18 ก.ย. 2020 เวลา 13:30 • ข่าว
ทะเลจีนใต้ : เมื่อสามยักษ์ใหญ่ยุโรป ต่อต้านการอ้างกรรมสิทธิ์ของ "จีน"
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา อังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมนี ได้ร่วมกันส่งบันทึกไปยังยูเอ็น เพื่อปฏิเสธการอ้างกรรมสิทธิ์ของจีนในทะเลจีนใต้
ในบันทึกที่ยื่นไป ทางอังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมนี หรือที่เรียกว่ากลุ่ม E3
ได้เน้นย้ำให้จีนปฎิบัติตาม
- อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (United Nations Convention on the Law of the Sea หรือ UNCLOS) ฉบับปี 1982
- แนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (Declaration on the conduct of Parties in the South China Sea : DOC)
1
- และแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้ (Code of Conduct on South China Sea : COC) ที่กำลังหารือกันอยู่
กลุ่ม E3 ยืนยันว่า..
สมาชิกต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพในดินแดนตามที่ระบุไว้ใน UNCLOS ในบริเวณทะเลจีนใต้
1
ทั้งสามประเทศ ได้ปฏิเสธการอ้างสิทธิ์อธิปไตยที่ไม่มีเหตุผลของจีนในทะเลจีนใต้ ในบันทึกของสามประเทศในยุโรปยืนยันว่า..
จีนดึงดันที่จะขีดเส้นอ้างสิทธิ์บริเวณหมู่เกาะพาราเซล (Paracel)
แนวเส้นประ 9 เส้นที่จีนใช้อ้างกรรมสิทธิ์ ในทะเลจีนใต้📷 Forbes
และนำแนวคิด "สิทธิทางประวัติศาสตร์" เพื่อเรียกร้องสิทธิในทะเลจีนใต้โดยไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของ UNCLOS ที่จีนเป็นสมาชิกอยู่
ในบทบัญญัติของ UNCLOS ได้กำหนดวิธีการพื้นฐานไว้อย่างครบถ้วนและชัดเจน
ดังนั้นการที่จีนอ้างสิทธิ์ในหมู่เกาะพาราเซลนั้น "ไม่ได้เป็นไปตามหลักพื้นฐานทางกฎหมาย"
"แถลงการณ์เกี่ยวกับการใช้สิทธิทางประวัติศาสตร์ในทะเลจีนใต้ ของทางการจีนถือเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและบทบัญญัติของ UNCLOS"
บันทึกของกลุ่ม E3 เน้นย้ำ
1
ภาพมุมสูงของเกาะวู้ดดี้ หรือเกาะหย่งซิง เกาะใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะพาราเซล 📷 digitalglobe
ที่ผ่านมาจีนอ้างกรรมสิทธิ์พื้นที่ในทะเลจีนใต้จำนวนมาก โดยใช้ "เส้นประ 9 เส้น" ซึ่งครอบคลุมพื้นที่จากมณฑลไหหลำใต้สุดของจีนไปทางใต้และทางตะวันออกหลายร้อยกิโลเมตร
2
ทางการจีนได้อ้างกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ทะเลจีนใต้โดยอ้างประวัติศาสตร์เมื่อหลายร้อยปี สมัยที่หมู่เกาะพาราเซลและหมู่เกาะสแปรตลี เป็นส่วนหนึ่งของจีน
ในปี 1947 จีนได้จัดทำแผนที่รายละเอียดในการอ้างกรรมสิทธิ์ต่าง ๆ ในบริเวณทะเลจีนใต้ ซึ่งหมู่เกาะทั้งสองแห่งนี้ที่ว่านี้ก็ถูกรวมอยู่ในเขตแดนของจีน ซึ่งทางไต้หวันก็ได้อ้างกรรมสิทธิ์ตรงนี้เช่นกัน
แม้จะมีการคัดค้านจากนานาชาติ ปักกิ่งได้ยึดครองหมู่เกาะสแปรตลีย์ 7 แห่งของเวียดนามอย่างผิดกฎหมายเปลี่ยนให้เป็นเกาะเทียมและเสริมกำลังให้เป็นด่านหน้าทางทะเล
2
รวมถึงได้ตั้งหน่วยการปกครองระดับอำเภอขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ในการระบุว่า
"หมู่เกาะสแปรตลีย์เป็นดินแดนของจีน
นักท่องเที่ยวจีนและธงชาติจีนที่หมู่เกาะพาราเซล 📷
เมื่อไม่นานมานี้จีนได้ดำเนินกิจกรรมเชิงรุกในทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศต่างๆ กำลังให้ความสำคัญกับการจัดการกับโควิด -19
ทางปักกิ่งได้ส่งเรือสำรวจธรณีวิทยา รุกล้ำเข้าสู่เขตเศรษฐกิจจำเพาะของเวียดนาม
จากนั้นติดตามรบกวนการทำงานเรือขุดเจาะของมาเลเซีย รวมถึงเรือของจีนได้จมเรือประมงเวียดนามด้วย
ทางการจีนยังประกาศจัดตั้งหน่วยการปกครองในทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นไปเพียงฝ่ายเดียว
1
ย้อนกลับไปเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
สหรัฐฯได้ประกาศจุดยืนเกี่ยวกับปัญหาทะเลจีนใต้ โดยปฏิเสธการอ้างสิทธิ์อธิปไตยของจีนเกือบทั้งหมด
วอชิงตันกล่าวว่า..
"ปักกิ่งใช้มาตรการกลั่นแกล้งเพื่อละเมิดอำนาจอธิปไตยของรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในทะเลจีนใต้ แทนที่กฎหมายระหว่างประเทศ ตามอำเภอใจ
1
จะว่าไปแล้ว สหรัฐที่เรียกร้องให้ทุกฝ่ายทำตามกฎหมายระหว่างประเทศนั้น ในความเป็นจริงสหรัฐไม่ได้เป็นสมาชิก UNCLOS
จึงไม่สามารถกล่าวโทษสหรัฐ ในกรณีทะเลจีนใต้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ
ด้านเวียดนามซึ่งมีความขัดแย้งเรื่องการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนกับจีน ได้กล่าวว่า เวียดนามมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17
รวมถึงหลักฐานทางกฎหมายมากพอที่จะยืนยันอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะ Hoang Sa (หมู่เกาะพาราเซล )
และ Truong Sa (หมู่เกาะสแปรตลีย์)
ตามกฎหมายระหว่างประเทศและ UNCLOS
1
ส่วนฟิลิปปินส์ ถือหลักภูมิศาสตร์ที่อยู่ใกล้หมู่เกาะสแปรตลีย์ มาอ้างกรรมสิทธิ์บางส่วน
จะว่าไปแล้ว บริเวณทะเลจีนใต้ ถือเป็นจุดที่เป็นพื้นที่พิพาทมานานนับหลายร้อยปีแล้ว
มีประเทศต่างๆ อ้างกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ทะเลจีนใต้ หลายประเทศตั้งแต่จีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย บรูไน รวมถึงไต้หวันด้วย
แต่ในอดีตที่ผ่านมา ประเทศเหล่านี้ไม่มีศักยภาพมากพอที่จะไปต่อต้านจีน จนกระทั่งปัจจุบันประเทศเหล่านี้เติบโตขึ้น มีความสามารถในการปกป้องพื้นที่มากขึ้น ปัญหาเรื่องการอ้างสิทธิ์จึงมีมากขึ้น
รวมถึงการที่มีประเทศตะวันตกเข้ามาสนับสนุน การเรียกร้องของประเทศในกลุ่มอาเซี่ยน
และที่สำคัญคือ ทรัพยากรจำนวนมหาศาลในทะเลจีนใต้ อย่างน้ำมัน
สถานการณ์ในทะเลจีนใต้ เป็นหนึ่งในจุดที่มีความสุ่มเสี่ยงทางทะเลมากที่สุดจุดหนึ่งของโลก เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในแผนป้องกันประเทศของจีน
เรื่องนี้คงต้องติดตามกันต่อค่ะ
References
เรียบเรียงโดย
สาระอัปเดต
โฆษณา