็นผลในเชิงบวกที่เริ่มชัดเจน ก็จะทำให้เกิดความมั่นคงมั่นใจ และทำให้ผู้ประกอบการเองเริ่มกล้าลงทุนมากขึ้น
การฟื้นตัวในรูปแบบของ U-Shape พบได้จากวิกฤติไหนบ้าง ?
- การระบาดของเงินเฟ้อในสหรัฐช่วง 1973-1975
- วิกฤติการฟื้นตัวแบบไม่มีการจ้างงาน the Jobless Recovery ช่วงปี 1990
ให้เห็นภาพง่ายๆเช่น การฟื้นตัวในช่วง 4-6 เดือนแรก โดยผู้ประกอบการต้องเน้นไปที่การเพิ่มอัตราการผลิตให้เพียงพอกับแรงงาน นั้นหมายความว่า อาจไม่มีความจำเป็นในการจ้างงานเพิ่ม (ลดต้นทุน) หรือคล้ายๆกับคำที่เพื่อนๆอาจคุ้นเคยว่า "มีจำนวนคนมาากว่าจำนวนงาน"
- ถ้าเป็นวิกฤติของโควิด ตอนนี้การฟื้นฟูของยุโรปก็จะเป็นรูปตัว "U" แต่ว่า ต้องติดตามกันต่อไปว่า การระบาดระลอกที่ 2 ของฝรั่งเศสจะส่งผลกระทบทำให้เปลี่ยนเป็น "W Shape" ไหมนะ ?
อันนี้เป็นตัวอย่างหน้าตาของ "U Shape" นะเพื่อนๆ (ไม่ใช่ W นะ เพราะว่า อัตราการพุ่งขึ้นเติบโตมันไม่ได้เท่ากับหรือเกือบเท่าจุดที่เริ่มตกลงในตอนแรกเริ่ม
3. W Shape การฟื้นฟูแบบ"ท้อถอย"
- ที่ใช้คำว่า ท้อถอย ก็เพราะว่า กราฟนี้ทำให้เราเห็นว่า ทุกอย่างเหมือนจะกลับคืนสู่จุดเริ่มต้น หรือ ปกติ แต่ก็ดัน.......ร่วงหล่นกลับมาอยู่ที่เดิม
- โดยการฟื้นฟูแบบ "W shape" นี้ ต้องบอกว่า เป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ตั้งแต่ช่วงแรก เพราะ จะมีความเริมต้นในแบบของ "L" และพัฒต่อจนมาเป็น "V Shape" แต่ทันที่ ตกลงมา เราก็สามารถเห็นเทรนด์ได้แล้ว
ถ้าให้เปรีบเทียบกับเหตุการณ์ที่มุมมองของเราที่เห็นชัดมากๆ ก็คือ สถานการณ์การระบาดโควิดระลอกที่ 2
ถ้าพูดถึงประเทศญี่ปุ่น อเมริกา หรือแม้แต่ฝรั่งเศส ที่เริ่มมีการฟื้นฟูในส่วนของการท่องเที่ยว โรงแรม และ สายการบิน เพื่อซื้อความมั่นใจของผู้คนกลับมา
แต่ ณ ปัจจุบันนี้ กลับกลายเป็นว่ามีการระบาดรอบที่ 2 เกิดขึ้น จึงทำให้แนวโน้มของการฟื้นฟูเหมือนจะถดถอยลงมา ซึ่งอาจจะเข้าข่ายในกราฟของตัว W Shape
4. V Shape เส้นทางการฟื้นฟูที่มีรูปแบบที่ดีที่สุด
- ถ้าจะบอกว่าเป็นรูปแบบในฝันก็คงจะไม่เชิงเนอะ
- ส่วนตัวขอรวบ "V Shape" กับ Nike หรือ Swoosh shape หรือ กราฟที่มีลักษณะ การฟื้นฟูแบบเดียวกัน เพียงแต่ตัว Swoosh shape จะมีระยะการฟื้นฟูนานกว่านั้นเอง
ตัวอย่างของ Nike Shape หรือ Swoosh Shape
- เพื่อนๆจะเห็นได้ว่า การฟื้นตัวของ GDP และ เศรษฐกิจฟื้นขึ้นได้อย่างรวดเร็วมาก ซึ่ง
- เร็วในทีนี้ หมายความว่าใช้เวลา ไม่เกิน 1 ปี นะ
การฟื้นตัวในรูปแบบของ V-Shape พบได้จากวิกฤติไหนบ้าง ?
- The Depression หรือ วิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำในปี 1920-21 ของทางฝั่งสหรัฐ
- The Recession of 1953 หรือภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐอีกเช่นกัน
- เพื่อนๆจะเห็นได้เลยว่า ใช้เวลาเพียงแค่ 2 ไตรมาส ในการฟื้นฟูเท่านั้นเอง
- วิกฤติเศรษฐกิจที่มีการฟื้นฟูในลักษณะของ V-Shape เพื่อนๆจะสังเกตได้ง่ายๆว่า จะไม่มีคำ adjective นำหน้า เช่น "The Great", "The Biggest" หรือแม้กระทั่งชื่อเรียกเฉพาะ ตัวอย่างเช่น Hamburger หรือ Tom yum gung
5. K Shape การฟื้นฟูรูปแบบใหม่ที่เราอาจจะต้องเจอ
From thestreet.com
- ตรงนี้เราเชื่อว่า เพื่อนน่าจะคงอ่านเรื่องราวของการฟื้นตัวแบบ K Shape จากแหล่งความรู้อื่นๆมากันเยอะละเนอะ อย่างของพี่ลงทุนแมนก็สรุปไว้ได้ดีมากๆเลย
- เราขออนุญาตสรุปมาจากพี่ลงทุนแมนว่า
K Shape แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
1. กลุ่มที่ “ฟื้นตัวกลับมาได้เร็ว” ซึ่งในทีนี้อาจรวมถึงประเภทของธุรกิจใหม่ทีอาจจะมีโอกาสเติบโตเพิ่มด้วย
2. กลุ่มที่ “ยังไม่ฟื้นตัวและแย่ลงเรื่อยๆ” อาจจะไม่แปลกถ้าเราขอยกตัวอย่างของบริษัทสายการบิน หรือบริษัทจองที่พักโรงแรม
เรื่องของ K Shape เพื่อนๆสามารถตามกันไปอ่านต่อได้ที่ เพจลงทุนแมน
จบแล้วจ้าเพื่อนๆ
หวังว่าบทความการย่อยของเรานี้คงเป็นอาหารสมองต้อนรับวันหยุดของเพื่อนๆกันน้า ^^
โฆษณา